สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 25 ก.ย. 66
สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 25 ก.ย. 66 เวลา 7.00 น.
ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ปรพกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ฉบับที่ 2 (249/2566) (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 26 – 29 กันยายน 2566) หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ได้ทวีกำลังขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันแล้วคาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางในช่วงวันที่ 25 – 26 กันยายน 2566 และจะอ่อนกำลังลง ผ่านประเทศไทยตอนบนตามแนวร่องมรสุมในช่วงวันที่ 26 – 29 กันยายน 2566
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงสูงสุดที่ผ่านมารายภาค มีฝนตกหนักถึงหนักมาก บริเวณ จ.สระบุรี (78) จ.กาญจนบุรี (74) จ.ภูเก็ต (69) จ.ตราด (66) จ.เชียงใหม่ (52) จ.กาฬสินธุ์ (31)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 51,299 ล้าน ลบ.ม. (62%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 45,961 ล้าน ลบ.ม. (64%)
กอนช. ประกาศเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำล้นตลิ่ง และอ่างเก็บน้ำที่มีความเสี่ยง ฉบับที่ 20/2566 ในช่วงวันที่ 25 – 30 ก.ย. 66
พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่มภาคตะวันออก จ.ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้ จ.ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ สุราษฎร์ธานี สตูล ตรัง พัทลุง สงขลา และนครศรีธรรมราช
พื้นที่เสี่ยงน้ำล้นตลิ่งและท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ ริมแม่น้ำแควน้อยแม่น้ำเจ้าพระยา ลำน้ำก่ำ ลำเซบาย แม่น้ำลำปาว ลำน้ำยัง แม่น้ำมูล แม่น้ำตรัง และแม่น้ำตาปี
สทนช.เร่งบริหารจัดการน้ำ ลุ่มน้ำมูลตอนกลาง รับมือภาวะเอลนีโญ
ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ลงพื้นที่อ่างเก็บน้ำห้วยเสนง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ และทะเลสาบทุ่งกุลา เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำและการบริหารจัดการน้ำ และมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566 ของจังหวัดสุรินทร์ พร้อมแก้ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งซ้ำซาก พบว่า ในพื้นที่ลุ่มน้ำมูลตอนกลาง มี 3 ปัญหา คือน้ำท่วม
น้ำแล้ง และคุณภาพน้ำในบางพื้นที่ รวมไปถึงจังหวัดร้อยเอ็ดและมหาสารคาม บางส่วน ในขณะเดียวกันได้พิจารณาแหล่งน้ำ ระบบประปา ที่ยังไม่ทั่วถึงโครงการทะเลสาบทุ่งกุลา ต.ไพรเขลา อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์เป็นโครงการต้นแบบของการพัฒนาแก้มลิง ใช้สำหรับรองรับน้ำจากโครงการผันน้ำเพื่อการบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำมูลตอนกลาง และการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในพื้นที่ดอนและพื้นที่ห่างไกลแหล่งน้ำในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งกรมชลประทานได้ดำเนินการขุดลอกพื้นที่ทำเป็นแก้มลิงกักเก็บน้ำไว้ใช้แก้ปัญหาความแห้งแล้ง ตั้งแต่ปี 2550 โดยขุดพื้นที่กว่า 750 ไร่ จัดเป็นแก้มลิงขนาดใหญ่ที่รายล้อมไปด้วยไร่นา สามารถเก็บกักน้ำได้ 1.9 แสน ลบ.ม. ปัจจุบันสามารถพัฒนาเป็นแหล่งรองรับน้ำเชื่อมโยงกับโครงการผันน้ำจากลุ่มน้ำมูลตอนกลางได้เป็นอย่างดี โดยสทนช.จะใช้โครงการทะเลสาบทุ่งกุลานี้เป็นต้นแบบนำไปขยายผลเพิ่มแหล่งเก็บกักน้ำให้ครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำมูลตอนกลาง พัฒนาศักยภาพพื้นที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไปอ่างเก็บน้ำห้วยเสนง เป็นแหล่งเก็บน้ำที่สำคัญของจังหวัด สุรินทร์เพื่อเป็นแหล่งน้ำดิบอุปโภคบริโภค ผลิตน้ำประปาให้กับชุมชนเมือง ซึ่งเป็นการบริหารจัดการร่วมกันกับอ่างเก็บน้ำอำปึล ซึ่งก็มีปริมาณน้ำพอสมควร แต่ต้องไม่ประมาทกับสถานการณ์เอลนิโญไปอีก 2 ปี จึงต้องมีการบริหารจัดการน้ำอย่างดี ไม่เฉพาะช่วงฤดูแล้งปีนี้อย่างเดียว แนวโน้มปริมาณฝนปีหน้าจะน้อย ดังนั้นจึงอยากขอประชาชน รณรงค์ การประหยัดน้ำ และทุกภาคส่วนร่วมกันสร้างความรับรู้ให้ประชาชนเข้าใจการบริหารน้ำรองรับเอลนิโญ จนไปถึงปี 2567 ด้วย
