นายแบงก์หนุนลอนดอนเป็นฮับการเงินต่อ
เมื่อวันที่ 21 มี.ค. ผู้บริหารธนาคารชั้นนำในอังกฤษระบุว่า กรุงลอนดอนจะยังเป็นศูนย์กลางตลาดการเงินทั่วโลก ไม่ว่าข้อตกลงที่สหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรปจะเป็นอย่างไร
จอห์น แมคฟาร์เลน ประธานธนาคาร Barclays ระบุว่า เขามีความเชื่อมั่นว่า ลอนดอนจะยังคงเป็นศูนย์กลางการเงินของโลกที่สามารถดูแลความปลอดภัยในการเข้าถึงยุโรปหลังเบร็กซิท
“ หากเป็นสถานการณ์แบบโนดีล นี่จะทำร้ายอียูอย่างเห็นได้ชัด และหากเป็นเช่นนั้น จะต้องมีการแก้ไขการบริหารจัดการ” แมคฟาร์เลนระบุ
ผู้นำอียูจะแจ้งกับนายกรัฐมนตรีเทเรซา เมย์ในระหว่างการประชุมที่กรุงบรัสเซลส์วันที่ 21 มี.ค..ว่า เธอมีเวลาสองเดือนในการจัดการเบร็กซิทให้เป็นไปตามกำหนด
แต่สหราชอาณาจักรอาจยังคงประสบกับการปฏิเสธจากอียูในวันที่ 29 มี.ค. ซึ่งเป็นกำหนดการเดิมที่สหราชอาณาจักรจะออกจากอียู หากนายกฯเมย์ไม่อาจเอาชนะเสียงโหวตจากสภาได้ เธอก็จะกลายเป็นอดีตคู่ค้าของอียูทันที
ทั้งนี้ รัฐสภาอังกฤษโหวตคว่ำเงื่อนไขการเจรจาเรื่องเบร็กซิทของนายกฯเมย์กับอียูมาถึง 2 ครั้งแล้ว แต่เธอยังสามารถผลักดันได้อีกเป็นครั้งที่ 3
“ มันจำเป็นที่เราต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้เป็นเบร็กซิทแบบโนดีล” แคทเธอรีน แมคกินเนสประธานฝ่ายการเงินของกรุงลอนดอนระบุในสุนทรพจน์ที่เน้นย้ำเรื่องการหมดความอดทนในการขึ้นภาษีครั้งใหญ่ที่สุดของอังกฤษกับนักการเมือง
“ การขยายเวลาออกไปจะเป็นเรื่องดี และหวังว่าอียูจะตกลงด้วย แต่ก็คงจะเป็นเหมือนพลาสเตอร์ปิดแผลอันบางๆ กับประเด็นลึกๆที่ต้องแก้ไขและเราทำให้มันก้าวหน้าได้” แมคกินเนสระบุ
เธอคาดการณ์ถึงความแข็งแกร่งของลอนดอนว่าจะยังคงเป็นศูนย์กลางการเงินของโลกต่อไป แต่ดูเหมือนว่าบริการทางการเงินจะถูกซุกอยู่จากความพยายามของอังกฤษที่จะรักษาดีลไว้ให้ได้
จอห์น เกล็น รมว.กระทรวงธุรกิจทางการเงินของอังกฤษระบุว่า บรรดานายธนาคารมีสิทธิที่จะรู้สึกท้อแท้สิ้นหวังกับความล้มเหลวที่อีกเพียงสัปดาห์เดียวก็จะถึงกำหนดเบร็กซิท แต่เสริมว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะยอมรับว่า “ไม่น่าเป็นไปได้” ที่จะมีเบร็กซิทแบบโนดีลเกิดขึ้น
โดยประธาน Barclays สะท้อนการมองโลกในแง่ดีเช่นนี้ว่า
“ สุดท้ายแล้ว จะต้องมีดีลเกิดขึ้น ” แมคฟาร์เลนกล่าวในการประชุม โดยเสริมว่า ลอนดอนมีวิวัฒนาการมาเป็นศูนย์กลางการเงินเพราะมีความเปิดกว้าง แต่อียูดูจะคิดว่าตัวเองเป็น “ ระบบปืด”
อย่างไรก็ตาม นอร์แมน แบล็คเวล ประธาน Lloyds Banking Group ระบุว่า เบร็กซิทเป็นโอกาสสำหรับเสถียรภาพในการกำกับดูแล ลดภาระเงินทุน และรายงานกฎสำหรับบริษัทการเงินที่มุ่งเน้นแต่ในประเทศ
โดยแบล็คเวลระบุว่า เป็นความเท่าเทียมกันในการทำงานทั้งสองด้าน และอังกฤษไม่ควรเดินตามอียูแบบมืดบอดหลังเบร็กซิท
ทั้งนี้ ธนาคารหลายแห่ง รวมทั้ง Barclays เอง บริษัทประกัน และผู้จัดการทรัพย์สินต่างเคลื่อนย้ายทรัพย์สินกว่า 1 ล้านล้านปอนด์เข้าไปในฮับใหม่ในอียูเพื่อหลีกเลี่ยงจากอุปสรรคของเบร็กซิท
“ ในวันที่ 30 มี.ค. ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ตลาดการเงินยุโรปจะยังอยู่ในลอนดอน” แมคฟาร์เลนกล่าว.