สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 13 มิ.ย. 66
ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ ส่วนมากบริเวณด้านรับมรสุม โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกปานกลางถึงหนักมากบริเวณ จ.ตราด (92) จ.หนองคาย (79) จ.ระนอง (75) จ.เพชรบูรณ์ (36) จ.ปทุมธานี (33) จ.ประจวบคีรีขันธ์ (23)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 42,029 ล้าน ลบ.ม. (51%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 37,613 ล้าน ลบ.ม. (53%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี ยกเว้นแม่น้ำแม่กลองค่าออกซิเจนต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
กรมทรัพยากรน้ำ ดำเนินงานเครือข่ายการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าน้ำท่วมฉับพลัน-ดินถล่ม (Early Warning) ประจำปีงบประมาณ 2566 ในพื้นที่ชุมชนบ้านอีพุ่งใหญ่ ม.4 ต.เจ้าวัด อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี พร้อมกับได้สอบถามข้อปัญหาและอุปสรรค รวมถึงข้อเสนอแนะที่ทางชุมชนต้องการให้ปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม เกี่ยวกับการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้า ตลอดจนความช่วยเหลือที่ต้องการได้รับหากเกิดภัยพิบัติขึ้น ทั้งนี้ได้รวบรวมข้อมูลทั้งหมดกลับมาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น ต่อไปพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก / ดินถล่มพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำหลากช่วง 1-3 วัน ดังนี้ ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และตาก ภาคตะวันออก จ.นครนายก ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคตะวันตก จ.กาญจนบุรีพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ลงพื้นที่เพชรบูรณ์ เร่งรัดการก่อสร้างระบบส่งน้ำอ่างฯคลองลำกง พร้อมกำชับทุกหน่วยงานรับมือน้ำท่วม-ฝนทิ้งช่วงวานนี้ (12 มิ.ย. 66) พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ลงพื้นที่ตรวจราชการเพื่อติดตามการเตรียมความพร้อมตามมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 66 และความก้าวหน้าโครงการพัฒนาแหล่งน้ำต่างๆ ในพื้นที่จ.เพชรบูรณ์ ร่วมกับ นายบุญสม ชลพิทักษ์วงศ์ รองเลขาธิการ สทนช. และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และลงพื้นที่ตรวจติดตามความก้าวหน้าการก่อสร้างระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำคลองลำกง ต.วังท่าดี อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ พร้อมพบปะส่วนราชการและประชาชนในพื้นที่โดยมอบนโยบายด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เนื่องจากประเทศไทยได้เข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการแล้วและกำลังจะเข้าสู่ปรากฎการณ์เอลนีโญด้วย ซึ่งอาจทำให้ในหลายพื้นที่ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่แปรปรวน ทั้งสถานการณ์อุทกภัยและสภาวะฝนทิ้งช่วงจึงขอให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ อย่างใกล้ชิด และปฏิบัติการตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 66อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการเตรียมแหล่งน้ำสำรองเพื่อกักเก็บน้ำไว้ให้ได้มากที่สุด พร้อมประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนสถานการณ์ให้กับเครือข่ายภาคประชาชนได้รับทราบอย่างต่อเนื่องด้วย ส่วนการลงพื้นที่ในวันนี้ได้ติดตามความก้าวหน้าการก่อสร้างระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำคลองลำกง โดยมอบให้กรมชลประทานเร่งรัดการก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามแผนที่กำหนด ซึ่งหากดำเนินการแล้วเสร็จ จะสามารถช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรได้กว่า 50,000 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 4 ตำบล ใน อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ ได้แก่ ต.ท่าแดง ต.วังท่าดี ต.วังโบสถ์ ต.บ่อไทย และให้พิจารณาโครงการพัฒนาแหล่งน้ำอื่นๆ ที่มีความเหมาะสมและมีความพร้อมให้สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาด้านน้ำในทุกมิติด้วย
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 13 มิถุนายน 2566 ดังนี้
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
กองบัญชาการกองทัพไทย จัดกำลังพลชุดบรรเทาสาธารณภัย จำนวน 80 คน พร้อมยุทโธปกรณ์ ดำเนินการกำจัดวัชพืช กิ่งไม้ และผักตบชวา ที่ขวางทางน้ำ บริเวณฝายน้ำล้น เพื่อให้สามารถระบายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพในห้วงฤดูฝน ณ ฝายน้ำล้น บ.เหล่าเจริญราษฎร์ ม.11 ต.ทุ่งก่อ อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย
สภาพอากาศ
ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบน มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่าง และอ่าวไทยตอนบน ทะเลมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.)ลงพื้นที่ตรวจราชการเพื่อติดตามการเตรียมความพร้อมตามมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 66 และความก้าวหน้าโครงการพัฒนาแหล่งน้ำต่างๆ ในพื้นที่ ณ จ.เพชรบูรณ์ โดยได้กล่าวมอบนโยบายด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เนื่องจากประเทศไทยได้เข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการแล้วและกำลังจะเข้าสู่ปรากฎการณ์เอลนีโญด้วย ซึ่งอาจทำให้ในหลายพื้นที่ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่แปรปรวน ทั้งสถานการณ์อุทกภัยและสภาวะฝนทิ้งช่วง จึงขอให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด และปฏิบัติการตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 66 อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการเตรียมแหล่งน้ำสำรองเพื่อกักเก็บน้ำไว้ให้ได้มากที่สุด พร้อมประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนสถานการณ์ให้กับเครือข่ายภาคประชาชนได้รับทราบอย่างต่อเนื่องด้วย ส่วนการลงพื้นที่ได้ติดตามความก้าวหน้าการก่อสร้างระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำคลองลำกง โดยมอบให้กรมชลประทานเร่งรัดการก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามแผนที่กำหนด ซึ่งหากดำเนินการแล้วเสร็จ จะสามารถช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรได้กว่า 50,000 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 4 ตำบลได้แก่ ต.ท่าแดง ต.วังท่าดี ต.วังโบสถ์ ต.บ่อไทย และให้พิจารณาโครงการพัฒนาแหล่งน้ำอื่นๆ ที่มีความเหมาะสมและมีความพร้อมให้สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาด้านน้ำในทุกมิติด้วย
การคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลากดินถล่มล่วงหน้า 3 วัน
สทนช. ได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องและวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยล่วงหน้า 3 วัน พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงน้ำหลากดินถล่ม ดังนี้ จังหวัดตาก (อำเภอท่าสองยาง แม่ระมาด และอุ้มผาง) จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภออมก๋อย) จังหวัดจันทบุรี (อำเภอขลุง เขาคิชฌกูฏ ท่าใหม่ เมืองจันทบุรี มะขาม แก่งหางแมว และโป่งน้ำร้อน) จังหวัดตราด (อำเภอบ่อไร่
เกาะช้าง แหลมงอน เขาสมิง และเมืองตราด) จังหวัดระยอง (อำเภอเขาชะเมา และแกลง) จังหวัดปราจีนบุรี(อำเภอนาดี ประจันตคาม และกบินทร์บุรี) จังหวัดนครนายก (อำเภอปากพลี) จังหวัดชลบุรี(อำเภอศรีราชา) จังหวัดกาญจนบุรี(อำเภอทองผาภูมิ)