อุตสาหกรรมอนิเมะญี่ปุ่นวิกฤต
อุตสาหกรรมแอนิเมชั่นของญี่ปุ่นอยู่ในภาวะวิกฤต จากค่าจ้างต่ำ ชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน และการขาดแคลนผู้วาดจำนวนมาก ราวกับว่าความนิยมทั่วโลกไม่เพิ่มขึ้น
โดย 3 ใน 10 ภาพยนตร์แอนิเมชั่นที่เข้าแข่งขันในงานเทศกาลแอนิเมชั่นที่สำคัญที่สุดของโลกคือ Anney ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งจบลงเมื่อวันที่ 15 มิ.ย.ที่ผ่านมา เป็นผลงานจากประเทศญี่ปุ่น
ญี่ปุ่นเป็นผู้ท้าทายตัวจริงของแอนิเมชั่นค่ายยักษ์ใหญ่ทั้ง Pixar และ Disney ของฝั่งฮอลลีวูด จากอนิเมะยอดนิยมล่าสุดที่ทำรายได้มหาศาลคือเรื่อง Your Name และ Super Mario ที่ยังรอฉาย
โยชิอากิ นิชิมุระ อดีตผู้ร่วมงานของฮายาโอะ มิยาซากิ ผู้ก่อตั้งสตูดิโอจิบลิอันโด่งดัง ให้สัมภาษณ์กับสื่อ AFP ว่า ปัจจุบัน อุตสาหกรรมอนิเมะในญี่ปุ่นกำลังดิ้นรนอย่างหนัก เนื่องจากปัญหาขาดแคลนคนมีฝีมือทำงาน สภาพการทำงานที่หนักหนาสาหัส และบางครั้งก็ขาดความคิดสร้างสรรค์
เพื่อนร่วมงานของเขายังบ่นเรื่องค่าจ้างที่ต่ำ การขาดแคลนนักวาดรุนใหม่ที่มีฝีมือ และการทำงานหนักคือประมาณ 12 – 18 ชั่วโมงต่อวัน
ดาวรุ่งดวงใหม่อย่างเคอิชิ ฮาระ ซึ่งนำเสนอผลงานเรื่องใหม่ The Wonderland ที่ Anney หลังจากเคยชนะรางวัลเมื่อ 4 ปีก่อนจากเรื่อง Miss Hokusai แสดงความกังวลถึงอนาคต “ บางที ปัญหาใหญ่สุดของอุตสาหกรรมอนิเมะของญี่ปุ่นคือ ไม่มีแอนิเมเตอร์รุ่นใหม่เก่งๆอีก ”
อายุมุ วาทานาเบะ ซึ่งนำผลงาน The Children of the Sea มาเข้าแข่งขันในงาน กังวลเกี่ยวกับมาตรฐานด้านภาพ และการขาดความเป็นตัวเอง และยังมีปัจจัยสำคัญอีกคือ
“ มีแอนิเมเตอร์น้อยลงมากที่ทำงานวาดมือได้สวยงาม”
แม้แต่ศิลปินรุ่นใหญ่อย่างมาโมรุ โฮซาดะ อัจฉริยะผู้อยู่เบื้องหลัง Wolf Children , The Boy and the Beast และ The Girl Who Leapt Through Time ต้องพยายามลดเวลาการทำงานที่ยาวนานด้วยทีมเล็กๆหลายทีม
เขากล่าวกับ AFP ในปีที่แล้วว่า งานฮิตล่าสุดของเขาได้แรงบันดาลใจมาจากภรรยาของเขาที่บ่นว่าเธอทำงานบ้านอยู่คนเดียว โดยเธอระบุว่าเขาทิ้งให้เธอเลี้ยงดูลูกชายมาโดยลำพังเหมือนหญิงหม้าย
ในปีนี้ ทุกสายตาต่างรอคอยผลงานแฟนตาซีชิ้นใหม่ของ มาโกโตะ ชินไค คือ Weathering with You หลังจากเคยมีผลงานโด่งดังและทำรายได้มหาศาลอย่าง Your Name มาแล้ว โดย Your Name ยังคงครองรายได้สูงสุดอันดับ 1 ตลอดกาลของภาพยนต์ญี่ปุ่น แต่ผลงานของเขาไม่มีสไตล์ใกล้เคียงกับแอนิเมชั่นกระแสหลักของโลก
โดยนิชิมุระระบุว่า เขาพยายามจะคงภาพ “สไตล์จิบลิ และสปริตยังคงดำเนินต่อไป ด้วยการผสมผสานระหว่างการวาดมือและการใช้คอมพิวเตอร์” ที่สตูดิโอ Ponoc ซึ่งเขาจัดตั้งขึ้นมาหลังจากมิยาซากิ ซึ่งสูบบุหรี่จัดและมีปัญหาสุขภาพ วางมือจากการจับดินสอไปในปี 2556
สำหรับเขา วิกฤตของอุตสาหกรรม เกิดจากการหมักหมมปัญหาไว้มาตลอด 5 – 10 ปีล่าสุด” แต่เขายืนยันว่า สตูิโอของเขาพยายามที่จะ “สร้างสรรค์สภาพแวดล้อมใหม่”.