เผยตราสัญลักษณ์ที่ชนะการออกแบบ IMF-World Bank Group Annual Meetings 2026
กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย ขอแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับรางวัลจากการแข่งขันออกแบบตราสัญลักษณ์ งาน IMF-World Bank Group Annual Meetings 2026
รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 100,000 บาท ได้แก่
นายไพฑูรย์ ปฏิสนธิเจริญ
รางวัลรองชนะเลิศ 2 รางวัล รางวัลละ 30,000 บาท ได้แก่
1. นายอรรคพล ล่าม่วง
2. นายพิทักษ์ ทนาบุตร
ขอแสดงความยินดีกับทุกท่านที่ได้รับรางวัล และขอขอบคุณผู้สมัครทุกท่านที่ได้มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของก้าวแรกในการจัดงานประชุมด้านเศรษฐกิจการเงินที่สำคัญที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพในอีก 3 ปีข้างหน้านะครับ
หมายเหตุ ทีมงานจะติดต่อผู้ที่ได้รับรางวัลต่อไป
#AnnualMeetings2026 #AM2026
Caption ใต้ภาพ
รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 100,000 บาท
ผู้ออกแบบ: นายไพฑูรย์ ปฏิสนธิเจริญ
แนวคิดการออกแบบ: ผู้ออกแบบต้องการสื่อถึงความเป็นไทย การเงิน และความทันสมัย จึงได้นำลายไทยที่เรียกว่า “ลายประจำยาม” และ “ตราพระแสงจักร” ที่อยู่บนเหรียญไทยโบราณ (เหรียญพดด้วง) มารวมกันแล้วนำมาลดทอนรายละเอียด เพื่อให้มีความทันสมัย และจดจำได้ง่าย หลังจากได้ไอคอน ที่เป็นไอเดียตั้งต้นแล้ว จึงนำมาต่อยอดออกแบบลักษณะของตัวหนังสือในตราสัญลักษณ์ ส่วนลายกราฟิกต่าง ๆ ผู้ออกแบบได้นำตราพระแสงตรี ตราครุฑ และตราใบมะตูม บนพดด้วงมาลดทอนและจัดวางเป็นแพตเทิร์น
Caption ใต้ภาพ
รางวัลรองชนะเลิศ เงินรางวัล 30,000 บาท
ผู้ออกแบบ: นายอรรคพล ล่าม่วง
แนวคิดการออกแบบ: ผู้ออกแบบนำเสนออัตลักษณ์ของประเทศไทยแบบร่วมสมัย โดยใช้สีทอง รูปทรงเรขาคณิต และลักษณะรูปข้าวหลามตัดที่ดัดแปลงมาจาก “ลายดอกกนก” ซึ่งยังคงความเรียบง่าย และได้กลิ่นอายของโลกอนาคต เพื่อสื่อสารถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และความทันสมัย ในส่วนของลายกราฟิกนั้น ผู้ออกแบบนำ “หัตถกรรมจักสาน” มาใช้นำเสนอเรื่องการสานต่อ ความเชื่อมโยง ความมีระบบระเบียบ ประกอบด้วย 3 มิติ แห่งการสร้างความร่วมมือในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการดูแลเสถียรภาพระบบการเงินโลก คือ มีธรรมาภิบาลที่ดี (Effective Governance) การดูแลความเสมอภาคทางสังคม (Social Equality) และความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environment)
Caption ใต้ภาพ
รางวัลรองชนะเลิศ เงินรางวัล 30,000 บาท
ผู้ออกแบบ: นายพิทักษ์ ทนาบุตร
แนวคิดการออกแบบ: ผู้ออกแบบใช้แนวคิด “สัญญะ-จิตวิญญาณ-ไทย (Sign of Thai Spiritual)” ซึ่งมีที่มาจากพหุวัฒนธรรม (Cultural Diversity) จากทั้ง 4 ภาคของไทย ได้แก่ ต๋าแหลว (ภาคเหนือ) เฉลว (ภาคกลาง) ตาแหลว (ภาคอีสาน) และ กะหลิว (ภาคใต้) นำมาพัฒนาเป็นตราสัญลักษณ์ และกราฟิกประกอบที่สื่อถึง เอกภาพ บูรณาการ และการสานสัมพันธ์
https://www.instagram.com/p/C2uR6tlRz_T/?igsh=bHg1aWQ0MTFxMTVl
https://x.com/pr_mof/status/1752296500955406443?s=53&t=pc3MXk22kToP4WtNx3bQIw