สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 3 ต.ค. 66
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนภาคตะวันออก มีฝนตกหนักมากบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.ตราด (271) จ.พังงา (101) จ.อุบลราชธานี (90) กรุงเทพมหานคร (73) จ.เชียงใหม่ (54) และ จ.ราชบุรี (10)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 51,923 ล้าน ลบ.ม. (63%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 46,521 ล้าน ลบ.ม. (65%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
สทนช. ประกาศ ฉบับที่ 1/2566 เรื่องเฝ้าระวังน้ำหลากดินถล่ม และน้ำล้นตลิ่ง ในช่วงวันที่ 3 – 7 ต.ค. 2566 ดังนี้
1. เฝ้าระวังน้ำหลากดินถล่ม ได้แก่ จ.เชียงใหม่ (อ.จอมทอง แม่แจ่ม อมก๋อย แม่วาง แม่แตง ฝาง ดอยเต่า ฮอด ดอยสะเก็ด และกัลยาณิวัฒนา) จ.ตาก (อ.เมืองตาก ท่าสองยาง สามเงา บ้านตาก แม่ระมาด วังเจ้า อุ้มผาง แม่สอด และพบพระ) จ.กำแพงเพชร (อ.โกสัมพีนคร คลองลาน และปางศิลาทอง) จ.ลำพูน (อ.ลี้ และทุ่งหัวช้าง) จ.แพร่ (อ.วังชิ้น และลอง) จ.ลำปาง (อ.เถิน แม่ทะ เสริมงาม และเกาะคา)
2. เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่งบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ ดังนี้ แม่น้ำวัง ได้แก่ อ.สามเงา และบ้านตาก จ.ตาก แม่น้ำยม ได้แก่ อ.สวรรคโลก ศรีนคร ศรีสำโรง ศรีสัชนาลัย ทุ่งเสลี่ยม และเมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย และ แม่น้ำเจ้าพระยา คาดการณ์จะมีน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ระดับน้ำบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ คลองโผงเผง จ.อ่างทอง คลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา และต.หัวเวียง อ.เสนา ต.ลาดชิด ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 1.00 -1.50 ม.
สทนช. ติดตามการดำเนินการตามมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566ณ ประตูระบายน้ำสารภี ต.วัดโบสถ์ อ.เมืองปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี โดยกรมชลประทานได้เปิดประตูระบายน้ำสารภีเพื่อลดระดับน้ำในทุ่งสารภีที่เข้าท่วมในพื้นที่ เนื่องจากฝนที่ตกหนักในพื้นที่และการรับน้ำจากคลองยาง จ.นครนายก
สทนช. ประชุมคณะกรรมการลุ่มน้ำสะแกกรัง ครั้งที่ 4/2566 เพื่อรับทราบ 1) มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566 เพิ่มเติม เพื่อรองรับสถานการณ์เอลนีโญ 2) สถานการณ์น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำสะแกกรัง 3)ผลความก้าวหน้าการจัดทำแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม/น้ำแล้ง 4) ปฏิทินการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2568 และ 5) การปรับปรุงเป้าหมายโครงการสำคัญด้านทรัพยากรน้ำ ปี 2566-2570 โดยที่ประชุมได้พิจารณา 1) แนวทางการจัดลำดับความสำคัญในการจัดสรรน้ำของลุ่มน้ำสะแกกรัง ระหว่างลำดับที่ (2) ถึง (9) 2) แนวทางการพิจารณาแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ของลุ่มน้ำสะแกกรัง
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 3 ต.ค. 2566 ดังนี้
1. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้ติดตามสถานการณ์น้ำ และวิเคราะห์คาดการณ์จะมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้ล้นตลิ่งบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมลำน้ำ โดยมี พื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวัง ในช่วงวันที่ 3 – 7 ต.ค. 2566 ดังนี้
1.1 เฝ้าระวังน้ำหลากดินถล่ม ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดตาก จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดลำพูน จังหวัดแพร่ และจังหวัดลำปาง
1.2 เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่งบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ ดังนี้ แม่น้ำวัง ได้แก่ จังหวัดตาก แม่น้ำยม ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย แม่น้ำเจ้าพระยา คาดการณ์จะมีน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้น อยู่ในเกณฑ์ 1,200 – 1,400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยจะส่งผลให้ระดับน้ำบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ คลองโผงเผง จังหวัดอ่างทอง คลองบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา ตำบลลาดชิด ตำบลท่าดินแดง อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 1.00 – 1.50 เมตร
2. สภาพอากาศ
บริเวณความกดอากาศสูงปกคลุมประเทศจีนตอนใต้ และร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเวียดนามตอนล่าง ลักษณะเช่นนี้ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง มีฝนตกหนักมากบางแห่งบริเวณภาคตะวันออก
3. ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สนับสนุนเครื่องจักรกลสาธารณภัย พร้อมเจ้าหน้าที่ ร่วมสนับสนุนการระบายน้ำในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองจันทบุรี เขตเทศบาลตำบลท่าช้าง เขตเทศบาลตำบลพลับพลา เทศบาลตำบลพลับพลานารายณ์ เขตเทศบาลตำบลบางกะจะ และเขตเทศบาลเมืองจันทร์นิมิตร จังหวัดจันทบุรี