สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 27 ส.ค. 67
1. สรุปสภานการณ์น้ำ และปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.พะเยา (115 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.อุดรธานี (88 มม.) ภาคกลาง : จ.สุพรรณบุรี (52 มม.) ภาคตะวันออก : จ.ปราจีนบุรี (76 มม.) ภาคตะวันตก : จ.กาญจนบุรี (37 มม.) ภาคใต้ : จ.พังงา (111 มม.)
สภาพอากาศวันนี้ : ร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้นในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศลาวตอนบน ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือตอนบน และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
คาดการณ์ : วันที่ 28 ส.ค. 67 หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศลาวตอนบนเคลื่อนผ่านภาคเหนือตอนบนและประเทศเมียนมา ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคกลางด้านตะวันตก ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 60% ของความจุเก็บกัก (48,504 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 42% (24,337 ล้าน ลบ.ม.)
3. ประกาศที่เกี่ยวข้อง
3. 1. สทนช.ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 11/2567 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 24 – 30 ส.ค. 67 พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวัง ดังนี้
1. พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่มและบริเวณชุมชนเมืองที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำบริเวณ.จ.เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย หนองบัวลำภู บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์นครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด ระนอง พังงา ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง และสตูล
2. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่า 80%
3. เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของ ลำน้ำงาว แม่น้ำสาย แม่น้ำอิง แม่น้ำน่าน แม่น้ำยม แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำป่าสัก ลำน้ำก่ำ และแม่น้ำตราด
3.2. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เฝ้าระวังผลกระทบจากระดับน้ำแม่น้ำโขงเพิ่มขึ้น ช่วงวันที่ 25-31 ส.ค. 67 ขอให้เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นและเตรียมรับมือจากสถานการณ์น้ำล้นตลิ่งและท่วมขังบริเวณริมแม่น้ำโขง บริเวณ จ.เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี
3. 3. สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ แจ้งเตือนเฝ้าระวัง!!! น้ำทะเลหนุนสูงช่วงวันที่ 30 ส.ค. – 5 ก.ย. 67 เนื่องจากอิทธิพลของน้ำทะเลหนุนสูง และคาดว่าจะมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มสูงขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำบางปะกง เสี่ยงน้ำท่วมบริเวณชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำและแนวเขื่อนชั่วคราวบริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ) ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ
3.4. กรมชลประทานแจ้งปรับเพิ่มการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ จึงขอแจ้งปรับเพิ่มปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ในอัตราระหว่าง 900 – 1,400 ลบ.ม./วิ ซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันอีกประมาณ 0.50 – 1.50 ม.
4. การบริหารจัดการน้ำ : วานนี้ (26 ส.ค. 67) นายจักรพงษ์ แสงมณี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมประเมินติดตามสถานการณ์น้ำเร่งด่วน เพื่อติดตามสถานการณ์อุทกภัยในขณะนี้และการให้ความช่วยเหลือ โดยปริมาณฝนจะลดลงในช่วงวันที่ 29–31 ส.ค. 67 สทนช. ได้บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งพร่องน้ำจากแหล่งกักเก็บน้ำที่มีน้ำมากซึ่งต้องบริหารจัดการร่วมกับจังหวัดที่อยู่ด้านท้ายน้ำเพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้น รวมถึงเร่งระบายน้ำในลำน้ำเพื่อเตรียมรองรับปริมาณฝนในช่วงหลังจากนี้
สำหรับปริมาณน้ำจากลุ่มน้ำยม จะใช้การบริหารจัดการน้ำผ่านประตูระบายน้ำบ้านหาดสะพานจันทร์ เพื่อระบายน้ำออกทางคลองต่าง ๆ พร้อมทั้งได้รื้อทางรถไฟที่กีดขวางทางระบายน้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำคลองยม–น่าน และปริมาณน้ำส่วนที่เหลือจะระบายมายังท้ายประตูระบายน้ำบ้านหาดสะพานจันทร์ไหลผ่านตัวเมือง จ.สุโขทัย พิษณุโลก และพิจิตรตามลำดับ ทั้งนี้ จะมีการผันน้ำส่วนหนึ่งเข้าไปในทุ่งรับน้ำ โดยจะมีการประกาศแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ลุ่มต่ำให้เตรียมรับมือ และจะพิจารณาระบายน้ำในทุ่งลงไปสู่แม่น้ำน่านหากระดับน้ำในแม่น้ำไม่สูงนัก
5. สถานการณ์อุทกภัย: วันที่ 26 ส.ค. 67 ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงราย (อ.เมืองฯ เวียงชัย เชียงแสน ป่าแดด แม่สาย พญาเม็งราย แม่จัน เทิง เชียงของ เวียงแก่น เวียงป่าเป้า พาน แม่สรวย แม่ลาว และขุนตาล) จ.น่าน (อ.เมืองฯ เวียงสา เชียงกลาง และภูเพียง) จ.พะเยา (อ.เมืองฯ ภูซาง ดอกคำใต้ เชียงม่วน เชียงคำ และปง) จ.แพร่ (อ. เมืองฯ ร้องกวาง สูงเม่น หนองม่วงไข่ และสอง) จ.สุโขทัย (อ.เมืองฯ สวรรคโลก ศรีสำโรง และศรีสัชนาลัย)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 26 ส.ค. 67