สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 10 ส.ค. 67
1.สรุปสถานการณ์น้ำ และปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.ตาก (53 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.สกลนคร (36 มม.) จ.สมุทราปราการ (21 มม.) ภาคตะวันออก : จ.ตราด (78 มม.) จ.ประจวบคีรีขันธ์ (72 มม.) ภาคใต้ : จ.นครศรีธรรมราช (144 มม.)
สภาพอากาศวันนี้ : มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมมีกำลังอ่อนลง ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมีแนวพัดสอบของลมฝ่ายตะวันออกและลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคใต้ตอนล่าง ทำให้ประเทศไทยตอนบน และภาคใต้ตอนบนมีฝนน้อย ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคใต้ตอนล่าง ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง
คาดการณ์ : ช่วงวันที่ 11–15 ส.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 57% ของความจุเก็บกัก (46,104 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 38% (21,942 ล้าน ลบ.ม.)
3. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ : สทนช. ประกาศเฝ้าระวังผลกระทบจากระดับน้ำแม่น้ำโขงเปลี่ยนแปลง ในช่วงวันที่ 6 – 10 ส.ค. 67 จึงขอให้เฝ้าระวังเตรียมความพร้อมรับมือส่งผลกระทบให้ระดับน้ำแม่น้ำโขงเพิ่มขึ้น และเศษซากไม้ลอยน้ำ ดังนี้
บริเวณสถานีหนองคาย จ.หนองคาย และ สถานีบึงกาฬ จ.บึงกาฬ ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในช่วงวันที่ 6 -7 ส.ค. 67 ประมาณ 1.0 ม. ยังคงต่ำกว่าตลิ่ง 1.5 ม.
บริเวณสถานีนครพนม จ.นครพนม และสถานีมุกดาหาร จ.มุกดาหาร ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในช่วงวันที่ 7 – 9 ส.ค. 67 ประมาณ 1.0 – 2.0 ม. ยังคงต่ำกว่าตลิ่ง 2.0 – 3.3 ม.
บริเวณสถานีอำนาจเจริญ จ.อำนาจเจริญ และ สถานีโขงเจียม จ.อุบลราชธานี ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในช่วงวันที่ 7 – 10 ส.ค. 67 ประมาณ 1.5 – 2.0 ม. ยังคงต่ำกว่าตลิ่ง 3.3 ม.
4. แนวทางบริหารจัดการน้ำ : เมื่อวันที่ 8 ส.ค. 67 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ตรวจราชการ ณ จ.ภูเก็ต เพื่อติดตามการแก้ไขปัญหาดินโคลนถล่มในพื้นที่ จ.ภูเก็ต และได้มอบแนวทางการป้องกันและแก้ปัญหา โดยมอบหมายให้หน่วยงานดำเนินการ ดังนี้
กรมทรัพยากรธรณีวางแผนติดตั้งเครื่องมือในการป้องกันธรณีพิบัติภัยแผ่นดินถล่ม น้ำหลาก ในพื้นที่จุดเสี่ยงต่าง ๆ และจัดทำโครงการปรับปรุง อนุรักษ์ในพื้นที่เสี่ยงของจังหวัดภูเก็ต โดยเฉพาะพื้นที่ประสบภัยบริเวณ ต.กมลา อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต
กรมทรัพยากรธรณีร่วมกับจังหวัดภูเก็ตเร่งสร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่จุดเสี่ยง
จังหวัดภูเก็ตประสานการแก้ไขจุดตัดถนนที่ขวางทางน้ำให้มีประสิทธิภาพ
สำหรับระยะเร่งด่วนในฤดูฝนนี้ได้เน้นย้ำให้กรมทรัพยากรธรณีเฝ้าระวัง ติดตาม พื้นที่เสี่ยงต่าง ๆ ในประเทศ และแจ้งเตือนเครือข่ายประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น
5. สถานการณ์น้ำท่วม วันที่ 9 ส.ค. 67 ในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จ.พระนครศรีอยุธยา (อ.ผักไห่ และเสนา) จ.นครพนม (อ.เมืองฯ) และจ.ปราจีนบุรี (อ.บ้านสร้าง)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปข่าวประจำวันที่ 10 สิงหาคม 2567