สิงคโปร์แต่งงานน้อยลง หย่ามากขึ้น
มีการจดทะเบียนแต่งงานกันตามกฎหมายทั้งพลเมืองและชาวมุสลิม 27,971 คู่ในปี 2559 ลดลง 1.2% จากตัวเลขการจดทะเบียนเดิม 28,322 คู่ในปี 2558 อ้างอิงจากตัวเลขล่าสุดของสำนักงานสถิติสิงคโปร์ ( Singstat )
อ้างอิงจากสถิติของ Singstat เกี่ยวกับการแต่งงานและการหย่าร่างในปี 2559 ที่มีการเปิดเผยเมื่อวันที่ 18 ก.ค.ตัวเลขโดยรวมที่ลดลงเป็นผลมาจากการแต่งงานที่ลดลงของพลเมือง ซึ่งลดลงจาก 22,544 คู่ในปี 2558 ลงมาเหลือ 22,017 คู่ในปีที่แล้ว ในขณะที่การแต่งงานของชาวมุสลิมเพิ่มขึ้นจาก 5,778 คู่เป็น 5,954 คู่เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน
ขณะเดียวกัน ที่ตรงกันข้ามคือจำนวนการหย่าร้าง 7,614 คู่ในปี 2559 คิดเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้น 1.2% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า อ้างอิงจากตัวเลขของ Singstat
โดยจำแนกเป็นการหย่าร้างของพลเมืองสิงคโปร์ที่เพิ่มขึ้นจาก 5,855 คู่ในปี 2558 เป็น 5,912 คู่ในปี 2559 ขณะที่ชาวมุสลิมก็หย่าร้างมากขึ้นเช่นกัน จากเดิม 1,667 คู่เป็น 1,702 คู่ในช่วงเวลาเดียวกัน
จากสถิติของ Singstat อัตราการหย่าร้างโดยทั่วไปในปี 2559 ไม่เปลี่ยนแปลงจากปี 2558 โดยเสริมว่า มีตัวเลขหย่าร้างของผู้ชายโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 7.1 ต่อ 1,000 คนในกลุ่มผู้ชายที่อายุมากกว่า 20 ปี ในขณะที่ตัวเลขหย่าร้างโดยเฉลี่ยของผู้หญิงอยู่ที่ 6.6 ต่อ 1,000 คน
ในรายงานยังพบการเปลี่ยนแปลงที่โดดเด่นในอายุของผู้ที่หย่าร้างในกลุ่มผู้มีอายุสูงวัยมากขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา
โดยสัดส่วนของผู้ที่หย่าร้างเมื่ออายุ 45 ปี เพิ่มขึ้นจาก 31.4% ในปี 2549 เป็น 42.3% ในปี 2559 สำหรับผู้ชาย และเพิ่มจาก 20% เป็น 28.4% สำหรับผู้หญิง อ้างอิงจากรายงานของ Singstat และเสริมว่า ตัวเลขปรับขึ้นตามกันไปทั้งประชากรสูงอายุ และการหย่าร้างที่เพิ่มขึ้นของคู่แต่งงานสูงวัย
ทั้งนี้ ทาง Singstat พบว่า ระยะเวลาโดยเฉลี่ยของการแต่งงานจนถึงการหย่าร้างอยู่ที่ 10 ปี และเสริมว่า 29.9% ของการหย่าร้างเป็นการแต่งงานที่คู่สามีภรรยาใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันประมาณ 5-9 ปี
Singstat ยังพบว่า ภรรยาเป็นฝ่ายขอหย่าถึง 62.4% จากการหย่าร้างในปีที่แล้ว โดยเหตุผลที่ใช้ในการขอหย่ามากที่สุดคือ มีพฤติกรรมที่เชื่อถือไม่ได้ถึง 53.5% และแยกกันอยู่ก่อนการหย่าร้างถึง 3 ปีหรือมากกว่านั้นถึง 42.5%
เมื่อสำรวจในกลุ่มการหย่าร้างของชาวมุสลิม ผู้ที่ยื่นขอหย่าเป็นฝ่ายภรรยาเกือบ 7 ใน 10 คนเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งเป็นสถิติเดียวกันกับในปี 2549 โดยโจทก์ที่ฟ้องขอหย่าทั้งชายและหญิงมักมีสาเหตุสำคัญในการขอหย่าคือการไม่เคร่งในศาสนา และการนอกใจ.