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 25 กันยายน 2566 ดังนี้
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
ตามประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 20/2566 ลงวันที่ 21 กันยายน 2566 เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำล้นตลิ่ง และอ่างเก็บน้ำที่มีความเสี่ยง ในช่วงวันที่ 25 – 30 กันยายน 2566 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำ พบว่าร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก
และภาคใต้ตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่งในภาคกลางภาคตะวันออก โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากในภาคใต้ พบว่ามีพื้นที่เฝ้าระวัง ดังนี้ 1. พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่ม ในบริเวณพื้นที่ภาคตะวันออก จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด ในบริเวณพื้นที่ภาคใต้ จังหวัดชุมพร จังหวัดระนอง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ตจังหวัดกระบี่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดสตูล
จังหวัดตรัง จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา และจังหวัดนครศรีธรรมราช 2. พื้นที่เสี่ยงน้ำล้นตลิ่งและท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำแควน้อย จังหวัดพิษณุโลก แม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา ลำน้ำก่ำ จังหวัดนครพนม ลำเซบาย จังหวัดยโสธร แม่น้ำลำปาว อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ลำน้ำยัง อำเภอโพนทอง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด แม่น้ำมูล จังหวัดอุบลราชธานี แม่น้ำตรัง จังหวัดตรัง
และแม่น้ำตาปี จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ 3. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่มีปริมาตรน้ำสูงกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำกักเก็บสูงสุด (Upper Rule Curve) จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล อ่างเก็บน้ำห้วยหลวง อ่างเก็บน้ำน้ำพุง อ่างเก็บน้ำน้ำอูน และหนองหาร อ่างเก็บน้ำลำปาว อ่างเก็บน้ำขนาดกลางและขนาดเล็ก
ที่มีปริมาตรน้ำมากกว่าร้อยละ 80 และมีแนวโน้ม เพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำล้นกระทบพื้นที่บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำ
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566 กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ดำเนินการปฏิบัติการฝนหลวง เพื่อเติมน้ำต้นทุนอ่างเก็บน้ำ 32 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำแม่กวงอุดมธารา อ่างเก็บน้ำกิ่วคอหมา อ่างเก็บน้ำกิ่วลม อ่างเก็บน้ำสิริกิติ์ อ่างเก็บน้ำคลองตรอน อ่างเก็บน้ำป่าสักชลสิทธิ์ บึงบอระเพ็ด อ่างเก็บน้ำศรีนครินทร์ อ่างเก็บน้ำวชิราลงกรณ อ่างเก็บน้ำห้วยกระพร้อย อ่างเก็บน้ำกระเสียว อ่างเก็บน้ำ ลำตะเพิน อ่างเก็บน้ำห้วยท่าเดื่อ อ่างเก็บน้ำลำตะคอง อ่างเก็บน้ำหนองกรองแก้ว อ่างเก็บน้ำดอกกราย อ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล อ่างเก็บน้ำประแสร์ อ่างเก็บน้ำหนองค้อ อ่างเก็บน้ำบางพระ อ่างเก็บน้ำบ้านสวนผึ้ง อ่างเก็บน้ำตะเคียนทอง อ่างเก็บน้ำหนองตาตั้ง อ่างเก็บน้ำห้วยท่าเคย อ่างเก็บน้ำบ้านโป่งกระทิง อ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน อ่างเก็บน้ำ ห้วยแม่ประจันต์ อ่างเก็บน้ำห้วยเกษม อ่างเก็บน้ำห้วยไทรงาม อ่างเก็บน้ำห้วยมงคล และอ่างเก็บน้ำปราณบุรี
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ลงพื้นที่อ่างเก็บน้ำห้วยเสนงอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ และทะเลสาบทุ่งกุลา เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำและการบริหารจัดการน้ำ และมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566 ของจังหวัดสุรินทร์ พร้อมแก้ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งซ้ำซาก พบว่า ในพื้นที่ลุ่มน้ำมูลตอนกลาง มี 3 ปัญหา คือน้ำท่วม น้ำแล้ง และคุณภาพน้ำในบางพื้นที่