สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 26 เม.ย. 66
ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น ในขณะที่ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.ชลบุรี (86 มม.) จ.ระยอง (55 มม.) และ จ.จันทบุรี (54 มม.)
น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 22,893 ล้าน ลบ.ม. (39%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 18,663 ล้าน ลบ.ม. (39%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ลงพื้นที่ตรวจสอบแก้ไขบ่อน้ำบาดาลโดยการติดตั้งเครื่องสูบ Submersible Pump และสูบทดสอบปริมาณน้ำบาดาล ในพื้นที่ บ้านนาเจริญ หมู่ที่ 13 ต.นาป่า อ.เมืองเพชรบูรณ์ จ.เพชรบูรณ์ และในพื้นที่ บ้านทะเลบก หมู่ที่ 2 ต.ทะเลบก อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี พร้อมกันนี้เจ้าหน้าที่ยังได้ให้คำแนะนำในการบริหารจัดการน้ำบาดาล เพื่อการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำได้อย่าง
มีประสิทธิภาพและยั่งยืน มีแหล่งน้ำที่มีความมั่นคง และสามารถใช้ประโยชน์จากน้ำบาดาลได้อย่างคุ้มค่าสทนช. นำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้เพื่อคาดการณ์สถานการณ์น้ำ
วันที่ 24 เม.ย. 66 ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการ สทนช.เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) สำหรับการคาดการณ์สถานการณ์น้ำ พร้อมด้วยวิทยากรจากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.มหิดล และเจ้าหน้าที่ สทนช. เข้าร่วม ณ รร.เอบีน่า เฮ้าส์การฝึกอบรมมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้กับเจ้าหน้าที่ของ สทนช. ในการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) สำหรับการประเมินสภาพน้ำท่าและการคาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์น้ำได้ตามหลักวิชาการ เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นซึ่งจะนำไปสู่การแจ้งเตือนภัยด้านน้ำให้กับหน่วยงานและประชาชนได้เตรียมการรับมือได้อย่างรวดเร็วและทันต่อสถานการณ์อันเป็นการป้องกันและลดผลกระทบได้อย่างทันท่วงที โดยมีหัวข้อการฝึกอบรม ได้แก่ ทฤษฎีพื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ สำหรับการประยุกต์ใช้ในการประเมินสภาพน้ำท่าและคาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์น้ำท่า และแบ่งกลุ่มเพื่อฝึกปฏิบัติเพื่อสามารถเตรียมมาตรการและรองรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที ทั้งนี้ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) จึงนับเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ช่วยสนับสนุนการดำเนินงานการคาดการณ์ แนวโน้มสถานการณ์น้ำในลำน้ำได้อย่างรวดเร็ว เหมาะสมกับสถานการณ์ต่อไป
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 26 เมษายน 2566 ดังนี้
ผลการดำเนินงานตาม 10 มาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2565/66
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ติดตามและตรวจสอบการใช้งานระบบประปาบาดาล ณ องค์การบริหารส่วนตำบลคำชะอี ตำบลคำชะอี อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร
สภาพอากาศ
ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะนี้
แหล่งน้ำทั่วประเทศ
3.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำใช้การ 23,017 ล้าน ลบ.ม. (40%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 18,758 ล้าน ลบ.ม. (39%) ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 2,511 ล้าน ลบ.ม. (49%) และขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 1,747 ล้าน ลบ.ม. (34%)
3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) ปริมาณน้ำใช้การ 6,942 ล้าน ลบ.ม. (38%)
ผลการจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ย. ถึงปัจจุบัน) 4.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 18,682 ล้าน ลบ.ม. (39%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 21,913 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 19,481 ล้าน ลบ.ม. (89%) 4.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 8,600 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 7,975 ล้าน ลบ.ม. (93%)
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
วานนี้ (24 เม.ย. 66) ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) สำหรับการคาดการณ์สถานการณ์น้ำ ณ โรงแรมเอบีน่า เฮ้าส์ เขตหลักสี่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้กับบุคลากรของ สทนช. ในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวประเมินสภาพน้ำท่าและการคาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์น้ำได้ตามหลักวิชาการ และคาดการณ์สถานการณ์น้ำและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีหัวข้อการฝึกอบรม ได้แก่ ทฤษฎีพื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) สำหรับการประยุกต์ใช้ในการประเมินสภาพน้ำท่าและคาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์น้ำท่า รวมทั้งการแบ่งกลุ่มเพื่อฝึกปฏิบัติ โดยใช้ข้อมูลจริง
ในแต่ละพื้นที่