สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 4 มี.ค. 67
1. สภาพอากาศวันนี้ : ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ในขณะที่ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
คาดการณ์ : ในช่วงวันที่ 5-8 มี.ค. 67 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก มีอากาศร้อนถึงร้อนจัดและมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ภาคใต้ มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 64% ของความจุเก็บกัก (52,911 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 49% (28,558 ล้าน ลบ.ม.) การประเมินสถานการณ์แหล่งน้ำเฝ้าระวังน้ำน้อย 4 แห่งภาคเหนือ: สิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จุฬาภรณ์ ภาคตะวันออก: คลองสียัด ภาคกลาง : กระเสียว (ต้องเฝ้าระวังในช่วงฤดูแล้ง)
3.คุณภาพน้ำ : น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค แม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล จ.ปทุมธานี อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน น้ำเพื่อการเกษตร
แม่น้ำท่าจีน ณ สถานีประตูระบายน้ำปากคลองจินดา อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
แม่น้ำแม่กลอง ณ สถานีปากคลองดำเนินสะดวก อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
แม่น้ำบางปะกง ณ สถานีวัดบางคาง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
4. กิจกรรมสำคัญ : สทนช. ประชุมติดตามการดำเนินงานตามมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/67 พื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ดังนี้
เมื่อวันที่ 29 ก.พ. 67 พบพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรนอกเขตชลประทาน ในพื้นที่ จ.นครสวรรค์ โดยในระยะยาวมีการวางแผนดำเนินโครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำปากคลองจระเข้เผือก โครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำคลองอนงค์ โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูระบบโครงข่ายแหล่งน้ำ 3 ตำบล และโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก (หลุมขนมครก)
เมื่อวันที่ 1 มี.ค. 67 พบพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค ในพื้นที่ อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท (ต.มะขามเฒ่า จำนวน 1 หมู่บ้าน และต.บ่อแร่ จำนวน 2 หมู่บ้าน) เนื่องจากปัญหาคุณภาพน้ำผิวดินและไม่มีแหล่งน้ำต้นทุนเก็บกัก ทั้งนี้ ได้มอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาโดยดำเนินการซื้อถังน้ำ 2,000 ลิตร แจกจ่ายแต่ละหมู่บ้าน โดยเตรียมการขนส่งน้ำและเติมให้ประชาชนในช่วงฤดูแล้งต่อไป