สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 6 มิ.ย. 67
1. สรุปสถานการณ์น้ำ และสภาพอากาศวันนี้ : ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน กับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
คาดการณ์ : วันที่ 7-8 มิ.ย. 67ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลาง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้านตะวันตกของภาคกลาง และภาคตะวันออก
2.สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 51% ของความจุเก็บกัก (40,707 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 29% (16,531 ล้าน ลบ.ม.) การประเมินสถานการณ์แหล่งน้ำเฝ้าระวังน้ำน้อย 5 แห่งภาคเหนือ : สิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จุฬาภรณ์ ภาคกลาง : กระเสียว ภาคตะวันตก: ศรีนครินทร์ และปราณบุรี
3.คุณภาพน้ำ : น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค แม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
น้ำเพื่อการเกษตร
แม่น้ำท่าจีน ณ สถานีประตูระบายน้ำปากคลองจินดา อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
แม่น้ำแม่กลอง ณ สถานีอัมพวา อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
แม่น้ำบางปะกง ณ สถานีวัดบางคาง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
4.ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ : 4.1 ประกาศ สทนช. ฉบับที่ 6/2567 ลงวันที่ 2 มิ.ย. 67 เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 4 –11 มิ.ย. 67 มีพื้นที่เฝ้าระวัง ดังนี้
ภาคเหนือ จ.เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง พะเยา น่าน ตาก พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.เลย หนองคาย บึงกาฬ ชัยภูมิ ขอนแก่น และอุบลราชธานี
ภาคตะวันตก จ.กาญจนบุรี ราชบุรี และเพชรบุรี
ภาคตะวันออก จ.ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
4.2 สทนช. แจ้งเตือนเฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูง ช่วงวันที่ 6 – 12 มิ.ย. 67 เนื่องจากอิทธิพลของน้ำทะเลหนุนสูง และคาดว่าจะมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มสูงขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำบางปะกง เสี่ยงน้ำท่วมบริเวณชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำและแนวเขื่อนชั่วคราว
บริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ) ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ
5.แนวทางการบริหารจัดการน้ำ : สทนช. ติดตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการเตรียมความพร้อมรับมือฤดูฝน ปี 67 ดังนี้
5.1 กรุงเทพมหานคร เข้าดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำชนิดไฟฟ้า แบบหอยโข่ง ขนาด 12 นิ้ว จำนวน 1 เครื่อง ทดแทนเครื่องสูบน้ำดีเซล ขนาด 8 นิ้ว บริเวณบ่อสูบน้ำย่อย ถ.สุขุมวิท71 ช่วงลงคลองบางมะเขือ เขตวัฒนา เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในบริเวณถนนสุขุมวิทซอย 71 และติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำบริเวณคลองเปรมประชากร เขตดอนเมือง เพื่อเตรียมความพร้อมในการเร่งระบายน้ำในพื้นที่เขตดอนเมืองและเขตหลักสี่ ผ่านคลองบางเขน คลองบางซื่อ และอุโมงค์ผันน้ำคลองเปรมประชากร ออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาต่อไป
5.2 กรมทรัพยากรน้ำ ตรวจสอบ ซ่อมแซมบำรุงรักษาระบบเตือนภัยน้ำท่วม – ดินถล่ม (Early Warning System) สำหรับพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย – ดินถล่ม พื้นที่ลาดชันและพื้นที่ราบเชิงเขา ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 28 สถานี เพื่อให้สถานีเตือนภัยฯ ส่งสัญญาณเชื่อมโยงข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.3 จังหวัดชัยภูมิ ประชุมเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยในช่วงฤดูฝน จังหวัดชัยภูมิ ปี 2567 ครั้งที่ 1 (คณะทำงานติดตามสถานการณ์น้ำ) ในวันที่ 5 มิ.ย. 67 ณ ศาลากลางจังหวัดชัยภูมิ โดยมีนายอนันต์ นาคนิยม ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ เป็นประธานในการประชุม เพื่อให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยจังหวัดชัยภูมิ พ.ศ.2567 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 5 มิ.ย. 67