เงินบาทแข็งค่าเร็วสุด ได้แรงหนุนต่อจาก GDP
ค่าเงินบาทมีแนวโน้มเติบโตตามรอยผลประกอบการในปีก่อน ซึ่งเป็นปีที่ค่าเงินบาทแข็งค่าที่สุดในเอเชีย ข้อมูลการเติบโตของผลประกอบการเมื่อวันที่ 18 ก.พ.ยิ่งเผยให้เห็นจุดแข็งสำคัญ และจะยิ่งช่วยให้เงินบาทแซงขึ้นนำค่าเงินอื่น ๆ ได้ตลอดจนจบไตรมาสแรก
หลังจากที่ค่าเงินบาทต้องตกเป็นรองค่าเงินเยนเมื่อปี 61 ล่าสุดเงินบาทกล้บมาฉายแววแซงหน้าค่าเงินอื่นในภูมิภาคเดียวกันได้แล้ว โดยล่าสุดแข็งค่าขึ้นถึง 4% เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องด้วยเศรษฐกิจภายในประเทศที่มีความแข็งแกร่งและการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ช่วยให้เงินบาทเอาชนะค่าเงินวอนของเกาหลีใต้ และดอลลาร์ไต้หวันได้
ฮิโรโนริ ซันนามิ นักซื้อขายสกุลเงินในตลาดเกิดใหม่จากธนาคารมิซูโฮะ ในโตเกียว ระบุว่า “ผลประกอบการค่าเงินบาทเป็นผลมาจากปัจจัยพื้นฐานของประเทศที่มีความแข็งแกร่งอย่างแท้จริง และยังเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอีกด้วย รวมไปถึงข้อเท็จจริงที่ว่าประเทศไทยมีความเกี่ยวข้องกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนน้อยกว่าประเทศที่มีเศรษฐกิจเกินดุลการค้า อย่างเกาหลีใต้และไต้หวัน”
นอกจากนี้ประเทศไทยยังได้รับความเสี่ยงจากการชะลอตัวลงของภาคเทคโนโลยีน้อยกว่าประเทศเกาหลีใต้และไต้หวัน ยิ่งเพิ่มความดีงดูดของค่าเงินบาทให้มากขึ้น
ฟรานซิส เชิง หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์จุลภาคประจำทวีปเอเชีย จากบริษัทธนาคารเวสต์แพค แบงกิง คอร์ป ในสิงคโปร์ ระบุว่า ด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยที่มีมูลค่าคิดเป็น 1 ใน 5 ของเศรษฐกิจโดยรวมทั้งหมด กำลังฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ข้อมูลที่มีการเปิดเผยเมื่อวันที่ 18 ก.พ.ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึง GDP ที่เติบโตขึ้น 3.6% ของเศรษฐกิจไทยประจำปีในไตรมาสที่ 4 ถือเป็นไตรมาสที่ 12 ติดต่อกันที่มีตัวเลขการเติบโตสูงกว่า 3% ด้านธนาคารแห่งประเทศไทยระบุผ่านการแถลงนโยบายเมื่อวันที่ 6 ก.พ. ว่า เศรษฐกิจของประเทศคงมีแรงผลักดันให้เติบโตต่อไปได้ แม้ว่าอุปสงค์จากภายนอกประเทศจะกำลังชะลอตัว
ที่จริงแล้ว สถานะทางเศรษฐกิจเป็นหนึ่งเหตุผลที่ธนาคารแห่งประเทศไทยยังคงใช้นโยบายที่ไม่ประนีประนอม ต่างจากธนาคารของประเทศอื่นทั่วโลก แม้จะคงอัตราดอกเบี้ยที่ 1.75% ไม่เปลี่ยนแปลงจากการประชุมครั้งล่าสุด โดยสมาชิกบอร์ดบริหารผู้กำหนดนโยบาย 2 รายโหวตให้มีการปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% เป็นการส่งสัญญาณว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกในอนาคต และหนุนต่อเนื่องให้ค่าเงินบาทมีความดึงดูดใจ
ธนาคารแห่งประเทศไทยจับตามองค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด และพร้อมจะช่วยการขยับเคลื่อนไหวของค่าเงินที่แข็งค่ามากเกินไป โดย ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยกล่าวให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวเมื่อวันที่ 14 ก.พ.ว่า การปรับขึ้นดอกเบี้ยในเดือนธ.ค.ไม่ได้ช่วยหนุนค่าเงินบาท แต่เงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง การเกินดุลบัญชีเดินสะพัด และการฟื้นตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนค่าเงินบาท
อย่างไรก็ตาม อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญของประเทศไทยคือ การเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในวันที่ 24 มี.ค.นี้ และนักลงทุนกำลังจับตามองอย่างใกล้ชิดหากเกิดความแตกแยกทางการเมืองขึ้นอีกครั้ง หากสามารถควบคุมปัจจัยการเมืองได้ เศรษฐกิจจะเติบโตไปได้ดีไม่ว่าพรรคการเมืองใดชนะก็ตาม และเงินบาทจะยังคงโดดเด่นต่อไปในภูมิภาค