สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 5 มิ.ย. 66
ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น มีฝนตกหนักบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกเล็กน้อยถึงหนักมากบริเวณ จ.ศรีสะเกษ (100) จ.เชียงใหม่ (60) จ.ระนอง (54) จ.นครนายก (16) จ.สระบุรี (10) จ.ประจวบคีรีขันธ์ (10)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 42,604 ล้าน ลบ.ม. (52%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38,206 ล้าน ลบ.ม. (53%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กรมกรมชลประทาน ได้จัดส่งรถบรรทุกน้ำ เข้าไปแจกจ่ายน้ำให้กับเกษตรกรและประชาชนในพื้นที่บ้านป่าละอู ต.ห้วยสัตว์ใหญ่ อ.หัวหินจ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรชาวสวนทุเรียน รวมถึงประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งเเต่วันที่ 11 เม.ย. 66 ถึงปัจจุบัน ได้ให้การสนับสนุนรถบรรทุกน้ำไปแล้ว จำนวน 79 เที่ยว คิดเป็นปริมาณน้ำ 948,000 ลิตร และจะช่วยเหลือไปจนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ กอนช. ประกาศ ฉบับที่ 5/2566 เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากกอนช. พบว่าประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้นและฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนภาคใต้จะยังมีฝนตกต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านรับมรสุม และมีฝนตกหนักบางแห่ง ช่วงวันที่ 7 –11 มิ.ย. 66 พบพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ ดังนี้
ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ (อ.เชียงดาว แม่แจ่ม แม่วาง กัลยาณิวัฒนา จอมทอง สะเมิง อมก๋อย และฮอด) จ.แม่ฮ่องสอน (อ.เมืองแม่ฮ่องสอน แม่ลาน้อย แม่สะเรียง ขุนยวม ปางมะผ้า ปาย และสบเมย) จ.ลำพูน (อ.ทุ่งหัวช้าง แม่ทา บ้านโฮ่ง และป่าซาง) จ.ตาก (อ.แม่ระมาด แม่สอด พบพระ ท่าสองยาง และอุ้มผาง) จ.แพร่ (อ.เด่นชัย) จ.พิจิตร (อ.บางมูลนาก) จ.อุตรดิตถ์ (อ.ฟากท่า) จ.นครสวรรค์ (อ.บรรพตพิสัย) จ.เพชรบูรณ์ (อ.วิเชียรบุรี) จ.อุทัยธานี (อ.หนองขาหย่าง)
ภาคตะวันออก จ.ฉะเชิงเทรา (อ.บ้านโพธิ์) จ.สระแก้ว (อ.วัฒนานคร) จ.ชลบุรี (อ.พานทอง) จ.ระยอง (อ.เมืองระยอง บ้านค่าย และแกลง) จ.จันทบุรี (อ.เมืองจันทบุรี แหลมสิงห์ และขลุง) จ.ตราด (อ.เกาะกูด เกาะช้าง เขาสมิง เมืองตราด แหลมงอบ และคลองใหญ่)
ภาคใต้ จ.ระนอง (อ.กะเปอร์ เมืองระนอง และสุขสำราญ) จ.พังงา (อ.กะปง คุระบุรี ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า และท้ายเหมือง) จ.ภูเก็ต (อ.กะทู้ ถลาง และเมืองภูเก็ต) จ.กระบี่ (อ.คลองท่อม เกาะลันตา เมืองกระบี่ เหนือคลอง และอ่าวลึก) จ.ตรัง (อ.เมืองตรัง กันตัง และปะเหลียน) จ.สตูล (อ.ละงู) จ.ยะลา (อ.รามัน) เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมอยู่เป็นประจำหรือพื้นที่ชุมชนเมือง ที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน เตรียมแผนรับสถานการณ์ น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ กำจัดสิ่ง กีดขวางทางน้ำ ลอกท่อระบายน้ำ และบูรณาการความพร้อม ให้ความช่วยเหลือได้ทันที
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 5 มิถุนายน 2566 ดังนี้
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
กอนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์ พบพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 7-11 มิถุนายน 2566 โดยมีผลกระทบกับ ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภอเชียงดาว แม่แจ่ม แม่วาง กัลยาณิวัฒนา จอมทอง สะเมิง อมก๋อย และฮอด) จังหวัดแม่ฮ่องสอน (อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน แม่ลาน้อย แม่สะเรียง ขุยวม ปางมะผ้า ปาย และสบเมย) จังหวัดลำพูน (อำเภอทุ่งหัวช้าง แม่ทา บ้านโฮ่ง และป่าซาง) จังหวัดตาก (อำเภอแม่ระมาด แม่สอด พบพระ ท่าสองยาง และอุ้มผาง) จังหวัดแพร่ (อำเภอเด่นชัย) จังหวัดพิจิตร (อำเภอบางมูลนาก) จังหวัดอุตรดิตถ์ (อำเภอฟากท่า) จังหวัดนครสวรรค์ (อำเภอบรรพตพิสัย) จังหวัดเพชรบูรณ์ (อำเภอวิเชียรบุรี) จังหวัดอุทัยธานี (อำเภอหนองขาหย่าง) ภาคตะวันออก จังหวัดฉะเชิงเทรา (อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดสระแก้ว (อำเภอวัฒนานคร) จังหวัดชลบุรี (อำเภอพานทอง) จังหวัดระยอง (อำเภอเมืองระยอง บ้านค่าย และแกลง) จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี แหลมสิงห์ และขลุง) จังหวัดตราด (อำเภอเกาะกูด เกาะช้าง เขาสมิง เมืองตราด แหลมงอบ และคลองใหญ่) ภาคใต้ จังหวัดระนอง (อำเภอกะเปอร์ เมืองระนอง และสุขสำราญ) จังหวัดพังงา (อำเภอกะปง คุระบุรี ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า และท้ายเหมือง) จังหวัดภูเก็ต (อำเภอกะทู้ ถลาง และเมืองภูเก็ต) จังหวัดกระบี่ (อำเภอ คลองท่อม เกาะลันตา เมืองกระบี่ เหนือคลอง และอ่าวลึก) จังหวัดตรัง (อำเภอเมืองตรัง กันตัง และปะเหลียน) จังหวัดสตูล (อำเภอละงู) จังหวัดยะลา (อำเภอรามัน)
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
กรมทรัพยากรน้ำ ลงพื้นที่ตรวจประเมินโครงการอ่างเก็บน้ำแม่รำพัน จังหวัดสุโขทัย เพื่อตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยของอาคารและสิ่งปลูกสร้างด้านแหล่งน้ำ และใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงและบำรุงรักษาอ่างเก็บน้ำแม่รำพัน ให้มีความมั่นคง ปลอดภัย และใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สภาพอากาศ
ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง ทั้งนี้เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมชายฝั่งประเทศเมียนมา
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
กรมอุตุนิยมวิทยา เข้าร่วมประชุม World Meteorological Congress ขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก(WMO Cg-19 ) ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส เพื่อพัฒนาความร่วมมือกับประเทศสมาชิกในภูมิภาค ทั้งด้านระบบการตรวจอากาศ การสื่อสารข้อมูลอุตุนิยมวิทยา การพยากรณ์อากาศ การพยากรณ์และเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลันการคาดหมายสภาพภูมิอากาศที่มีประสิทธิภาพ ที่ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของประเทศไทยและร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13