ศรีลังกาประท้วงการลงทุนของจีน
ผู้ร่วมประท้วงหลายรายได้รับบาดเจ็บจากการประท้วงเพื่อคัดค้านจีนจากการสร้างท่าเรือและนิคมอุตสาหกรรมทางตอนใต้ของศรีลังกา
แผนการสร้างท่าเรือและนิคมอุตสาหกรรมนี้ทำให้เกิดการปะทะจากประชาชนผู้อาศัยอยู่จำนวนมากในละแวกท่าเรือฮัมบันโตตา ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองโคลัมโบ โดยมีอาณาบริเวณมากกว่า 240 ก.ม.
เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้แก๊สน้ำตาในการสลายการชุมนุมประท้วงหลังจากผู้เข้าร่วมในการประท้วงก่อความวุ่นวายจนพิธีการเปิดที่มีนายรานิล วิกรมสิงหะ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานเปิดงานต้องล่าช้าออกไป
เหล่าผู้ประท้วงกล่าวว่า พื้นที่แห่งนี้จะกลายเป็นอาณานิคมของจีนอย่างแน่นอนในอนาคต
รัฐบาลได้ทำข้อตกลงสิ้นสุดสัญญาการเช่าท่าเรือที่มีอายุมากกว่า 99 ปี ก่อนจะยกพื้นที่เหล่านั้นให้กับบริษัทที่จีนเป็นเจ้าของกว่า 80%
ทั้งนี้ บริเวณโดยรอบจะถูกสร้างให้เป็นนิคมอุตสาหกรรมและเป็นที่ตั้งโรงงานสำหรับบริษัทจากประเทศจีนเป็นส่วนใหญ่
รัฐบาลมีแผนให้รายงานว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณท่าเรือจะได้รับที่ดินเพื่ออยู่อาศัยแห่งใหม่
แผนการสร้างท่าเรือนี้เป็นโครงการชิ้นล่าสุดในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของจีนในศรีลังกา
โดยจีนสูบเงินหลายล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐานในประเทศศรีลังกา มายาวนานตั้งแต่ปี 2552 หรือก็คือภายหลังการสิ้นสุดลงของสงครามกลางเมืองกว่า 26 ปีของศรีลังกา
นักวิเคราะห์เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียใต้กล่าวว่า ยุทธศาสตร์สร้อยไข่มุกที่เป็นที่รู้จักของจีนมีจุดประสงค์ที่จะแผ่ขยายอิทธิพลไปทั่วเอเชียใต้ยังเป็นที่ถกเถียงและเป็นที่จับตามองด้วยความสงสัยโดยเฉพาะอินเดียหรือก็คือคู่แข่งสำคัญของจีนภายในภูมิภาคเอเชียใต้
การลงทุนครั้งนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของจีนที่จะสร้างเส้นทางสายไหมทางทะเล เพื่อความสะดวกในการเดินทางเพื่อทำการค้ากับหลายประเทศในตะวันออกกลาง และยุโรปต่อไป.