สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 26 ก.ค. 68

1. สรุปสถานการณ์น้ำ และปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.เชียงใหม่ (64 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.เลย (57 มม.) ภาคตะวันตก : จ.กาญจนบุรี (16 มม.) ภาคกลาง : จ.ชัยนาท (22 มม.) ภาคตะวันออก : จ.จันทบุรี (11 มม.) ภาคใต้ : จ.ชุมพร (10 มม.)
สภาพอากาศวันนี้ : มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ตาก บึงกาฬ สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร
คาดการณ์ : ช่วงวันที่ 27-30 ก.ค. 68 ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน และอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลงเป็นกำลังปานกลาง
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 60% ของความจุเก็บกัก (48,551 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 40% (24,434 ล้าน ลบ.ม.)
3. พื้นที่ประสบอุทกภัย : สถานการณ์อุทกภัย วันที่ 25 ก.ค. 68 ในพื้นที่ 6 จ. 36 อ. ได้แก่ จ.เชียงราย (อ.ป่าแดด เมืองฯ เทิง เวียงแก่น เชียงของ ขุนตาล เวียงเชียงรุ้ง เวียงชัย เวียงป่าเป้า แม่สรวย พญาเม็งราย พาน ดอยหลวง แม่จัน และแม่ลาว ลำปาง (อ.งาว และวังเหนือ) พะเยา (อ.ปง เชียงคำ จุน ดอกคำใต้ และภูซาง) น่าน (อ.เมืองฯ ภูเพียง ปัว เชียงกลาง ท่าวังผา เฉลิมพระเกียรติ เวียงสา บ่อเกลือ บ้านหลวง และแม่จริม) แพร่ (อ.เมืองฯ สอง และหนองม่วงไข่) และเลย (อ.ด่านซ้าย)
3.ข่าวประชาสัมพันธ์ : จากอิทธิพลของพายุโซนร้อนวิภา ทำให้เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ภาคเหนือ ช่วงวันที่ 22–24 กรกฎาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดสถานการณ์อุทกภัยในหลายพื้นที่ ทั้ง จ.น่าน แพร่ พะเยา เชียงรายและลำปาง
สำหรับพื้นที่ลุ่มน้ำยม มวลน้ำหลากที่ไหลลงมาจาก จ.แพร่ จะไหลไปรวมกับลำน้ำสาขาก่อนไหลลงสู่พื้นที่ จ.สุโขทัย คาดว่าปริมาณน้ำในแม่น้ำยมจะมีแนวโน้มสูงขึ้น และหากพบว่าอัตราการไหลผ่านที่สถานี Y.14B อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย มากกว่า 900 ลบ.ม./วินาที กรมชลประทานจะประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาปรับแผนการบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ทั้งนี้ กรมชลประทาน ได้มีการพร่องน้ำล่วงหน้าพร้อมทั้งติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ และเครื่องจักรกลอื่น ๆ ประจำจุดเสี่ยงเพื่อให้สามารถเข้าดำเนินการแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที
ขณะเดียวกันเกษตรกรในพื้นที่ลุ่มต่ำทุ่งบางระกำได้เริ่มทยอยเก็บเกี่ยวข้าวนาปีแล้ว ปัจจุบันเก็บเกี่ยวได้ประมาณร้อยละ 10 ของพื้นที่ และกำหนดให้เก็บเกี่ยวแล้วเสร็จภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2568 ตามแผนบางระกำโมเดล โดยในปี 2568 ได้ขยายพื้นที่โครงการจาก 265,000 ไร่ เป็น 327,000 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ จ.พิษณุโลกและสุโขทัย เพื่อเตรียมพื้นที่รองรับน้ำหลากในฤดูฝน หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วเสร็จและสามารถใช้เป็นพื้นที่หน่วงน้ำรองรับน้ำได้สูงสุด 400 ล้าน ลบ.ม. ช่วยลดผลกระทบน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้
ทั้งนี้ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้เตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการน้ำ จึงได้เตรียมตั้งศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้า (ชั่วคราว) ในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยลุ่มน้ำยม – น่าน ณ จ.สุโขทัย ในวันนี้ (26 กรกฎาคม 2568) เพื่อแก้ปัญหาสถานการณ์น้ำหลากและอุทกภัยในระดับพื้นที่ จากอิทธิพลของพายุวิภาและปริมาณฝนที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในระยะนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 25 ก.ค. 68