สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 6 ก.ค. 66
ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.ปทุมธานี (67) จ.อุดรธานี (52) จ.น่าน (48) จ.พัทลุง (48) จ.เพชรบุรี (44) และ จ.ฉะเชิงเทรา (30)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 40,836 ล้าน ลบ.ม. (50%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 36,374 ล้าน ลบ.ม. (51%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำในช่วง 1-3 วัน ได้แก่ อ.เมืองมุกดาหาร จ.มุกดาหาร และ อ.บุ่งคล้า จ.บึงกาฬ
กรุงเทพมหานครร่วมกับกรมราชทัณฑ์ ดำเนินการล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำ เพื่อเตรียมพร้อมความพร้อมรับมือสถานการณ์ฝน และเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ ในพื้นที่เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ เขตดินแดง เขตราษฎร์บูรณะ และเขตลาดกระบัง
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ติดตามสถานการณ์น้ำปัจจุบันพร้อมประกาศเฝ้าระวังระดับน้ำบริเวณลำน้ำยัง และเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก เนื่องจากอิทธิพลมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรง ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย กอนช. ได้ประเมินสถานการณ์และออกประกาศเฝ้าระวัง ดังนี้ประกาศ ฉบับที่ 7/2566 เฝ้าระวังระดับน้ำบริเวณลำน้ำยัง ในช่วงวันที่ 6–7 ก.ค. 66 กอนช. ติดตามปริมาณฝนตกบริเวณต้นน้ำลุ่มน้ำยัง อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ มีปริมาณฝนตกสะสม 243 มม. และติดตามสถานการณ์น้ำที่สถานีวัดน้ำ (E.92) บ้านท่างาม อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด ณ วันที่ 5 ก.ค. 66 เวลา 10.00 น. มีระดับน้ำสูงขึ้นอยู่ที่ +132.55 ม. จากระดับทะเลปานกลาง ต่ำกว่าระดับตลิ่งอยู่ –0.75 ม. ปริมาณน้ำไหลผ่าน 122.25 ลบ.ม. /วินาที คาดการณ์ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเอ่อล้นสูงกว่าตลิ่งประมาณ 0.30- 0.50 ม. ไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำนอกเขตพนังกั้นน้ำ ริมสองฝั่งของลำน้ำยัง บริเวณ อ.เสลภูมิ และโพนทอง จ.ร้อยเอ็ดประกาศฉบับที่ 8/2566 เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 8–11 ก.ค. 66 กอนช. ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลากและเสี่ยงดินถล่มบริเวณต้นน้ำจากกรมทรัพยากรน้ำและกรมทรัพยากรธรณี พบพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินถล่ม และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน ในช่วงวันที่ 8–11 ก.ค. 66 ดังนี้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.อุบลราชธานี (อ.โขงเจียม และสิรินธร) จ.มุกดาหาร (อ.เมืองมุกดาหาร และหว้านใหญ่) จ.นครพนม (อ.เมืองนครพนม และธาตุพนม)
ภาคตะวันออก จ.ระยอง (อ.นิคมพัฒนา เขาชะเมา แกลง และบ้านค่าย) จ.จันทบุรี (อ.เมืองจันทบุรี ขลุง เขาคิชฌกูฏ ท่าใหม่ มะขาม และแก่งหางแมว) จ.ตราด (อ.บ่อไร่ และเมืองตราด)
ภาคใต้ จ.ระนอง (อ.เมืองระนอง และกะเปอร์) จ.ตรัง (อ.หาดสำราญ กันตัง วังวิเศษ ย่านตาขาว เมืองตรัง และห้วยยอด) จ.กระบี่ (อ.เกาะลันตา) จ.พังงา (อ.ตะกั่วป่า และกะปง) จ.สตูล (อ.ทุ่งหว้า มะนัง ท่าแพ และควนกาหลง) จ.พัทลุง (อ.ป่าบอน)
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 6 กรกฎาคม 2566 ดังนี้
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
1.1 ตามประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 7/2566 ลงวันที่ 5 ก.ค. 2566 กอนช. ได้ติดตามปริมาณฝนตกบริเวณต้นน้ำลุ่มน้ำยัง อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ และสถานีวัดน้ำ E.92 บ้านท่างาม อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด ณ วันที่ 5 ก.ค. 2566 มีระดับน้ำ ต่ำกว่าระดับตลิ่งอยู่ – 0.75 เมตร คาดการณ์ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเอ่อล้น สูงกว่าตลิ่งประมาณ 0.30 – 0.50 เมตร เฝ้าระวังระดับน้ำบริเวณลำน้ำยัง ไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำนอกเขตพนังกั้นน้ำ ริมสองฝั่งของลำน้ำยัง บริเวณอำเภอเสลภูมิ และโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ดในช่วงวันที่ 6 – 7 ก.ค. 25661.2 ตามประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 8/2566 ลงวันที่ 5 ก.ค. 2566 กอนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์พบพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินถล่ม และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน ในช่วงวันที่ 8 – 11 ก.ค. 2566 โดยมีผลกระทบกับ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี (อำเภอโขงเจียมและสิรินธร) จังหวัดมุกดาหาร (อำเภอเมืองมุกดาหาร และหว้านใหญ่) จังหวัดนครพนม (อำเภอเมืองนครพนม และธาตุพนม) ภาคตะวันออก จำนวน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระยอง (อำเภอนิคมพัฒนา เขาชะเมา แกลง และบ้านค่าย) จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี ขลุง เขาคิชฌกูฏ ท่าใหม่ มะขาม และแก่งหางแมว) จังหวัดตราด (อำเภอบ่อไร่และเมืองตราด) และภาคใต้ จำนวน 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระนอง(อำเภอเมืองระนอง และกะเปอร์) จังหวัดตรัง(อำเภอหาดสำราญ กันตัง วังวิเศษ ย่านตาขาว เมืองตรัง และห้วยยอด) จังหวัดกระบี่ (อำเภอเกาะลันตา) จังหวัดพังงา (อำเภอตะกั่วป่า และกะปง) จังหวัดสตูล (อำเภอทุ่งหว้า มะนัง ท่าแพ และควนกาหลง) จังหวัดพัทลุง (อำเภอป่าบอน)
สภาพอากาศ
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยและอ่าวไทย ในขณะที่ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
กรมชลประทาน เตรียมการรับมือฝนที่ตกหนักในพื้นที่ลุ่มน้ำยังตอนบน โดยคาดการณ์ว่าปริมาณน้ำไหลผ่านลำน้ำยังที่สถานี E.92 อำเภอเสลภูมิ จะอยู่ในเกณฑ์ประมาณ 250 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งคาดว่าน้ำอาจจะล้นตลิ่งได้จึงได้สั่งการให้โครงการชลประทานในพื้นที่ ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด พร้อมตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของอาคารชลประทาน รวมถึงการเตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก ความพร้อมของบุคลากร เครื่องจักร เครื่องมือ และระบบสื่อสารสำรอง ให้สามารถเข้าไปช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที