สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 17 มี.ค. 66
ประเทศไทยมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวันทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.ลำพูน (69 มม.) จ.ลำปาง (69 มม.) และ จ.เชียงใหม่ (55 มม.)
น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 30,538 ล้าน ลบ.ม. (53%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 24,108 ล้าน ลบ.ม. (50%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กรมทรัพยากรน้ำ ลงพื้นที่ตรวจติดตามซ่อมแซมเครื่องสูบน้ำแนวดิ่ง โครงการส่งน้ำจากแม่น้ำน่าน – บึงบอระเพ็ด จำนวน 6 เครื่อง และตรวจติดตามผลการดำเนินงานโครงการก่อสร้างระบบส่งน้ำจากแม่น้ำน่าน – บึงบอระเพ็ด (คลองวังนา) หมู่ที่ 5 และ 6 ต.ทับกฤช อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ เพื่อวางแนวทางในการซ่อมบำรุงรักษาแหล่งน้ำ อีกทั้งติดตามผลการดำเนินงานให้เป็นไป ตามแนวทางการก่อสร้างที่วางไว้ เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะมีความจุเก็บกัก 0.0900 ล้าน ลบ.ม. ประชาชนได้รับประโยชน์ 150 ครัวเรือน และพื้นที่เกษตร 300 ไร่
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ถก กนช. เห็นชอบมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 66 ก่อนเสนอ ครม.
วานนี้ (16 มี.ค. 66) พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ
รองนายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566 ณ มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมี นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการ สทนช. พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม เพื่อรับทราบรายงานสถานการณ์น้ำปัจจุบันและการคาดการณ์ สรุปผลการถอดบทเรียนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฤดูฝน
ปี 2565 ความก้าวหน้าการดำเนินการตามมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2565/2566 ความก้าวหน้าการดำเนินงานแผนงานบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และผลการดำเนินงานที่สำคัญของคณะอนุกรรมการภายใต้ กนช.
ที่ประชุมยังได้พิจารณาเห็นชอบ (ร่าง) มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566 ที่ปรับจาก 13 มาตรการเดิม จากเมื่อปีที่ผ่านมา เป็น 12 มาตรการใหม่ โดยรองนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดจัดทำแผนปฏิบัติการรองรับมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566 ตามภารกิจของหน่วยงาน และให้คณะกรรมการลุ่มน้ำ นำมาตรการรับมือฤดูฝนดังกล่าว ประกอบการจัดทำแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วมของลุ่มน้ำ ปี 2566 และเสนอมาตรการรับมือฤดูฝนให้ ครม. รับทราบต่อไป
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 17 มี.ค. 2566 ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานตาม 10 มาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2565/66
กรมทรัพยากรน้ำ ดำเนินการสูบน้ำช่วยเหลือพื้นที่น้ำแล้ง ณ บ้านนาเรือง ม.5,8 ตำบลนาผือ อำเภอเมืองจังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งขาดแคลนน้ำผลิตประปาหมู่บ้าน ปัจจุบันสามารถสูบน้ำได้ 22,400 ลบ.ม.
2. สภาพอากาศ
ในช่วงวันที่ 17 – 21 มี.ค. 66 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวันและมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
3. แหล่งน้ำทั่วประเทศ
3.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำใช้การ 30,538 ล้าน ลบ.ม. (53%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 24,110 ล้าน ลบ.ม. (50%) ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 3,292 ล้าน ลบ.ม. (65%) และขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 3,136 ล้าน ลบ.ม. (62%)
3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) ปริมาณน้ำใช้การ 9,052 ล้าน ลบ.ม. (50%)
4. ผลการจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ย. ถึงปัจจุบัน)
4.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 23,994 ล้าน ลบ.ม. (51%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 21,913 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 14,330 ล้าน ลบ.ม. (65%)
4.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 8,600 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 5,974 ล้าน ลบ.ม. (69%)
5. การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมี ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม เพื่อรับทราบรายงานสถานการณ์น้ำปัจจุบันและการคาดการณ์ สรุปผลการถอดบทเรียนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฤดูฝน ปี 2565 ความก้าวหน้าการดำเนินการตามมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2565/2566 ความก้าวหน้าการดำเนินงานแผนงานบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และผลการดำเนินงานที่สำคัญของคณะอนุกรรมการภายใต้ กนช. และได้เห็นชอบร่างมาตรการรับมือฤดูฝนปี2566 เพื่อใช้ประกอบการจัดทำแผนป้องกันและแก้ไขภาะวะน้ำท่วมไปพลางก่อน