สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 5 พ.ค. 66 เวลา
ประเทศไทยตอนบน อากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวันและยังคงมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.พังงา (179 มม.) จ.สงขลา (52 มม.) และ จ.ยะลา (43 มม.)
น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 17,530 ล้าน ลบ.ม. (37%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 21,660 ล้าน ลบ.ม. (37%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ตรวจสอบบ่อน้ำบาดาล และติดตามการใช้ประโยชน์ระบบประปาบาดาล จำนวน 6 แห่ง ได้แก่บ้านลำอีซู หมู่ที่ 7 ต.หนองรี อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรีเทศบาลตำบลหนองปลาไหล หมู่ที่ 11 ต.หนองปลาไหล อ.หนองปรือ จ.กาญจนบุรีบ้านทุ่งกระบ่ำ หมู่ที่ 4 ต.ทุ่งกระบ่ำ อ.เลาขวัญ จ.กาญจนบุรีบ้านหนองโกเอน หมู่ที่ 9 ต.หนองปลิง อ.เลาขวัญ จ.กาญจนบุรีบ้านช่องกลิ้งช่องกรด หมู่ที่ 8 ต.หนองนกแก้ว อ.เลาขวัญจ.กาญจนบุรีบ้านเขาดินสอ หมู่ที่ 12 ต.ดอนแสลบ อ.ห้วยกระเจา จ.กาญจนบุรีสทนช.ติดตาม 10 มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2565/2566 อำเภอเบตง จังหวัดยะลานาย สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) มอบหมายให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 4 ลงพื้นที่ติดตาม 10 มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2565/2566 และแผนการบริหารจัดการในช่วงฤดูแล้ง ณ การประปาส่วนภูมิภาคสาขาเบตงอ.เบตง จ.ยะลา พร้อมลงพื้นที่จุดสูบน้ำดิบ โดย กปภ.สาขาเบตงมีกำลังการผลิตน้ำประปารวม 720 ลบ.ม./ชม. ประกอบด้วย สถานีผลิตน้ำ 2 แห่ง คือ สถานีผลิตน้ำเบตง และสถานีผลิตน้ำมหามงคลซึ่งมีคลองเบตงเป็นแหล่งน้ำดิบในการผลิตประปา ผู้ใช้น้ำรวม 11,457 รายปัจจุบันแหล่งน้ำดิบยังคงมีเพียงพอในการผลิตและจ่ายน้ำประปาในเขตพื้นที่ ซึ่งทาง กปภ.เบตง มีมาตรการรับมือภัยแล้งในระยะเร่งด่วน โดยมีสถานีสูบน้ำมหามงคลเป็นแหล่งผลิตประปาสำรองทำการกั้นฝายชั่วคราวเพื่อยกระดับน้ำ ดูดทรายบริเวณจุดสูบน้ำดิบออก และขุดลอกทรายประจำปี (ปีละ 2 ครั้ง) สำหรับมาตราการรับมือภัยแล้งระยะยาว โดยมีพื้นที่สำรองน้ำประกอบด้วย อ่างเก็บน้ำคลองยะรม (ชป.) อ่างเก็บน้ำคลองเบตง (สวนแป๊ะหลิม) (แผนงานชป.) เพื่อใช้เป็นแหล่งน้ำดิบที่ใช้ผลิตน้ำประปาในอนาคต ส่วนด้านคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดี มีปัญหาค่าความขุ่นสูงในช่วงฤดูน้ำหลาก และปัญหาสาหร่ายในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งระยะเวลาในการเกิดปัญหาในช่วงสั้นๆ สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาได้ทั้งนี้ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 4 ได้รับทราบถึงปัญหา และได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา เพื่อเตรียมการป้องกันการขาดแคลนน้ำในอนาคต
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 5 พฤษภาคม 2566 ดังนี้
ผลการดำเนินงานตาม 10 มาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2565/66
1.1 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ลงพื้นที่ติดตาม 10 มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2565/2566 และแผนการบริหารจัดการในช่วงฤดูแล้ง ณ การประปาส่วนภูมิภาคสาขาเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เพื่อเตรียมการป้องกันการขาดแคลนน้ำในอนาคตให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นให้การบริหารจัดการน้ำเกิดผลประโยชน์สูงสุด
แก่ประชาชนต่อไป
1.2 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สนับสนุนจังหวัดพะเยาในการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ปี 2566 โดยปฏิบัติการสูบส่งน้ำลงสู่กว๊านพะเยา เพื่อนำน้ำไปผลิตน้ำประปาสนับสนุนการใช้น้ำในพื้นที่อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
สภาพอากาศ
ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง ในขณะที่ลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่งเกิดขึ้นได้ สำหรับลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนทะเลอันดามัน บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
แหล่งน้ำทั่วประเทศ
3.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำใช้การ 21,660 ล้าน ลบ.ม. (37%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 17,501 ล้าน ลบ.ม. (37%) ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 2,414 ล้าน ลบ.ม. (48%) และขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 1,746 ล้าน ลบ.ม. (34%)
3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) ปริมาณน้ำใช้การ 6,375 ล้าน ลบ.ม. (35%)
ผลการจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ค. ถึงปัจจุบัน)
4.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 17,432 ล้าน ลบ.ม. (37%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 15,701 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 481 ล้าน ลบ.ม. (2%)
4.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 5,500 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 212 ล้าน ลบ.ม. (4%)