สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 21 มิ.ย. 66 เวลา 7.00 น.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกปานกลางถึงหนักบริเวณ จ.บุรีรัมย์ (52) จ.พิจิตร (38) จ.ตราด (38) กรุงเทพมหานคร (35) จ.ประจวบคีรีขันธ์ (24) จ.พัทลุง (17)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 41,790 ล้าน ลบ.ม. (51%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 37,379 ล้าน ลบ.ม. (52%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำหลากช่วง 1-3 วัน ดังนี้ ไม่พบพื้นที่เสี่ยง
หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา จัดกำลังพลชุดบรรเทาสาธารณภัย จำนวน 6 นาย พร้อมรถตรวจการณ์ จำนวน 1 คัน ดำเนินการสำรวจ และติดตามระดับน้ำในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมซ้ำซาก เพื่อเตรียมความพร้อมในการแจ้งเตือนภัย และเข้าให้ความช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันเหตุการณ์ อีกทั้งช่วยลดความเสี่ยง และความเสียหายทรัพย์สินของประชาชน ณ ประตูระบายน้ำดอยน้อย ต.ดอยน้อย อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่
ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมการประเมินสถานการณ์น้ำ เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับมือกับผลกระทบของสภาวะเอลนีโญ ซึ่งมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นยาวไปถึงปีหน้า โดยคาดการณ์ว่าสถานการณ์น้ำในปี 66 และ 67
ที่ประชุมได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำข้อมูลเพิ่มเติมในการบริหารจัดการน้ำเขื่อนต่างๆ รวมถึงแหล่งน้ำสำรองในการให้ความช่วยเหลือประชาชนให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด โดยใช้ข้อมูลในปี 63 เพื่อประเมินปริมาณน้ำต้นทุน ณ วันที่ 1 พ.ย. 67 สำหรับใช้ในการบริหารจัดการน้ำระยะยาว 2 ปี โดยมุ่งกักเก็บน้ำต้นทุนให้ได้มากที่สุด
ปัจจุบันสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำมีปริมาณลดลง ต้องเน้นย้ำเรื่องการรณรงค์ใช้น้ำอย่างประหยัด สร้างความรู้ความเข้าใจให้เกษตรกรได้เข้าใจสถานการณ์น้ำทั้งในปีนี้และปีหน้า โดยให้ความสำคัญกับน้ำอุปโภคบริโภคเป็นอันดับแรก จนถึงการใช้น้ำในภาคอุตสาหกรรมและรักษาระบบนิเวศ โดยขอให้เกษตรกรติดตามข่าวสารจากภาครัฐอย่างใกล้ชิดเพื่อลดความเสี่ยงของการเพาะปลูกจากฝนทิ้งช่วง ทั้งนี้ กรมชลประทานยังได้มีการส่งเสริมการปลูกข้าวอายุสั้นและเก็บเกี่ยวได้เร็ว รวมถึงส่งเสริมให้ประชาชนพัฒนาแหล่งน้ำของตนเองเพื่อรองรับหากเกิดสถานการณ์ฝนทิ้งช่วงด้วย
สำหรับพื้นที่ประสบภัยแล้ง ตามประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สทนช. ได้มีการติดตามสถานการณ์และประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง โดยหากประชาชนได้รับความเดือดร้อนสามารถแจ้งข้อมูลเข้ามาได้ที่เพจเฟซบุ๊คของ สทนช. หรือแจ้งไปยัง สทนช. ทั้ง 4 ภาค โดยจะมีการติดตามตรวจสอบและประสานงานให้ความช่วยเหลือเพื่อแก้ไขและบรรเทาปัญหาโดยเร็วที่สุด
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 21 มิถุนายน 2566 ดังนี้
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ปฏิบัติการฝนหลวง เตรียมรับมือฝนทิ้งช่วง ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร 30 จังหวัด (จ.ลำปาง จ.กำแพงเพชร จ.พิจิตร จ.พิษณุโลก จ.นครสวรรค์ จ.สุโขทัย จ.แพร่ จ.อุทัยธานี จ.ชัยนาท จ.ลพบุรี จ.เพชรบูรณ์ จ.กาญจนบุรี จ.สุพรรณบุรี จ.กาฬสินธุ์ จ.อุดรธานี จ.มหาสารคาม จ.นครราชสีมา จ.บุรีรัมย์ จ.สุรินทร์ จ.ยโสธร
จ.อำนาจเจริญ จ.ศรีสะเกษ จ.ชลบุรี จ.ฉะเชิงเทรา จ.ปราจีนบุรี จ.สระแก้ว จ.ราชบุรี จ.เพชรบุรี จ.ชุมพร จ.ประจวบคีรีขันธ์) และเติมน้ำต้นทุนให้กับเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ 15 แห่ง (อ่างเก็บน้ำแม่จาง อ่างเก็บน้ำป่าสักชลสิทธิ์ อ่างเก็บน้ำห้วยขุนแก้ว อ่างเก็บน้ำกุดตาเพชร อ่างเก็บน้ำศรีนครินทร์ อ่างเก็บน้ำวชิราลงกรณ อ่างเก็บน้ำลำปาว อ่างเก็บน้ำบ้านทำนบ
อ่างเก็บน้ำประแสร์ อ่างเก็บน้ำคลองสียัด อ่างเก็บน้ำคลองพระสะทึง อ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน อ่างเก็บน้ำห้วยเกษมอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ประจันต์ อ่างเก็บน้ำห้วยผาก)
สภาพอากาศ
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำยังคงปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมการประเมินสถานการณ์น้ำว่า กอนช. มีการประชุมเพื่อติดตามและประเมินสถานการณ์น้ำเป็นประจำทุกสัปดาห์ เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับมือกับผลกระทบของสภาวะเอลนีโญซึ่งมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นยาวไปถึงปีหน้า โดยคาดการณ์ว่าสถานการณ์น้ำในปี 2566 และ 2567 จะคล้ายกับสถานการณ์น้ำเมื่อปี 2562 ซึ่งเกิดสภาวะเอลนีโญต่อเนื่องจนถึงปี 2563 และได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำข้อมูลเพิ่มเติมในการบริหารจัดการน้ำเขื่อนต่างๆ รวมถึงแหล่งน้ำสำรองในการให้ความช่วยเหลือประชาชนให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุดโดยใช้ข้อมูลในปี 2563 เพื่อประเมินปริมาณน้ำต้นทุน ณ วันที่ 1 พ.ย. 2567 สำหรับใช้ในการบริหารจัดการน้ำระยะยาว 2 ปี โดยมุ่งกักเก็บน้ำต้นทุนส่งต่อไปยังปี 2567 ให้ได้มากที่สุด และ ได้มีการติดตามสถานการณ์พื้นที่ประสบภัยแล้ง ตามประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง โดยหากประชาชนในพื้นที่ใดได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาการขาดแคลนน้ำ สามารถแจ้งข้อมูลเข้ามาได้ที่เพจเฟซบุ๊คของ สทนช. โดยจะมีการติดตามตรวจสอบและประสานงานให้
ความช่วยเหลือเพื่อแก้ไขปัญหาโดยเร็วที่สุด