เมียนมาตั้งประธานาธิบดีคนใหม่
รัฐสภาเมียนมาเลือกนายวิน มินต์ วัย 66 ปี ให้เป็นประธานาธิบดีคนใหม่เมื่อวันที่ 28 มี.ค. ทำให้ตำแหน่งนี้ยังคงเป็นของพันธมิตรที่จงรักภักดีต่อนางอองซาน ซูจี ซึ่งผู้นำตัวจริงของเมียนมาต่อไป
โดยนายวิน มินต์ลาออกจากตำแหน่งเดิมตั้งแต่วันที่ 21 มี.ค. ซึ่งเป็นวันเดียวกันกับที่อดีตประธานาธิบดีถิ่น จอ ประกาศลาออกจากตำแหน่ง ด้วยปัญหาด้านสุขภาพ
นายวิน มินต์ ซึ่งเป็นสมาชิกของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในพรรค เป็นอดีตเจ้าหน้าที่ศาลที่ชนะการเลือกตั้งในปี 2533 ซึ่งในเวลาต่อมารัฐบาลทหารที่บริหารประเทศอยู่ไม่ให้การยอมรับ
เขากลับเข้าสู่สภาอีกครั้งจากการเลือกตั้งในปี 2555 มีส่วนช่วยนำทางให้นางซูจีเข้าสู่สภา หลังจากชนะการเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี 2558 เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นโฆษกของสภาผู้แทนราษฏร
ภายใต้รัฐธรรมนูญเดียวกัน ประธานาธิบดีมีอำนาจในการบริหารประเทศ แต่นางซูจี ซึ่งถูกกีดกันไม่ให้รับตำแหน่งนี้เพราะมีสามีและลูกชาย 2 คนเป็นชาวต่างชาติ จึงต้องแก้ไขสถานการณ์ด้วยการแต่งตั้งตัวเองขึ้นเป็นที่ปรึกษาแห่งรัฐ ซึ่งจะได้รับการสนับสนุนจากทุกกระทรวง จึงทำให้บทบาทจริงของประธานาธิบดี ภายใต้การจัดการของเธอ เป็นเพียงตำแหน่งที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านพิธีการเท่านั้น ไม่มีอำนาจในการบริหารจริง
ขณะที่นักวิเคราะห์การเมืองคาดการณ์ว่า ช่วงเวลาในการเปลี่ยนผ่านตำแหน่งประธานาธิบดีของเมียนมาจะดำเนินไปอย่างราบรื่น แต่ยังคงไม่มีความแน่นอนถึงกระบวนการของสภาผู้แทนราษฎร
โดยโฆษกคนใหม่ที่มาแทนตำแหน่งเดิมของเขาในสภาผู้แทนราษฎรคือ T Khun Myat วัย 67 ปี เป็นอดีตผู้นำกองทัพในรัฐฉาน ซึ่งเป็นพันธมิตรกับกองทัพเมียนมา และเคยถูกกล่าวหาว่าเป็นพ่อค้ายาที่มีอิทธิพล เขายังเป็นประธานของสำนักอัยการ และเป็นผู้ช่วยร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เขายังเคยเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติกับพรรคสหสามัคคี (USPD) ที่มีกองทัพหนุนหลัง และมีความสนิทสนมใกล้ชิดกับนาย Shwe Mann ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำทหารที่ต่อมาถูกขับออกจากพรรค USPD เนื่องจากเป็นพันธมิตรกับนางซูจี
นักวิเคราะห์มองว่าการแต่งตั้งนาย T khun Myat เหมือนเป็นการเชื่อมโยงตอบแทนให้กับนาย Shwe Mann และตั้งคำถามถึงความถูกต้องในการตัดสินใจครั้งนี้
“ T Khun Myat มีประสบการณ์มากมายในด้านกฎหมาย และเราไม่ทราบถึงประเด็นและความท้าทายที่จะเกิดขึ้นภายใต้การนำของรัฐสภานี้” Soe Myint Aung นักวิเคราะห์การเมืองที่ศูนย์วิจัยอิสระย่างกุ้งกล่าว “ เรารู้น้อยมากเกี่ยวกับทัศนคติของกองทัพและพรรค USPD ของเขา ”
หลังชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายในปี 2558 พรรค NLD ถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงการทำตัวเป็นศูนย์กลาง แต่กลับมีการตัดสินใจที่ช้าเกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐบาล ขณะที่รัฐบาลพลเรือนไม่สามารถควบคุมกองทัพได้ นางซูจีจึงถูกประณามจากนานาชาติที่ไม่ยอมปกป้องและเป็นปากเสียงให้กับชาวมุสลิมโรฮิงญาที่ถูกกองทัพปราบปรามอย่างทารุณ จนพวกเขาต้องอพยพลี้ภัยข้ามพรมแดนไปบังคลาเทศกว่า 700,000 คนตั้งแต่ช่วงเดือนส.ค.ของปี 2560.