สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 10 ม.ค. 67
1. สภาพอากาศวันนี้ :มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้เริ่มมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
คาดการณ์ : วันที่ 12 – 15 ม.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในขณะที่คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาจะเคลื่อนผ่านประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ในระยะแรก
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 74% ของความจุเก็บกัก (60,587 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 63% (36,375ล้าน ลบ.ม.) การประเมินพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ พบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่บริเวณภาคเหนือ จำแนกเป็น 1) ด้านอุปโภค-บริโภค ในเขต กปภ. 13 จังหวัด และนอกเขต กปภ. 33 จังหวัด 2) ด้านการเกษตร นาปรัง 13 จังหวัด และพืช-ไม้ผล 22 จังหวัด 3) ด้านคุณภาพน้ำ ในเขต กปภ. 7 จังหวัด และนอกเขต กปภ. 3 จังหวัด
ตามที่ นายกรัฐมนตรีตรวจราชการในพื้นที่ จ.อุบลราชธานี และได้ห่วงการขาดแคลนน้ำใน อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี
สทนช. ได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง ตาม 9 มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/2567 ในพื้นที่ อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี ที่คาดว่าจะมีผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานให้มีการวางแผนช่วยเหลือประชาชนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติ ยกเว้นแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวังความเค็มในการผลิตน้ำประปา
สทนช. สำรวจพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคและปัญหาคุณภาพน้ำ เร่งขับเคลื่อนแผนน้ำสะอาดในพื้นที่ จ.อำนาจเจริญ และมุกดาหาร
นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำและพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ ตามมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/2567 พบว่า ในบางพื้นที่ของ จ.อำนาจเจริญ และมุกดาหาร กำลังจะขาดแคลนน้ำในช่วงเดือน ม.ค. นี้ และในบางพื้นที่คาดว่าจะมีน้ำใช้เพียงพอแค่ 1-2 เดือน สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากอ่างเก็บน้ำอยู่ห่างไกลชุมชน อีกทั้งแหล่งน้ำขนาดเล็กในชุมชนมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอในการผลิตน้ำประปาของระบบประปาหมู่บ้านและปัญหาคุณภาพน้ำที่ไม่ได้มาตรฐาน
ทั้งนี้ สทนช. กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหา ดังนี้
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล เตรียมสำรวจพื้นที่ที่เหมาะสมในการดำเนินการขุดเจาะแหล่งน้ำบาดาลเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มแหล่งกระจายน้ำให้กับประชาชนในพื้นที่
กรมทรัพยากรน้ำ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกรมชลประทาน ได้เตรียมพร้อมเครื่องจักรเครื่องมือในการสนับสนุนรถบรรทุกน้ำและการสูบน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อแจกจ่ายให้ประชาชนที่ขาดแคลนน้ำได้ทันท่วงที
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พิจารณาแผนงาน/โครงการที่มีความพร้อมและเหมาะสมเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณทั้งระยะกลางและระยะยาว
ทั้งนี้ สทนช. เตรียมประสานหน่วยงานด้านการวิจัย เพื่อแก้ไขปัญหาการปนเปื้อนคุณภาพน้ำในระยะยาว โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการแก้ปัญหาสารปนเปื้อนในน้ำอุปโภค-บริโภค
แผนและผลการเพาะปลูกพืชในช่วงฤดูแล้งปี 2566/67
แผนปลูกข้าวนาปรังทั้งประเทศ 5.80 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 5.58 ล้านไร่ (96%)
แผนการเพาะปลูกพืชไร่ – พืชผักทั้งประเทศ 0.57 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 0.36 ล้านไร่ (63%)
แผนการเพาะปลูกพืชในช่วงฤดูแล้ง 6.37 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 5.94 ล้านไร่ (93%) ข้อมูล ณ วันที่ 3 ม.ค. 67