สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 12 พ.ค. 66
ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง
ส่วนภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.แพร่ (131 มม.) จ.เชียงราย (112 มม.) และ จ.ชลบุรี (86 มม.)
น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 20,819 ล้าน ลบ.ม. (36%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 16,754 ล้าน ลบ.ม. (35%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี ยกเว้นแม่น้ำบางปะกง ค่าความเค็มสูงเกินมาตรฐาน
สทนช. ยกร่างข้อเสนอการจัดตั้งหน่วยงานอัจฉริยะการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (Water Intelligence Unit : IU)นาย สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดตั้งหน่วยงานอัจฉริยะการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (Water Intelligence Unit : IU) เมื่อวันที่ 11 พ.ค. 66 โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) ได้ศึกษาแนวทางการจัดโครงสร้างส่วนราชการ เพื่อการพัฒนานวัตกรรมทางการบริหารราชการ (OD Regulatory Sandbox) ซึ่ง สทนช. ได้รับคัดเลือกให้เป็นหน่วยงานนำร่องในการดำเนินงานตามข้อเสนอของผลการศึกษาวิจัยนวัตกรรมเชิงระบบ โครงสร้างและกลไกการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) และสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สอวช.)
ทั้งนี้ สทนช. จะนำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะดังกล่าวไปปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศอย่างเป็นระบบและยั่งยืน สอดคล้องกับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและยุทธศาสตร์ชาติต่อไป
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 12 พฤษภาคม 2566 ดังนี้
ผลการดำเนินงานตาม 10 มาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2565/66
กองทัพบก สนับสนุนโครงการจิตอาสา “ราษฎร์ รัฐ ร่วมใจ ช่วยภัยแล้ง” ดำเนินการช่วยเหลือพร้อมรถบรรทุกน้ำ ขนาด 6,000 ลิตร แจกจ่ายน้ำช่วยเหลือประชาชนที่ขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค ในครัวเรือน ในพื้นที่รอบค่ายฯ บ้านบ้านสารภี ต.เสม็ด อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ ตามโครงการฯ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชน
ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ
สภาพอากาศ
ในช่วงวันที่ 12 – 15 พ.ค. 66 พายุไซโคลน “โมคา” (MOCHA) บริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่างมีแนวโน้มจะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเมียนมา ในช่วงวันที่ 14-15 พ.ค. 66 ส่งผลให้ในช่วงวันที่ 11-14 พ.ค. 66 บริเวณประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร
แหล่งน้ำทั่วประเทศ
3.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำใช้การ 20,819 ล้าน ลบ.ม. (36%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 16,730 ล้าน ลบ.ม. (35%) ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 2,345 ล้าน ลบ.ม. (46%) และขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 1,745 ล้าน ลบ.ม. (34%)
3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ)ปริมาณน้ำใช้การ 6,011 ล้าน ลบ.ม. (33%)
ผลการจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ย. ถึงปัจจุบัน)
4.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 16,664ล้าน ลบ.ม. (35%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 15,701 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 1,285 ล้าน ลบ.ม. (8%)
4.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 5,499 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 572ล้าน ลบ.ม. (10%)
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชุมคณะทำงานด้านประเมินสถานการณ์ ครั้งที่ 2/2566 โดยผลการประเมินสถานการณ์ ประกอบด้วย การคาดการณ์ประเทศไทยจะเข้าสู่ฤดูฝนในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน พ.ค. การติดตามปรากฎการณ์เอนโซ (ENSO) พบว่าจะเข้าสู่สภาวะเอลนีโญ ตั้งแต่ เดือน มิ.ย. 66เป็นต้นไป ดังนั้น ปริมาณฝนในปีนี้จึงมีแนวโน้มต่ำกว่าค่าปกติเล็กน้อย และคาดว่าจะเกิดฝนทิ้งช่วงประมาณช่วงเดือน มิ.ย. 66 จึงต้องมีการวางแผนบริหารจัดการน้ำเพื่อเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์หากมีปริมาณฝนน้อย โดยที่ประชุมเน้นการวางแผนระยะยาว โดยใช้หลักการบริหารและคาดการณ์ล่วงหน้าสองปีจนถึงปี 2567 เพื่อให้มีปริมาณน้ำในช่วงต้นฤดูแล้งมากที่สุดโดยเน้นย้ำในเรื่องของการกักเก็บน้ำเพื่อรองรับความต้องการใช้น้ำ สำหรับประเมินการเพาะปลูก ปีนี้สามารถรับรองการเพาะปลูกให้แก่เกษตรกรได้ จำนวน 1 รอบการเพาะปลูก ทั้งนี้กองอำนวยการน้ำแห่งชาติจะต้องมีการประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่องเพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นและบริหารจัดการน้ำร่วมกันให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด