สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 31 ก.ค. 66
ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกปานกลางถึงหนักมากบริเวณ จ.บึงกาฬ (150) จ.กาญจนบุรี (115) จ.จันทบุรี (104)
จ.สตูล (99) จ.เชียงราย (76) จ.ปทุมธานี (28)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 40,929 ล้าน ลบ.ม. (50%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 36,330 ล้าน ลบ.ม. (51%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร (29 ก.ค. 66) ปฏิบัติการฝนหลวง ทำให้มีฝนตกเล็กน้อยบริเวณ ในพื้นที่ จ.สุรินทร์ (อ.ท่าตูม และรัตนบุรี) จ.ยโสธร (อ.ป่าติ้ว และไทยเจริญ) จ.อำนาจเจริญ (อ.เมืองอำนาจเจริญ) และในพื้นที่ลุ่มรับน้ำอ่างเก็บน้ำประแสร์ อ่างเก็บน้ำคลองระโอก จ.ระยอง อ่างเก็บน้ำคลองศาลทราย จ.จันทบุรี
กอนช. ประกาศ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ฉบับที่ 12/2566 ในช่วงวันที่ 29 ก.ค. – 2 ส.ค. 66 ดังนี้ ภาคเหนือ จ.ตาก และอุทัยธานี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ชัยภูมิ หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคตะวันออก จ.ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้ จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช
สทนช. ลงพื้นที่แก้ปัญหาน้ำท่วม จังหวัดสมุทรปราการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำเชื่อมต่อกรุงเทพมหานครวานนี้ (30 ก.ค. 66) ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการ สทนช.
ในฐานะรองผู้อำนวยการ กอนช. ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำพื้นที่คลองสำโรง ณ จ.สมุทรปราการ พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่กรมชลประทาน จ.สมุทรปราการ กทม.และผู้แทนจาก ทต.สำโรงเหนือ ด่านสำโรง ปู่เจ้า และบางเมือง พบว่าในช่วงฤดูฝนแต่ละปีพื้นที่จ.สมุทรปราการ มักประสบปัญหาน้ำท่วมขังรอการระบายจากฝนที่ตก
ในพื้นที่ แผ่นดินทรุด รวมถึงน้ำทะเลหนุนสูง โดยเฉพาะพื้นที่เศรษฐกิจ และเส้นทางคมนาคมหลัก จุดเชื่อมต่อการระบายน้ำต่างๆ ยังทำได้ไม่ดีหากมีปริมาณฝนตกมาก ซึ่งในส่วนแผนงานโครงการการพัฒนาแผนหลักการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ มีความเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงานดังนั้น สทนช.จะเร่งบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การบริหารจัดการน้ำและเร่งระบายน้ำของ จ.สมุทรปราการ ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาออกสู่ทะเลให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาระยะสั้น ซี่งในช่วงที่ผ่านมาในพื้นที่นี้ประสบปัญหาน้ำท่วมขัง เช่น ชุมชนย่านแบริ่งถ.ศรีนครินทร์ เป็นต้น ส่งผลกระทบกับพี่น้องประชาชนและการสัญจรเบื้องต้นได้มอบหมายให้กรมชลประทาน และจังหวัดร่วมกันพิจารณาการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำคลองสำโรงเพื่อให้การระบายน้ำได้เร็วขึ้น ทั้งนี้
ยังมีสถานีสูบน้ำคลองสำโรงที่รับน้ำจากพื้นที่ กทม. ซึ่งเครื่องสูบน้ำที่มีอยู่ 25 เครื่องขณะนี้มีประสิทธิภาพใช้งานได้ แต่ยังมีหลายจุดที่ยังเป็นข้อจำกัดและอุปสรรคต่อการระบายน้ำ โดย สทนช. จะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับแผนงานที่สามาถดำเนินการได้ทันทีในช่วงฝนนี้ก่อน คู่ขนานไปกับการพิจารณาแนวทางที่ทำให้เกิดความยั่งยืนมากขึ้น
