สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 25 มิ.ย. 66
ประเทศไทยมีฝนลดลงแต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกปานกลางถึงหนักบริเวณ จ.เชียงราย (83) จ.จันทบุรี (74) จ.บึงกาฬ (70) จ.สตูล (54) จ.ลพบุรี (28) จ.กาญจนบุรี (25)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 41,224 ล้าน ลบ.ม. (50%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 36,817 ล้าน ลบ.ม. (51%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำหลากช่วง 1-3 วัน ดังนี้ บริเวณ จ.ตาก
กรมฝนหลวงและการบินเกษตร มีการปฏิบัติการฝนหลวง ประจำวันที่ 24 มิ.ย. 66 ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร จำนวน 19 จังหวัด ได้แก่จ.พิษณุโลก เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ ชัยนาท สิงห์บุรี อุทัยธานี นครสวรรค์ ลพบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา เลย ขอนแก่น หนองบัวลำภู กาฬสินธุ์ มหาสารคาม เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ช่วยเติมน้ำต้นทุนให้กับเขื่อนและอ่างเก็บน้ำจำนวน 13 แห่ง ได้แก่เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน เขื่อนสิริกิติ์ อ่างเก็บน้ำคลองตรอน เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ อ่างเก็บน้ำซับตะเคียน อ่างเก็บน้ำห้วยหนองโรง อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำลาด อ่างเก็บน้ำกระเสียว เขื่อนอุบลรัตน์ อ่างเก็บน้ำห้วยอีเลิศ อ่างเก็บน้ำหนองนาวัว อ่างเก็บน้ำหนองหญ้าม้า และเขื่อนปราณบุรีพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำหลากช่วง 1-3 วัน ดังนี้ ภาคตะวันออก บริเวณ จ.จันทบุรี และตราดสทนช. เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นผังน้ำ ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก ครั้งที่ 1เมื่อวันที่ 21-22 มิ.ย. 66 สทนช. จัดการประชุมโครงการจัดทำผังน้ำ ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออกครั้งที่ 1 พร้อมผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ได้แก่ คณะกรรมการลุ่มน้ำ ผู้แทนภาครัฐและเอกชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สื่อมวลชน และประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำ ทั้งในห้องประชุมและผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จำนวนกว่า 300 ท่านการศึกษาการจัดทำผังน้ำมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ จัดทำผังน้ำ จัดทำข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดินที่อยู่ในระบบทางน้ำตามผังน้ำ ซึ่ง ข้อมูลผังจะนำไปใช้ประกอบการพิจารณาในการจัดทำแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้งและน้ำท่วม รวมทั้งจัดทำระบบฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับผังน้ำให้ทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ รวมถึงวางแผนการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบมีการจัดการระบบเส้นทางน้ำเพื่อกำหนดขอบเขตเส้นทางน้ำ อนุรักษ์ลำน้ำ และแจ้งให้ประชาชนทราบถึงพื้นที่เสี่ยงเกิดอุทกภัยในระดับต่างๆ และการใช้ประโยชน์ที่ดินในระบบทางน้ำ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ไม่ก่อให้เกิดการเบี่ยงเบนทางน้ำหรือกีดขวางการไหลของน้ำในทางน้ำ อันเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติตามแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้งและภาวะน้ำท่วมสำหรับการประชุม ได้ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการจัดทำผังน้ำ รวมทั้งกระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดทำผังน้ำ และรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต่อ (ร่าง) ผังน้ำ และรายการประกอบผังน้ำ (ร่าง 1) เพื่อนำข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ สภาพปัญหา ข้อวิตกกังวลต่าง ๆ จากทุกภาคส่วนไปใช้ประกอบการพิจารณาปรับปรุง (ร่าง) ผังน้ำให้มีความสมบูรณ์ และจะนำเสนอให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาและให้ข้อเสนอแนะอีกครั้ง ในการประชุมผังน้ำ ครั้งที่ 2 ต่อไป
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 25 มิถุนายน 2566 ดังนี้
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
กรมชลประทาน ดำเนินการกำจัดวัชพืชและสิ่งกีดขวางทางน้ำบริเวณ อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี และอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำและการส่งน้ำ
สภาพอากาศ
ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน และอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยประกอบกับในช่วงวันที่ 26 – 29 มิ.ย. 66 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และประเทศลาวตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และภาคใต้ มีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือด้านตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2566 กรมอุตุนิยมวิทยาจัดงานวันสถาปนา ครบรอบ 81 ปี ณ หอประชุมกรมอุตุนิยมวิทยา ถนนสุขุมวิท เขตบางนา กรุงเทพฯ โดยในงานมีการเสวนาวิชาการ “การส่งผ่านสภาพอากาศ ภูมิอากาศ และน้ำ จากรุ่นสู่รุ่น และระบบเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับทุกคน” เพื่อมาร่วมบอกเล่าประสบการณ์ สร้างการรับรู้แก่คนรุ่นใหม่ให้เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาสภาพอากาศอย่างยั่งยืน ปิดท้ายด้วยกิจกรรมถามตอบประเด็นร้อนเกี่ยวกับอุตุนิยมวิทยาที่กำลังอยู่ในความสนใจ เพื่อไขข้อข้องใจเรื่องเด่นประเด็นร้อนเกี่ยวกับอุตุนิยมวิทยาที่สังคมให้ความสนใจในขณะนี้ โดยถ่ายทอดสดผ่านทางเฟซบุ๊ก “กรมอุตุนิยมวิทยา” โดยก้าวต่อไปนับจากนี้ กรมอุตุนิยมวิทยาในฐานะสมาชิกขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO : World Meteorological Organization) จะร่วมขับเคลื่อนการดำเนินการด้านระบบการเตือนภัยในโครงการที่เรียกว่า Early Warning for All ภายใต้กรอบการทำงานของ WMO ให้ก้าวไปข้างหน้าและประสบความสำเร็จภายใน 5 ปี โดยร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศไทย พัฒนาความร่วมมือกับประเทศสมาชิกในภูมิภาค ทั้งระบบการตรวจอากาศ การสื่อสารข้อมูลอุตุนิยมวิทยา การพยากรณ์อากาศ การพยากรณ์และเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลัน การคาดหมายสภาพภูมิอากาศที่มีประสิทธิภาพ และการวิจัยในสาขาต่าง ๆ ตลอดจนความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปฏิบัติงานด้านระบบเตือนภัยล่วงหน้าในประเทศไทยมีความที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น อันจะส่งผลให้เกิดการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทาความเสียหายและการลดผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของประเทศไทย และร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 อีกด้วย