สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 29 ก.ย. 66
สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 29 ก.ย. 66 เวลา 7.00 น.
ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักหลายพื้นที่และ
มีฝนตกหนักมากบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมาก บริเวณ จ.แพร่ (190 มม.) จ.จันทบุรี (164 มม.) จ.ขอนแก่น (131 มม.) จ.กาญจนบุรี (88 มม.) กรุงเทพมหานคร (76 มม.) จ.ยะลา (53 มม.)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 51,923 ล้าน ลบ.ม. (63%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 46,853 ล้าน ลบ.ม. (66%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กอนช. ประกาศ ฉบับที่ 21/2566 เรื่องเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำบริเวณลุ่มน้ำชี – มูลจากการติดตามสถานการณ์น้ำบริเวณสถานี M.7 อ.เมืองฯ จ.อุบลราชธานี คาดว่าในวันที่ 2 ต.ค. 2566 ระดับน้ำจะล้นตลิ่งต่ำนอกแนวคันกั้นน้ำบริเวณแนวฟันหลอและไหลหลากเข้าท่วมชุมชนที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำริมลำน้ำ จึงขอให้เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมขังบริเวณพื้นที่ด้านท้ายน้ำอ่างเก็บน้ำลำปาว ได้แก่ อ.เมืองกาฬสินธุ์ ยางตลาด กมลาไสย ฆ้องชัย และ ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์ และพื้นที่ลุ่มต่ำริมลำน้ำ ได้แก่ อ.เมืองอุบลราชธานี วารินชำราบ สว่างวีระวงศ์ และพิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
สทนช. ลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็น โครงการจัดทำผังน้ำลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างเมื่อวันที่ 25 – 27 ก.ย. 66 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) จัดการประชุมผังน้ำ ครั้งที่ 2 โครงการจัดทำผังน้ำ ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่าง เวทีที่ 1 ณ ห้องประชุมพญาตานี ชั้น 4 อาคาร 1 เทศบาลเมืองปัตตานี อ.เมืองปัตตานี จ.ปัตตานี เวทีที่ 2 ณ หอประชุมบรมราชกุมารี สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำ จ.นราธิวาส อ.เมืองนราธิวาสจ.นราธิวาส และเวทีที่ 3 ณ หอประชุมพัฒนรัฐ ชั้น 2 ที่ว่าการ อ.เมืองยะลาจ.ยะลา มีผู้เข้าร่วมประชุมจากทุกภาคส่วน ประกอบด้วย คณะกรรมการลุ่มน้ำ คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สื่อมวลชน ประชาชนในพื้นที่ และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อร่วมรับฟังการนำเสนอร่างผังน้ำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียพิจารณา พร้อมแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงร่างผังน้ำและผลการศึกษาพรบ.ทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 ได้กำหนดให้ สทนช. เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการจัดทำผังน้ำ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ปัจจุบัน สทนช. กำลังดำเนินการศึกษา โครงการจัดทำผังน้ำ ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่าง ครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่จ.ปัตตานี จ.นราธิวาส จ.ยะลา และบางส่วนของ จ.สงขลา โดยเป้าหมายการประชุมผังน้ำในพื้นที่ จะนำเสนอให้ทั้งประชาชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้เข้าใจว่าผังน้ำคืออะไร ใช้งานอย่างไร และมีผลกระทบอย่างไรต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยจะให้ข้อมูลและรับฟังความคิดเห็นในลักษณะการสื่อสารทั้ง 2 ทาง ซึ่งการประชุมผังน้ำ ครั้งที่ 2 ได้นำร่างผังน้ำและรายการประกอบฉบับร่าง 2 โดยปรับปรุงหลังจากการประชุมผังน้ำครั้งที่ 1 เมื่อ ก.ค. 66 ได้มานำเสนอรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะระดับจังหวัดในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่าง จากนั้นจะนำข้อเสนอแนะมาพิจารณาร่วมกับผลการศึกษาการจัดทำผังน้ำ และนำเสนอผังน้ำที่จะประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในการประชุม ครั้งที่ 3 ให้ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบโดยทั่วกันสทนช. คาดว่าจะสามารถจัดทำผังน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างให้แล้วเสร็จภาย ธ.ค. 66 เพื่อให้หน่วยงานสามารถนำผังน้ำไปใช้ประกอบการพิจารณาการใช้ที่ดินให้เหมาะสม สอดคล้องกับระบบทางน้ำและใช้ประกอบการบริหารจัดการน้ำในเขตลุ่มน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 29 กันยายน 2566 ดังนี้
