สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 24 ก.ค. 67
1. สรุปสถานการณ์น้ำ และปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.กำแพงเพชร (74) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.สุรินทร์ (37) ภาคกลาง : กรุงเทพมหานคร (48 มม.) ภาคตะวันออก : จ.ปราจีนบุรี (82) ภาคตะวันตก : จ.กาญจนบุรี (65 มม.) ภาคใต้ : จ.ชุมพร (78)
สภาพอากาศวันนี้ : มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออก และพายุดีเปรสชัน“พระพิรุณ” บริเวณประเทศเวียดนามตอนบนได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงแล้ว
คาดการณ์ : วันที่ 25 ก.ค. 67 ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ส่วนช่วงวันที่ 26 – 29 ก.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในด้านตะวันตกของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง
2.สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 51% ของความจุเก็บกัก (41,104 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 29% (16,941 ล้าน ลบ.ม.)
3. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ : ประกาศ สทนช. ฉบับที่ 8/2567 ลงวันที่ 21 ก.ค. 67 เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 24-31 ก.ค. 67 มีพื้นที่เฝ้าระวัง ดังนี้
3.1 พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม
ภาคเหนือ จ.เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก สุโขทัย พะเยา น่าน แพร่ พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.เลย หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม และอุบลราชธานี
ภาคตะวันตก จ.กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์
ภาคตะวันออก จ.นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้ จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต ตรัง และสตูล
3.2 เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 บริเวณ จ.เชียงใหม่ น่าน พะเยา พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ เลย บึงกาฬ สกลนคร อุดรธานี ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ นครราชสีมา สระบุรี สุพรรณบุรี ปราจีนบุรี ตราด และระนอง
3.3 เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน ระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของแม่น้ำน่าน แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำป่าสัก ลำน้ำพอง ลำน้ำก่ำ แม่น้ำชี ลำเซบาย แม่น้ำยัง และแม่น้ำตราด
4. สถานการณ์น้ำ : เนื่องจากมีปริมาณน้ำสะสมไหลลงสู่บริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ในอัตราที่เพิ่มขึ้น ทำให้ระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยายกตัวสูงขึ้นตามไปด้วย เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ กรมชลประทานจึงได้รับน้ำเข้าระบบชลประทานทั้ง 2 ฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมปรับเพิ่มการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยาในอัตรา 700 ลบ.ม./วินาที และประสาน กฟผ.พิจารณาปรับลดการระบายน้ำจากเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ ร่วมกับปรับลดการระบายน้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ควบคู่ไปด้วย เพื่อช่วยลดภาระการระบายน้ำในพื้นที่ตอนล่าง
ทั้งนี้ จากปริมาณน้ำเหนือที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ประมาณ 700 – 800 ลบ.ม. / วินาที คาดว่าจะทำให้ระดับน้ำด้านท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ในพื้นที่ลุ่มต่ำบริเวณคลองโผงเผง จ.อ่างทอง คลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา และ ต.หัวเวียง อ.เสนา ต.ลาดชิด ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา(แม่น้ำน้อย) เพิ่มสูงขึ้น แต่ยังไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชุมชน
5. สถานการณ์อุทกภัย : สถานการณ์น้ำท่วม วันที่ 23 ก.ค…67 ในพื้นที่ 9 จังหวัด ได้แก่ จ.พิจิตร (อ.สากเหล็ก) จ.พิษณุโลก (อ.เนินมะปราง และนครไทย) จ.มหาสารคาม (อ.วาปีปทุม) จ.ขอนแก่น (อ.มัญจาคีรี บ้านไผ่ บ้านแฮด บ้านภูผาม่าน ชุมแพ และหนองเรือ) จ.ชัยภูมิ (อ.คอนสาร บ้านแท่น ภูเขียว และเกษตรสมบูรณ์) จ.ร้อยเอ็ด (อ.ปทุมรัตต์ และเกษตรวิสัย) จ.อุบลราชธานี (อ.เดชอุดม) จ.จันทบุรี (อ.เมืองฯ และท่าใหม่) และ จ.ตราด (อ.เมืองฯ )
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 23 ก.ค. 67