สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 7 ต.ค. 66
สภาพอากาศวันนี้ : อิทธิพลของร่องมรสุมทำให้มีฝนตกหนักบางแห่ง และมีฝนตกหนักมากในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คาดการณ์: ในช่วงวันที่ 7–9 ต.ค. 66 ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้น และตกหนักบางแห่ง
พายุไต้ฝุ่น “โคอินุ” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน คาดว่าจะเคลื่อนตัวเข้าใกล้ชายฝั่งด้านตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีนในช่วงวันที่ 8-9 ต.ค. 66 และจะอ่อนกำลังลง โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประเทศไทย
ปริมาณน้ำรวมทั้งประเทศ ณ วันที่ 6 ต.ค. 66 น้อยกว่าปี 2565 จำนวน 9,105 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งยังเพียงพอสำหรับกิจกรรมการใช้น้ำในช่วงฤดูฝนนี้ ทั้งนี้ ขอให้หน่วยงานจัดสรรน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณต้นทุนในอ่างเก็บน้ำ เพื่อสนับสนุนการใช้น้ำทุกกิจกรรม
ในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างทั่วถึงและพอเพียง สำหรับการอุปโภค-บริโภค รักษาระบบนิเวศ อุตสาหกรรม และการเพาะปลูกพืชในฤดูแล้งถัดไป สรุปได้ดังนี้
ปริมาณน้ำทั้งประเทศ 56,076 ล้าน ลบ.ม. (68%)
ปริมาณน้ำใช้การ 31,919 ล้าน ลบ.ม. (55%)
เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดใหญ่
เฝ้าระวังน้ำมาก 9 แห่ง ภาคเหนือ : แม่งัดสมบูรณ์ชล แม่มอก และกิ่วลม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ห้วยหลวง ลำปาว หนองหาร น้ำพุง และอุบลรัตน์ ภาคตะวันออก : ขุนด่านปราการชล
ขอให้หน่วยงานพิจารณาบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบหรือเกิดผลกระทบน้อยที่สุดบริเวณท้ายเขื่อน และคำนึงถึงการเก็บกักน้ำสำหรับฤดูแล้งนี้ด้วย
เฝ้าระวังน้ำน้อย 6 แห่ง ภาคเหนือ: สิริกิติ์ ทับเสลา และบึงบอระเพ็ด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จุฬาภรณ์ ภาคตะวันออก : คลองสียัด ภาคตะวันตก: ปราณบุรี
ขอความร่วมมือให้เกษตรกรงดการปลูกข้าวนาปีต่อเนื่อง และส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชใช้น้ำน้อย
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
สทนช. ประกาศ ฉบับที่ 2/2566 เรื่องเฝ้าระวังน้ำหลากดินถล่ม และน้ำล้นตลิ่ง ในช่วงวันที่ 9 – 15 ต.ค. 2566 ดังนี้
1. เฝ้าระวังน้ำหลากดินถล่ม ได้แก่ ภาคเหนือ (จ.เชียงใหม่ กำแพงเพชร ตาก อุตรดิตถ์ พะเยา แพร่ พิษณุโลก นครสวรรค์ อุทัยธานี เพชรบูรณ์) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จ.ขอนแก่น นครราชสีมา ชัยภูมิ มุกดาหาร อุดรธานี อุบลราชธานี) ภาคกลาง (จังหวัดกาญจนบุรี ชัยนาท สุพรรณบุรี) ภาคตะวันออก (จ.ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี ตราด ระยอง) ภาคใต้
(จ.นราธิวาส พังงา ระนอง)
2.เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่งบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ ดังนี้ แม่น้ำมูล ได้แก่ อ. เมืองอุบลราชธานี วารินชำราบ และพิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี แม่น้ำเจ้าพระยา คาดการณ์จะมีน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำ ซึ่งเขื่อนเจ้าพระยาต้องเพิ่มการระบายน้ำในอัตรามากกว่า 1,500 ลบ.ม./วินาที ส่งผลให้ระดับน้ำบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ วัดไชโย คลองโผงเผง
จ.อ่างทอง อ.พรหมบุรี เมืองสิงห์บุรี และอินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี คลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา และต.หัวเวียง อ.เสนา ต.ลาดชิด ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 0.20–0.80 เมตร แม่น้ำท่าจีน ได้แก่ อ.เมืองสุพรรณบุรี และสองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี อ.บางเลน และนครชัยศรี จ.นครปฐม แม่น้ำปราจีนบุรี ได้แก่ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี
สถานการณ์อุทกภัย พื้นที่ชุมชน รวม 6 จังหวัด 21 อำเภอ 76 ตำบล 411 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 12,124 ครัวเรือน ดังนี้
จ.เพชรบูรณ์ ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
จ.กำแพงเพชร ปัจจุบันระดับน้ำเพิ่มขึ้น
จ.ตาก ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
จ.กาฬสินธุ์ ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
จ.อุบลราชธานี ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
จ.สมุทรปราการ ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
พื้นที่เกษตรกรรม รวม 18 จังหวัด 399,167 ไร่ ได้แก่ จ.ลำปาง สุโขทัย ตาก เพชรบรูณ์ ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ลพบุรี สระบุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ปราจีนบุรี และจันทบุรี
เมื่อวันที่ 6 ต.ค. 66 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์อุทกภัย พร้อมสั่งการเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย พร้อมทั้งตรวจสถานีตรวจวัดระดับน้ำ (M.7) จ.อุบลราชธานี และเยี่ยมชมรถหน่วยติดตามสถานการณ์น้ำเคลื่อนที่ สทนช. ซึ่งเป็นการสร้างการรับรู้ข่าวสารให้กับประชาชนต่อสถานการณ์น้ำปัจจุบันที่ช่วยให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลข่าวสารสถานการณ์น้ำตามเวลาที่เกิดขึ้นจริง โดยเปิดให้บริการประชาชนตั้งแต่เมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งเปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-20.00 น. จนกว่าสถานการณ์อุทกภัยจะคลี่คลาย