สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 9 ก.ย. 66
ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.พิษณุโลก (131) จ.มุกดาหาร (88) จ.ตราด (84) จ.ประจวบคีรีขันธ์ (48) จ.สงขลา (39) และ จ.สระบุรี (23)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 45,497 ล้าน ลบ.ม. (55%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 40,773 ล้าน ลบ.ม. (57%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ดำเนินการซ่อมบำรุงระบบประปาบาดาลโครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อความมั่นคงระดับชุมชน รูปแบบที่ 2 ในพื้นที่ ต.บ่อพลอย อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ พื้นที่ 120ไร่ ประจำปี ในพื้นที่ ต.ทุ่งกระบ่ำ อ.เลาขวัญ จ.กาญจนบุรี
กอนช. ประกาศเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ฉบับที่ 17/2566 ในช่วงวันที่ 5-10 ก.ย. 66 บริเวณ ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก แพร่ น่าน พิษณุโลก เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ และกำแพงเพชร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.เลย ชัยภูมิ มุกดาหาร นครพนม และนครราชสีมา ภาคตะวันออก จ.ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด ภาคกลาง จ.อุทัยธานี และกาญจนบุรี ภาคใต้ จ.นครศรีธรรมราช ระนอง และภูเก็ต และเฝ้าพื้นที่เสี่ยงระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ ริมแม่น้ำน่านและลำน้ำสาขา จ.น่าน
สทนช.ร่วมประชุมระดับนานาชาติด้านน้ำ แม่โขง-เกาหลี ครั้งที่ 2
วานนี้ (8 ก.ย. 66) นายชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นผู้แทนรัฐบาลไทยเข้าร่วมการประชุมระดับนานาชาติด้านน้ำ แม่โขง-เกาหลี ครั้งที่ 2 (2nd Mekong-Korea International Water Forum: 2nd MKWF) ณ สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ร่วมกันอภิปรายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อหารือเกี่ยวกับประเด็นน้ำ แนวทางแก้ไขและการขยายความร่วมมือกับหุ้นส่วนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของประเทศลุ่มน้ำโขง ในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในลุ่มน้ำโขงตอนล่างและบูรณาการเครือข่ายความร่วมมือที่มีอยู่และเทคโนโลยีนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาแนวทางการดำเนินการด้านน้ำที่มีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้เรียกร้องให้ทุกฝ่ายให้ความสำคัญ 1) การบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ เพื่อป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยกระดับความมั่นคงด้านน้ำในลุ่มน้ำข้ามพรมแดน และใช้ Nature-based solutions เป็นเครื่องมือหนึ่งในการบริหารจัดการ นำไปสู่สังคมคาร์บอนเป็นกลาง 2) งบประมาณด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เน้นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดการปล่อยคาร์บอนน้อยลง ทั้งนี้ การสนับสนุนทางการเงินยังช่วยสนับสนุนการส่งถ่ายเทคโนโลยีจากประเทศที่มีความก้าวหน้ามากกว่าไปยังประเทศผู้รับได้อีกทางหนึ่ง และ 3) การแบ่งปันข้อมูล โดยให้มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างโปร่งใส เพื่อก่อให้เกิดการเติบโตอย่างเท่าเทียมและครอบคลุมนอกจากนี้ ประเทศสมาชิกแม่น้ำโขงควรต้องให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกันเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศลุ่มน้ำ โดยมีการยกร่างแผนการดำเนินงานร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 9 กันยายน 2566 ดังนี้
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
ตามประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 17/2566 ลงวันที่ 3 กันยายน 2566 แจ้งเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ด้วย กอนช. ได้ติดตามสภาพอากาศ พบว่าร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบนของประเทศไทย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรง ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในช่วงวันที่ 5 – 10 กันยายน 2566 มีพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่ม ดังนี้ ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภออมก๋อย) จังหวัดแม่ฮ่องสอน (อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน)จังหวัดตาก (อำเภอท่าสองยาง อุ้มผาง แม่สอด แม่ระมาด และพบพระ) จังหวัดแพร่ (อำเภอร้องกวาง) จังหวัดน่าน(อำเภอปัว บ่อเกลือ เชียงกลาง ทุ่งช้าง ท่าวังผา เฉลิมพระเกียรติ และสองแคว) จังหวัดพิษณุโลก (อำเภอนครไทยและเนินมะปราง) จังหวัดเพชรบูรณ์ (อำเภอเขาค้อ และเมืองเพชรบูรณ์) จังหวัดอุตรดิตถ์ (อำเภอน้ำปาด)จังหวัดกำแพงเพชร (อำเภอคลองลาน) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดเลย (อำเภอภูเรือ) จังหวัดชัยภูมิ(อำเภอหนองบัวแดง) จังหวัดมุกดาหาร (อำเภอหว้านใหญ่ และอำเภอเมืองมุกดาหาร) จังหวัดนครพนม (อำเภอธาตุพนม) จังหวัดนครราชสีมา (อำเภอปากช่อง) ภาคตะวันออก จังหวัดฉะเชิงเทรา (อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา บ้านโพธิ์ บางน้ำเปรี้ยว และบางปะกง) จังหวัดนครนายก (อำเภอปากพลี และองครักษ์) จังหวัดปราจีนบุรี (อำเภอประจันตคาม และบ้านสร้าง) จังหวัดจันทบุรี (อำเภอขลุง และแหลมสิงห์) จังหวัดตราด (อำเภอคลองใหญ่ เกาะกูด เกาะช้าง เขาสมิง แหลมงอบ และบ่อไร่) ภาคกลาง จังหวัดอุทัยธานี (อำเภอบ้านไร่) จังหวัดกาญจนบุรี (อำเภอทองผาภูมิ) ภาคใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช
(อำเภอฉวาง และพิปูน) จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง) จังหวัดภูเก็ต (อำเภอเมืองภูเก็ต และถลาง)
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
กรุงเทพมหานคร ดำเนินการตรวจสอบและสกัดผิวจราจรขุดวางท่อพีวีซีขนาด 8 นิ้ว เชื่อมต่อแนวรางคัตเตอร์ เพื่อเป็นการรองรับน้ำท่วมขังในผิวจราจรบริเวณถนนพระรามที่ 3 ช่วงปากซอย 52 ใกล้คลองตาห่วง พื้นที่เขตยานนาวา
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
วานนี้ (8 ก.ย. 66) นายชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ผู้แทน
รัฐบาลไทยเข้าร่วมการประชุมระดับนานาชาติด้านน้ำ แม่โขง-เกาหลี ครั้งที่ 2 ณ สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) โดยที่ประชุมได้มีข้อเรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมาให้ความสำคัญต่อ 1) การบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ เพื่อป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผ่านการวางกลยุทธ์โดยคำนึงถึงแนวทางการพัฒนาของแต่ละประเทศเป็นสำคัญ และใช้ Nature-based solutions เป็นเครื่องมือหนึ่งในการบริหารจัดการ นำไปสู่สังคมคาร์บอน
เป็นกลาง 2) งบประมาณด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เน้นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และ 3) การแบ่งปันข้อมูล โดยให้มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างโปร่งใส นอกจากนี้ ประเทศสมาชิกแม่น้ำโขงควรต้องให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกันเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศลุ่มน้ำ โดยมีการยกร่างแผนการดำเนินงานร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมด้วย