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
ตามประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 21/2566 ลงวันที่ 25 กันยายน 2566 เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำบริเวณลุ่มน้ำชี – มูล ในช่วงวันที่ 26 – 28 กันยายน 2566 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำ พบว่า หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง จะเคลื่อนเข้าสู่แนวร่องมรสุมที่พาดผ่านบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น
ทำให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ รวมถึงจากการติดตามสถานการณ์น้ำบริเวณสถานี M.7 อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบัน (วันที่ 25 กันยายน 2566) ระดับน้ำ +112.21 เมตร ระดับทะเลปานกลาง (ม.รทก.) สูงกว่าตลิ่ง 0.21 เมตร จากปริมาณฝนคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) พบว่าในวันที่ 2 ตุลาคม 2566 ระดับน้ำจะอยู่ที่ระดับ +112.84 ม.รทก. (สูงกว่าตลิ่ง 0.84 ม.) ซึ่งปริมาณน้ำจะล้นตลิ่งต่ำนอกแนวคันกั้นน้ำบริเวณแนวฟันหลอและไหลหลากเข้าท่วมชุมชนที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำริมลำน้ำ จึงขอให้เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมขัง บริเวณพื้นที่ด้านท้ายน้ำอ่างเก็บน้ำลำปาว
ได้แก่ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ยางตลาด กมลาไสย ฆ้องชัย และ ร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ และพื้นที่ลุ่มต่ำริมลำน้ำ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี วารินชำราบ สว่างวีระวงศ์ และพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566 กรมชลประทาน ดำเนินการรวบรวมเครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องสูบน้ำ พร้อมเดินหน้ากำจัดวัชพืชรวมทั้ง สิ่งกีดขวางทางน้ำอย่างต่อเนื่อง บริเวณจังหวัดนครปฐม นนทบุรี นครปฐม สมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง และสงขลา เพื่อรักษาความสะอาดและลดปัญหาน้ำเน่าเสีย หวังเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ และเก็บกักน้ำไว้ใช้ฤดูแล้งหน้า เพื่อรับมือปรากฎการณ์เอลนีโญอย่างเต็มศักยภาพ และจัดหาแหล่งน้ำสำรอง ขุดลอกแหล่งน้ำ เพื่อสำรองน้ำในช่วง ปลายฤดูฝนให้ได้มากที่สุด ไว้ใช้ในการอุปโภคบริโภคในช่วงฤดูแล้งที่กำลังจะมาถึง ช่วยบรรเทาและลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชน
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2566 นายชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)
ลงพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม กาฬสินธุ์ และร้อยเอ็ด เพื่อติดตามการดำเนินงานตามมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566 และ
3 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566 เพิ่มเติม เพื่อรับสถานการณ์เอลนีโญ พร้อมแนวทางการบริหารน้ำและผลการศึกษา
แผนหลักแบบบูรณาการเพื่อบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำชีตอนกลาง สทนช. ในฐานะหน่วยงานหลัก
จึงได้บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน เพื่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหาทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำชีตอนกลาง ให้สอดคล้องกับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ20 ปี สามารถแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่อย่างเป็นระบบ มีการขับเคลื่อนงานอย่างเป็นรูปธรรม โดยได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนรวมถึงภาคประชาชน เพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และสร้างความมั่นคงด้านน้ำ