สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 22 ก.ค.66
ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงสูงสุดที่ผ่านมารายภาค มีฝนตกหนักถึงหนักมาก จ.พังงา (145) จ.ชัยภูมิ (138) จ.ตราด (119) กรุงเทพมหานคร (86) จ.สุโขทัย (69) และ จ.กาญจนบุรี (32)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 40,375 ล้าน ลบ.ม. (49%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 35,922 ล้าน ลบ.ม. (50%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กอนช. ได้คาดการณ์ปริมาณน้ำในพื้นที่แม่น้ำโขงตอนล่าง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนี้สถานีเชียงแสน จ.เชียงราย คาดการณ์ระดับน้ำจะเพิ่มขึ้นสูงสุด ในช่วงวันที่ 23-25 ก.ค. 66 ประมาณ 1.20-1.60 เมตร แต่ยังคงต่ำกว่าระดับตลิ่งสถานีเชียงคาน จ.เลย คาดการณ์ระดับน้ำจะเพิ่มขึ้นสูงสุด ในช่วงวันที่25 – 27 ก.ค. 66 ประมาณ 0.80-1.50 เมตร แต่ยังคงต่ำกว่าระดับตลิ่งสถานีหนองคาย จ.หนองคาย จนถึง สถานีโขงเจียม จ.อุบลราชธานี คาดการณ์ระดับน้ำจะเพิ่มขึ้นสูงสุดในช่วงวันที่ 26 – 30 ก.ค. 66 ประมาณ 1.00 -1.50 เมตร แต่ยังคงต่ำกว่าระดับตลิ่ง
สทนช. เปิดเวทีถกองค์กรผู้ใช้น้ำทั่วประเทศนัดแรกเร่งสร้างความเข้มแข็งองค์กรผู้ใช้น้ำทั้ง 22 ลุ่มน้ำดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างความเข้มแข็งองค์กรผู้ใช้น้ำระดับประเทศ โดย สทนช. ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งองค์กรผู้ใช้น้ำสามารถดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตามหน้าที่และอำนาจที่กำหนดตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 มีตัวแทนองค์กรผู้ใช้น้ำของทั้ง 22 ลุ่มน้ำที่จดทะเบียนแล้วครอบคลุม 3 ภาคองค์กรผู้ใช้น้ำ ซึ่งปัจจุบันมีการจดทะเบียนแล้วรวมทั้งสิ้น 3,469 องค์กร เข้ามาร่วมระดมความคิดเห็น เสนอแนะแนวทางในการดำเนินกิจกรรมองค์กรผู้ใช้น้ำ ร่วมกับ สทนช. ที่ทำหน้าที่สร้างการรับรู้ สร้างความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ขององค์กรผู้ใช้น้ำสทนช. จะรวบรวมผลสรุปที่ได้จากการประชุมครั้งนี้ นำไปจัดทำแผนยุทธศาสตร์เสริมสร้างความเข้มแข็งองค์กรผู้ใช้น้ำเพื่อนำไปใช้บริหารจัดการน้ำในพื้นที่ต่อไป ซึ่งการประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างความเข้มแข็งฯ จะดำเนินการอย่างต่อเนื่องในรูปแบบของการจัดกิจกรรมส่งเสริมองค์ความรู้ รวมถึงกำหนดหน่วยงานพี่เลี้ยงให้องค์กรผู้ใช้น้ำสามารถดำเนินกิจกรรมตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.น้ำฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และเกิดความเข้มแข็งในการบริหารจัดการน้ำในประเทศการประชุมครั้งนี้มีประเด็นสำคัญที่ได้หารือร่วมกัน อาทิ การพิจารณากรอบแนวทางวิธีการของการจัดตั้งกองทุน เพื่อให้มีช่องทางงบประมาณเข้ามาเสริมด้านการพัฒนาแหล่งน้ำได้อย่างต่อเนื่องนำไปสู่ความยั่งยืน การพิจารณากำหนดวันองค์กรผู้ใช้น้ำแห่งชาติ เพื่อให้เป็นวันสำคัญในการสร้างขวัญกำลังใจ หรือกิจกรรมพิเศษให้กับองค์กรผู้ใช้น้ำ ซึ่งหากกำหนดวันที่ชัดเจนแล้วจะได้มีการเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบโดยเร็วต่อไป
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 22 กรกฎาคม 2566 ดังนี้
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
นายชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และคณะ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำจังหวัดบุรีรัมย์และการเตรียมความพร้อมรับมือฤดูฝนปี 66 พร้อมทั้งติดตามความก้าวหน้าโครงการศึกษาแผนหลักแบบบูรณาการเพื่อการบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้ง พื้นที่เฉพาะ (Area Based) มูลตอนกลาง ณ อ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มากอ.เมือง จ.บุรีรัมย์ และได้กำชับให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งดำเนินการตามมาตรการรับมือฤดูฝนปี 66ทั้ง 12 มาตรการอย่างเคร่งครัด และกำชับทุกหน่วยงานเตรียมแผนการรับมือ หากเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงจากสถานการณ์เอลนีโญเพื่อให้แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนให้ทันกับสถานการณ์
สภาพอากาศ
ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างความเข้มแข็งองค์กรผู้ใช้น้ำระดับประเทศ ณ โรงแรมอลิซาเบธ กรุงเทพมหานคร ซึ่งทาง สทนช.ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งองค์กรผู้ใช้น้ำสามารถดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตามหน้าที่และอำนาจที่กำหนดตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 โดยครั้งนี้ถือว่าเป็นการประชุมองค์กรผู้ใช้น้ำระดับประเทศครั้งแรก โดยมีตัวแทนองค์กรผู้ใช้น้ำของทั้ง 22 ลุ่มน้ำที่จดทะเบียนแล้วครอบคลุม 3 ภาคองค์กรผู้ใช้น้ำ ซึ่งปัจจุบันมีการจดทะเบียนแล้วรวมทั้งสิ้น 3,469 องค์กร แบ่งเป็น ภาคเกษตรกรรม 2,934 องค์กร ภาคอุตสาหกรรม 270 องค์กร และภาคพาณิชยกรรม 265 องค์กร เข้ามาร่วมระดมความคิดเห็นเสนอแนะแนวทางในการดำเนินกิจกรรมองค์กรผู้ใช้น้ำ ร่วมกับ สทนช. ที่ทำหน้าที่สร้างการรับรู้ สร้างความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ขององค์กรผู้ใช้น้ำ
การคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลากดินถล่มล่วงหน้า 3 วัน
สทนช. ได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องและวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยล่วงหน้า 3 วัน พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงน้ำหลากดินถล่ม ดังนี้ จังหวัดสุรินทร์ (อำเภอชุมพลบุรี) จังหวัดจันทบุรี (อำเภอขลุง, เมืองจันทบุรี, เขาคิชฌกูฏ, มะขาม, ท่าใหม่, โป่งน้ำร้อน) จังหวัดตราด (อำเภอเมืองตราด เกาะช้าง บ่อไร่ แหลมงอบ เขาสมิง) จังหวัดระยอง (อำเภอบ้านค่าย)จังหวัดชุมพร (อำเภอเมืองชุมพร) จังหวัดสตูล (อำเภอควนกาหลง) จังหวัดพังงา (อำเภอเมืองพังงา, คุระบุรี, ตะกั่วป่า,ท้ายเหมือง) จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง, กะเปอร์, กระบุรี, สุขสำราญ, ละอุ่น) จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อำเภอพนม)