ดัชนีครัวเรือนไทยพ.ย.ร่วงติดต่อ 3 เดือน
• ประชาชนกังวลค่าครองชีพสูงที่สุด
• รายได้หายรายจ่ายพุ่งไม่พอค่าใช้จ่าย
• ประชาชนยังรอลุ้นมาตรการรัฐบาล
ดัชนีครัวเรือนไทย พ.ย. ปรับขึ้นต่อเนื่องเดือนที่ 3 รับผลมาตรการลดค่าครองชีพภาครัฐ
ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ในเดือนพ.ย.2566 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่ 39.4 แต่ยังต่ำกว่าระดับก่อนโควิด-19 โดยความต่อเนื่องของมาตรการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายจากภาครัฐยังคงช่วยลดความกังวลของครัวเรือนในด้านราคาสินค้าและค่าใช้จ่าย (ไม่รวมหนี้สิน)
ขณะที่ดัชนีฯ 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลงเล็กน้อยที่ 40.8 ท่ามกลางภาวะต้นทุนทางการเงินของครัวเรือนที่ตึงตัว และมาตรการสนับสนุนต่างๆ จากภาครัฐในปี 67 ยังมีความไม่แน่นอน
นอกจากนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นที่ครัวเรือนมีความกังวลมากที่สุดในปี2567 พบว่า ค่าครองชีพที่อยู่ในระดับสูงยังเป็นประเด็นที่สร้างความกังวลให้แก่ครัวเรือนมากที่สุด (59.4%) รองลงมาเป็นประเด็นเกี่ยวกับรายได้ที่อาจไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย (22.2%) นอกจากนี้ เป็นความกังวลเกี่ยวกับภาระหนี้สินอยู่ในระดับสูง และสภาพอากาศที่แปรปรวน
สำหรับเดือนสุดท้ายของปี2566 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่า ดัชนี KR-ECI จะยังคงฟื้นตัวได้ต่อเนื่องตามทิศทางเศรษฐกิจไทย รวมถึงมาตรการบรรเทาภาระค่าครองชีพของภาครัฐที่ยังไม่สิ้นสุดลง อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวดังกล่าวอยู่ภายใต้ความท้าทายต่างๆ ที่ยังเป็นประเด็นต้องติดตาม อาทิ มาตรการสนับสนุนต่างๆ ของภาครัฐ สัดส่วนหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง สภาพอากาศที่แปรปรวน