สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 28 ก.ค. 67
1.สรุปสถานการณ์น้ำ และปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.พิษณุโลก (99 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.อุบลราชธานี (72 มม.) ภาคกลาง : กรุงเทพมหานคร (86 มม.) ภาคตะวันออก : จ.ตราด (368 มม.) ภาคตะวันตก : จ.กาญจนบุรี (82 มม.) ภาคใต้ : จ.กระบี่ (117 มม.)
สภาพอากาศวันนี้ : ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่บริเวณภาคตะวันออก
คาดการณ์ : ช่วงวันที่ 31 ก.ค. – 2 ส.ค. 67 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศเมียนมาและลาวตอนบน ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลงแต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 52% ของความจุเก็บกัก (42,266 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 31% (18,706 ล้าน ลบ.ม.)
3. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ : ประกาศ สทนช. ฉบับที่ 8/2567 ลงวันที่ 21 ก.ค. 67 เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 24-31 ก.ค. 67 มีพื้นที่เฝ้าระวัง ดังนี้
3.1 พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม
ภาคเหนือ จ.เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก สุโขทัย พะเยา น่าน แพร่ พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.เลย หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม และอุบลราชธานี
ภาคตะวันตก จ.กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์
ภาคตะวันออก จ.นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้ จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต ตรัง และสตูล
3.2 เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 บริเวณ จ.เชียงใหม่ น่าน พะเยา พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ เลย บึงกาฬ สกลนคร อุดรธานี ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ นครราชสีมา สระบุรี สุพรรณบุรี ปราจีนบุรี ตราด และระนอง
3.3 เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน ระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของแม่น้ำน่าน แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำป่าสัก ลำน้ำพอง ลำน้ำก่ำ แม่น้ำชี ลำเซบาย แม่น้ำยัง และแม่น้ำตราด
4. การบริหารจัดการน้ำ : ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ฝนตกหนักสะสมช่วงวันที่ 25-26 ก.ค. 67 ในพื้นที่ จ.กาญจนบุรี ส่งผลให้เกิดอุทกภัยในพื้นที่ อ.ทองผาภูมิ อ.สังขละบุรี และ อ.ไทรโยค ซึ่งเขื่อนวชิราลงกรณ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำ 5,527 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 62% ของปริมาณน้ำกักเก็บ และได้งดการระบายน้ำทำให้สามารถช่วยหน่วงน้ำหลากที่ไหลเข้าท่วมชุมชนและพื้นที่การเกษตร ลดผลกระทบพื้นที่น้ำท่วมและเร่งกักเก็บน้ำต้นทุนเพื่อสำรองไว้ใช้ช่วงแล้ง
ทั้งนี้ สทนช. จะติดตามสถานการณ์ฝนตกหนักอย่างใกล้ชิด เนื่องจากการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยในช่วง 3 วันนี้ คือ ช่วงวันที่ 27-29 ก.ค. 67 จะมีปริมาณฝนมากในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก ได้แก่ จ.เชียงใหม่แม่ฮ่องสอน ตราดและกาญจนบุรี โดย สทนช. ได้บูรณาการทุกหน่วยงานในการเฝ้าติดตามสถานการณ์และการแจ้งเตือนภัย เพื่อพร้อมเข้าให้ความช่วยเหลือประชาชน
5. สถานการณ์น้ำท่วม วันที่ 26 ก.ค.67 ในพื้นที่ 9 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงใหม่ (อ.อมก๋อย) จ.ตาก (อ.แม่สอด ท่าสองยาง แม่ระมาด และพบพระ) จ.กาญจนบุรี (อ.ทองผาภูมิ สังขละบุรีและไทรโยค) จ.พระนครศรีอยุธยา (อ.ผักไห่และเสนา) จ.ขอนแก่น (อ.มัญจาคีรี บ้านไผ่ บ้านแฮด ภูผาม่าน ชุมแพ และหนองเรือ) จ.ชัยภูมิ (อ.คอนสาร บ้านแท่น ภูเขียว และเกษตรสมบูรณ์) จ.ร้อยเอ็ด (อ.ปทุมรัตต์ สุวรรณภูมิ และเกษตรวิสัย) จ.จันทบุรี (อ.เมืองฯ มะขาม และท่าใหม่) และ จ.ตราด (อ.บ่อไร่ เขาสมิง และแหลมงอบ)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 26 ก.ค. 67