สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 23 พ.ค. 67
1. สรุปสถานการณ์น้ำ และ สภาพอากาศวันนี้ : มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ด้านตะวันตกของประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลางตอนบน ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก
คาดการณ์ : ในช่วงวันที่ 24-28 พ.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบน และด้านตะวันตกของประเทศไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 51% ของความจุเก็บกัก (41,206 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 29% (17,035 ล้าน ลบ.ม.) การประเมินสถานการณ์แหล่งน้ำเฝ้าระวังน้ำน้อย 4 แห่งภาคเหนือ : สิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จุฬาภรณ์ ภาคกลาง : กระเสียว ภาคตะวันตก: ศรีนครินทร์
3. คุณภาพน้ำ : น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค แม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน น้ำเพื่อการเกษตร
แม่น้ำท่าจีน ณ สถานีประตูระบายน้ำปากคลองจินดา อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
แม่น้ำแม่กลอง ณ สถานีอัมพวา อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
แม่น้ำบางปะกง ณ สถานีวัดบางคาง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
4. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ : ฉบับที่ 3/2567 ลงวันที่ 14 พ.ค. 67 เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน
น้ำไหลหลาก ในช่วงวันที่ 18–25 พ.ค. 67 และฉบับที่ 4/2567 ลงวันที่ 20 พ.ค. 67เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก ในช่วงวันที่ 22–26 พ.ค. 67 โดยมีพื้นที่เฝ้าระวัง ดังนี้
ภาคเหนือ จ.เชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.หนองคาย บึงกาฬ นครพนม ชัยภูมิ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ภาคตะวันตก จ.กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์
ภาคตะวันออก จ.ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้ จ.ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี พังงา ภูเก็ต กระบี่ นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง สตูล สงขลา ยะลา และนราธิวาส
5. ข่าวประชาสัมพันธ์ด้านน้ำ : เมื่อวันที่ 20-21 พ.ค. 67 ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการ สทนช. ในฐานะหัวหน้าองค์ประกอบผู้แทนไทยในการประชุมระดับรัฐมนตรี พร้อมด้วยองค์ประกอบคณะผู้แทนไทย เข้าร่วมการประชุมน้ำโลก ครั้งที่ 10 (10th World Water Forum) ณ เมืองบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ภายใต้หัวข้อหลัก “น้ำเพื่อความมั่งคั่งร่วมกัน”
การเข้าร่วมการประชุมฯ ครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสสำคัญในการสะท้อนเจตนารมณ์ทางการเมืองในระดับรัฐมนตรีของประเทศไทย รวมถึงสนับสนุนการกำหนดนโยบาย และดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป้าหมายที่ 6 “สร้างหลักประกันว่าจะมีการจัดให้มีน้ำและสุขอนามัยสำหรับทุกคนและมีการบริหารจัดการที่ยั่งยืน” โดยการบูรณาการความร่วมมือข้ามพรมแดนและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อให้เกิดความมั่งคั่งร่วมกันในระดับภูมิภาคและระดับโลก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 22 พ.ค. 67