แอร์บีเอ็นบีหนุนญี่ปุ่นฟื้น รวมตลาดโรงแรม
โตเกียว (รอยเตอร์) – เมื่อวันที่ 6 มิ.ย. บริษัทแอร์บีเอ็นบี ประกาศฟื้นกิจการหาที่พักระยะสั้นบนเว็บไซต์ญี่ปุ่นอีกครั้ง ซึ่งมีที่พักลดน้อยลงหลังปฏิบัติตามกฎหมายในปีก่อน โดยบริษัทสัญชาติอเมริกันได้เพิ่มจำนวนรายชื่อผู้ให้บริการที่เพิ่มขึ้นจากเดิมอย่าง โรงแรมเข้ามาด้วย
ในเดือน มิ.ย. ปีก่อน ญี่ปุ่นได้ออกกฎหมายที่ทำให้เจ้าของที่อยู่อาศัยต้องลงทะเบียนกับรัฐบาล โดยกำหนดให้มีการแชร์บ้านได้ถึง 180 วันใน 1 ปี และอนุญาตให้ราชการระดับท้องถิ่นตัดสินใจในการกำหนดระเบียบข้อบังคับต่อไป ซึ่งบางแห่งก็กำหนดกฎข้อบังคับที่ค่อนข้างเข้มงวด
ผลจากกฎหมายฉบับใหม่ ทำให้เจ้าของที่พักในแอร์บีเอ็นบีลดลงจากที่เคยมีให้เลือกบนเว็บไซต์ออนไลน์ถึง 62,000 ราย ส่งผลกระทบต่อนักท่องเที่ยวที่ได้รับแจ้งเตือนอย่างกะทันหันจนไม่มีที่พักอาศัยในระหว่างนั้น
ในงานแถลงข่าวที่กรุงโตเกียว ทางแอร์บีเอ็นบีระบุว่า เมื่อสิ้นเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา มีผู้ให้บริการที่พักอยู่ราว 50,000 ราย บวกกับผู้ให้บริการโรงแรมและ “เรียวกัง” แบบญี่ปุ่นดั้งเดิมอีก 23,000 ราย
ทางแอร์บีเอ็นบีระบุว่า เจ้าของบ้านหรือผู้ให้บริการปกติยังคงเป็นส่วนใหญ่ในรายชื่อผู้ให้บริการ 50,000 แห่งในญี่ปุ่น แต่ก็ปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลเพิ่มเติม หรือข้อมูลอัตราการเข้าพัก
เนื่องจากกฎหมายทั่วโลกที่ควบคุมการให้เช่าที่พักระยะสั้นเพิ่มมากขึ้น เป็นเพราะแอร์บีเอ็นบีทำให้ปัญหาบ้านเรือนที่อยู่อาศัยที่แย่อยู่แล้วยิ่งแย่ลงไปอีก ทำให้แอร์บีเอ็นบีต้องเพิ่มรายชื่อเจ้าของที่อยู่อาศัยอย่างโรงแรม และเบดแอนด์เบรคฟาสต์ ซึ่งเป็นสถานประกอบการที่ขัดแย้งต่อรูปแบบธุรกิจของแอร์บีเอ็นบีอย่างสิ้นเชิง
ทางบริษัทแอร์บีเอ็นบีระบุว่า การทำเช่นนี้ จะทำให้ภูมิภาคในญี่ปุ่นที่อยู่นอกเหนือจากจุดหมายปลายทางใหญ่ ๆ ของเหล่านักท่องเที่ยว เช่น โอซาก้า และเกียวโตให้มีกำลังฟื้นฟูขึ้นมาได้อีกครั้ง และช่วยขับเคลื่อนการใช้บ้านว่างในญี่ปุ่นอีกหลายล้านหลัง
Nathan Blecharczyk ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้บริหารด้านกลยุทธ์ ระบุว่า “แอร์บีเอ็นบีกำลังเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมนี้โดยปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัด”
ทัศนคติเข้มงวดของญี่ปุ่นที่มีต่อบริษัทที่ดำเนินการอยู่ในพื้นที่กฎหมายสีเทาขัดขวางการเติบโตของธุรกิจสตาร์ตอัพแบบ “เศรษฐกิจแบ่งปัน” โดยส่วนใหญ่แล้วเป็นบริษัทที่ไม่ทำตามกฎหมายเดิมอย่างผู้ให้บริการโรงแรมและบริษัทแท็กซี
แอร์บีเอ็นบีกำลังเตรียมการจะเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ ตามบริษัทลิฟต์และอูเบอร์ สตาร์ตอัพผู้ให้บริการรถยนต์ส่วนบุคคลร่วมโดยสารสัญชาติอเมริกัน ซึ่งหลังทั้งคู่เข้าสู่ตลาดหุ้นก็มีการดำเนินการที่แย่ลง
Blecharczyk ระบุว่า “เราคิดอย่างจริงจังว่าปัจจัยพื้นฐานของบริษัทเราแตกต่างกว่าที่อื่นเล็กน้อย โดยเฉพาะโดยเฉพาะการที่เราได้ผลกำไรมาตลอด 2 ปีที่ผ่านมา” โดยเขาชี้อีกว่า เป็นเพราะการที่บริษัทสามารถเข้าถึงบริเวณพื้นที่ซึ่งทำให้ขยายขอบเขตการให้บริการไปอีก 100,000 เมือง ทั่วโลก.