สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 28 ธ.ค. 66
สภาพอากาศวันนี้ : มวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยเริ่มอ่อนกำลังลง ทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลและภาคตะวันออก มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ในขณะที่ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง
คาดการณ์ : ในวันที่ 29–31 ธ.ค. 66 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะเริ่มมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง
ปริมาณน้ำรวมทั้งประเทศ ณ วันที่ 27 ธ.ค. 66 เฝ้าระวังน้ำน้อย 3 แห่ง ภาคเหนือ: สิริกิติ์ ภาคกลาง : กระเสียว ภาคตะวันออก : คลองสียัด ต้องเฝ้าระวังในช่วงฤดูแล้ง
ติดตามอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ปริมาณน้ำ > 100% ภาคใต้ 5..แห่ง : คลองแห้ง คลองหลา คลองกะทูน คลองดินแดง และคลองหัวช้าง
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธิน กองทัพเรือ และกรมชลประทาน เร่งช่วยเหลือประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านการดำรงชีพเบื้องต้น เช่น อำเภอระแงะ จัดตั้งโรงครัวพระราชทาน อำเภอเมืองนราธิวาส นำรถครัวประกอบอาหารเพื่อแจกจ่ายประชาชนผู้ประสบภัยน้ำท่วม กรมชลประทานเร่งซ่อมแซมบิ๊กแบ็คปากคลองระบายน้ำมูโนะ ต.มูโนะ อ.สุไหงโก-ลก เป็นต้น
จากสถานการณ์มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณเกาะสุมาตราและทะเลอันดามันตอนล่าง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ส่งผลให้เกิดอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ และยังคงมีสถานการณ์ 4 จ. สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส 26 อ. 146 ต. 822 ม. ประชาชนได้รับผลกระทบ 94,120 ครัวเรือน
วานนี้ 27 ธ.ค. 66 นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เป็นประธานการประชุมกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ครั้งที่ 1/2566 พร้อมกล่าวมอบนโยบายขับเคลื่อนกองอํานวยการน้ำแห่งชาติ โดยมี ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการฯ สทนช. ในฐานะรองผู้อำนวยการ กอนช. และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุม นายสมศักดิ์ เปิดเผยว่าจากสถานการณ์ฝนตกหนักถึงหนักมาก ส่งผลให้เกิดอุทกภัยระดับรุนแรงในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะ จ.นราธิวาส ยะลา และปัตตานี ซึ่งมีประชาชนได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก และสถานการณ์น้ำยังมีแนวโน้มแผ่ขยายต่อเนื่อง จึงได้สั่งการให้เร่งหาแนวทางบรรเทาและควบคุมสถานการณ์ไม่ให้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยต้องผนึกกําลังทุกหน่วยงานบูรณาการทำงานร่วมกัน เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อน ลดความเสียหายให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างทันท่วงที จึงได้มีการจัดตั้งกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ขึ้น เพื่อบูรณาการการแก้ไขปัญหาสถานการณ์อุทกภัยภาคใต้