สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 22 ก.ค. 67
1. สรุปสถานการณ์น้ำ และปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.น่าน (87 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.เลย (132 มม.) ภาคกลาง : จ.สระบุรี (71 มม.) ภาคตะวันออก : จ.ตราด (175 มม.) ภาคตะวันตก : จ.กาญจนบุรี (48 มม.) ภาคใต้ : จ.ระนอง (66 มม.)
สภาพอากาศวันนี้ : ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และประเทศลาวตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออก
คาดการณ์ : 23 – 27 ก.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศเมียนมา ประเทศเวียดนามตอนบน และประเทศจีนตอนใต้ จะทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคใต้ โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และด้านตะวันตกของภาคเหนือและภาคกลาง
2.สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 51% ของความจุเก็บกัก (40,739 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 29% (16,575 ล้าน ลบ.ม.)
3. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ : ประกาศ สทนช. ฉบับที่ 8/2567 ลงวันที่ 21 ก.ค. 67 เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 24-31 ก.ค. 67 มีพื้นที่เฝ้าระวัง ดังนี้
1. พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม
ภาคเหนือ จ.เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก สุโขทัย พะเยา น่าน แพร่ พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.เลย หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม และอุบลราชธานี
ภาคตะวันตก จ.กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์
ภาคตะวันออก จ.นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้ จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต ตรัง และสตูล
2. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 บริเวณ จ.เชียงใหม่ น่าน พะเยา พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ เลย บึงกาฬ สกลนคร อุดรธานี ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ นครราชสีมา สระบุรี สุพรรณบุรี ปราจีนบุรี ตราด และระนอง
3. เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน ระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของแม่น้ำน่าน แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำป่าสัก ลำน้ำพอง ลำน้ำก่ำ แม่น้ำชี ลำเซบาย แม่น้ำยัง และแม่น้ำตราด
4. การบริหารจัดการน้ำ : เนื่องจากมีปริมาณน้ำสะสมไหลลงสู่บริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ในอัตราที่เพิ่มขึ้น เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ กรมชลประทานจึงได้ปรับเพิ่มการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ในอัตรา 559 ลบ.ม./วินาที ณ เวลา 09.00 น. วันนี้ ( 22 ก.ค.67) จะทยอยปรับเพิ่มขึ้นชั่วโมงละ 10 ลบ.ม./วินาที โดยประมาณ จนเป็นอัตรา 660 ลบ.ม./วินาที ในเวลา 19.00 น. หลังจากนั้นจะคงการระบายน้ำในอัตราการระบายดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง
5. สถานการณ์อุทกภัย : สถานการณ์น้ำท่วม วันที่ 21 ก.ค…67 ในพื้นที่ 11 จังหวัด ได้แก่ จ.น่าน (อ.เมืองฯ) จ.พิษณุโลก (อ.เนินมะปราง และนครไทย) จ.เพชรบูรณ์ (อ.หล่มเก่า และหล่มสัก จ.พิจิตร (อ.สากเหล็ก) จ.สกลนคร (อ.เมืองฯ) จ.ขอนแก่น (อ.มัญจาคีรี บ้านไผ่ บ้านแฮด สีชมพู บ้านภูผาม่าน เมืองฯ และชุมแพ) จ.ร้อยเอ็ด (อ.ปทุมรัตต์ และเกษตรวิสัย) จ.มหาสารคาม (อ.บรบือ และวาปีปทุม) จ.อุบลราชธานี (อ.เดชอุดม และศรีเมืองใหม่) จ.จันทบุรี (อ.เขาคิชฌกูฏ) และ จ.ตราด (อ.เมืองฯ และเขาสมิง)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 21 ก.ค. 67