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 ดังนี้
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
ตามประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 12/2566 ลงวันที่ 24 ก.ค. 2566 กอนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์พบพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน ในช่วงวันที่ 28 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม 2566 โดยมีผลกระทบกับ ภาคเหนือ จังหวัดตาก (อำเภออุ้มผาง) จังหวัดอุทัยธานี (อำเภอบ้านไร่) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดชัยภูมิ (อำเภอเกษตรสมบูรณ์) จังหวัดหนองคาย (อำเภอเมืองหนองคาย) จังหวัดบึงกาฬ (อำเภอเซกา และบึงโขงหลง) จังหวัดนครพนม (อำเภอท่าอุเทน และศรีสงคราม) จังหวัดสกลนคร (อำเภอโคกศรีสุพรรณ) จังหวัดร้อยเอ็ด (อำเภอเสลภูมิ และโพนทอง) จังหวัดบุรีรัมย์ (อำเภอนางรอง) จังหวัดสุรินทร์ (อำเภอชุมพลบุรี) จังหวัดศรีสะเกษ (อำเภอภูสิงห์ ขุขันธ์ ขุนหาญ
และปรางค์กู่) จังหวัดอุบลราชธานี (อำเภอบุณฑริก) ภาคตะวันออก จังหวัดฉะเชิงเทรา (อำเภอท่าตะเกียบ) จังหวัดชลบุรี (อำเภอบ่อทอง) จังหวัดระยอง (อำเภอเขาชะเมา บ้านค่าย แกลง และบ้านฉาง) จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี ขลุง มะขาม เขาคิชฌกูฏ ท่าใหม่ โป่งน้ำร้อน แก่งหางแมว และนายายอาม) จังหวัดตราด (อำเภอเมืองตราด บ่อไร่ เกาะช้าง แหลมงอบ และเขาสมิง) ภาคใต้ จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง กะเปอร์ และกระบุรี) จังหวัดพังงา (อำเภอเมืองพังงา คุระบุรี ตะกั่วป่า และท้ายเหมือง) จังหวัดภูเก็ต (อำเภอเมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง) จังหวัดกระบี่ (อำเภอเมืองกระบี่) จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อำเภอบ้านตาขุน และพนม) จังหวัดนครศรีธรรมราช (อำเภอช้างกลาง)
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
เมื่อวันที่ 29 ก.ค. 66 กรมทรัพยากรน้ำ ร่วมกับ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) และสภาวิศวกร ลงพื้นที่โครงการฝายน้ำล้นห้วยน้ำลาย ต.ชัยพฤกษ์ อ.เมืองเลย จ.เลย เพื่อตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยของอาคารและสิ่งปลูกสร้างด้านแหล่งน้ำเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงและบำรุงรักษาให้มีใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
เมื่อวันที่ 30 ก.ค. 66 ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามสถานการณ์น้ำพื้นที่คลองสำโรงจ.สมุทรปราการ ซึ่งจากการลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบความพร้อมระบบระบายน้ำในพื้นที่ จ.สมุทรปราการ ทั้งจุดสถานี
คลองสำโรง คลองมหาวงศ์ และคลองพระองค์ไชยานุชิต พบว่า มีความพร้อมในเรื่องเครื่องจักรเครื่องมือเพื่อเร่งระบายน้ำหากเกิดมีฝนตกลงมาในปริมาณมาก แต่ยังมีหลายจุดที่ยังมีข้อจำกัดและอุปสรรคต่อการระบายน้ำ สทนช.จะเร่งดำเนินการพิจารณาแผนงานโครงการ เพื่อประสานหน่วยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องปรับแผนงานที่สามารถดำเนินการได้ทันทีในช่วงฝนนี้ก่อน คู่ขนานไปกับการพิจารณาแนวทางที่ทำให้เกิดความยั่งยืนมากขึ้น