สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 18 พ.ค. 66
ประเทศไทยตอนบนมีฝนน้อย แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.เชียงราย (71 มม.) จ.นครศรีธรรมราช (71 มม.) และ จ.ตรัง (70 มม.)
น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 20,353 ล้าน ลบ.ม. (34%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 16,374 ล้าน ลบ.ม. (34%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี ยกเว้นแม่น้ำบางปะกง ค่าความเค็มสูงเกินมาตรฐาน
กอนช. เร่งหน่วยงานเดินหน้าปฏิบัติตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566ด้วยกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ได้ประเมิน และคาดการณ์ประเทศไทยมีแนวโน้มเข้าสู่สภาวะเอลนีโญตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นไป ส่งผลให้ปริมาณฝนมีแนวโน้มใกล้เคียงกับค่าปกติหรือน้อยกว่าค่าปกติร้อยละ 5 เสี่ยงเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงกลางเดือนมิถุนายนถึงกลางกรกฎาคมกอนช. ได้เน้นย้ำให้หน่วยงานวางแผนบริหารจัดการน้ำ เพื่อรองรับสถานการณ์เอลนีโญพร้อมเร่งให้ดำเนินการตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566 อย่างเคร่งครัด เน้นเก็บกักน้ำให้ได้มากที่สุด ป้องกันปัญหาขาดแคลนน้ำในอนาคต ทั้งนี้ กอนช. ได้ติดตามผลการจัดสรรน้ำฤดูแล้งภายใต้ 10 มาตรการรองรับฤดูแล้งปี 2565/66 กรมชลประทานได้วางแผนจัดสรรน้ำฤดูแล้ง (ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 65 – 30 เม.ย. 66) ปริมาณ 27,685 ล้าน ลบ.ม. พบว่า การจัดสรรน้ำเป็นไปตามแผนที่วางไว้ โดยมีการใช้น้ำรวมทั้งประเทศประมาณ 25,200 ล้าน ลบ.ม. และมีปริมาณน้ำสำรองไว้ใช้ในช่วงต้นฤดูฝนมากกว่าแผนที่วางไว้ ในขณะที่การเพาะปลูกพืชฤดูแล้งปี 2565/66 รวมทั้งประเทศรวม 10.38 ล้านไร่ ซึ่งเป็นไปตามแผนฯ
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 18 พฤษภาคม 2566 ดังนี้
ผลการดำเนินงานตาม 10 มาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2565/66 1.1 กรมทรัพยากรน้ำ ลงพื้นที่ติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาด 12 นิ้ว จำนวน 1 เครื่อง เพื่อสูบน้ำช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งและภาวะฝนทิ้งช่วง ในพื้นที่หมู่ที่ 2 บ้านหัวเตยบน ตำบลหัวเตย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี พื้นที่ทำการเกษตรได้รับประโยชน์ประมาณ 300 ไร่ ครอบคลุม 16 ครัวเรือน 1.2 กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ลงพื้นที่ตรวจสอบพร้อมทั้งซ่อมแซมระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ และระบบประปาบาดาล ภายใต้ “โครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565” ณ โรงเรียนบ้านโหง่นขาม ตำบลหนามแท่ง อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี
สภาพอากาศ
ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนอง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
แหล่งน้ำทั่วประเทศ
3.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำใช้การ 20,353 ล้าน ลบ.ม. (35%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 16,271 ล้าน ลบ.ม. (34%) ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 2,335 ล้าน ลบ.ม. (46%) และขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 1,745 ล้าน ลบ.ม. (34%)
3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ)ปริมาณน้ำใช้การ 5,825 ล้าน ลบ.ม. (32%)
ผลการจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ย. ถึงปัจจุบัน)
4.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 16,202ล้าน ลบ.ม. (34%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 15,701 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 1,942 ล้าน ลบ.ม. (12%)
4.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 5,499 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 867ล้าน ลบ.ม. (16%)
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ลงพื้นที่ตรวจสอบการทำงานระบบโทรมาตร สถานี TD14 อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นระบบโทรมาตรของเขื่อนรัชชประภา เนื่องจากมีการทำงานปกติแต่สถานีมีปัจจัยน้ำขึ้น-ลง จากแม่น้ำคลองพุนพิน ทำให้ระดับน้ำในลำน้ำสูงในบางช่วงเวลา ส่งผลให้การแจ้งเตือนทางช่องทางไลน์ (LINE) เกิดการแจ้งเตือนบ่อย ทั้งนี้ จะทบทวนข้อมูลเพื่อดำเนินการทบทวนเกณฑ์การแจ้งเตือนสถานี TD14 ต่อไป