ส่อง “ตลาดแรงงานไทย” หลังโควิด สัญญาณฟื้นตัว หนุนเศรษฐกิจปี 66
ตัวชี้วัดเศรษฐกิจไทยที่ดีอย่างหนึ่งก็คือสถานการณ์แรงงานที่บ่งบอกถึงการมีงานทำ ชั่วโมงการทำงาน อัตราการว่างงานของแรงงานทั้งในและนอกระบบ
ในช่วงที่ผ่านมาที่ประเทศไทยเผชิญกับสถานการณ์โควิด-19 อัตราการว่างงานเคยพุ่งสูงไปกว่าระดับปกติโดยสูงสุดในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 ที่อัตราการว่างงานเคยสูงสุดที่ 2.29% ของแรงงานทั้งหมด มีจำนวนผู้ว่างงานในระบบถึงเกือบ 1 ล้านคน ซึ่งสูงกว่าระดับปกติที่อัตราการว่างงานของไทยจะอยู่ที่ประมาณ 1% เท่านั้น
อย่างไรก็ตามเมื่อสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายลง และประเทศไทยเริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยวตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2565 ก็ทำให้สถานการณ์เศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้น การจ้างงานในสาขาต่างๆเริ่มปรับตัวดีขึ้นตามลำดับส่งผลให้การจ้างงานฟื้นตัวดีขึ้น และส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้ต่อเนื่องไปถึงปี 2566
ตลาดแรงงานไทยฟื้นตัวใกล้เคียงก่อนการระบาดโควิด-19
ล่าสุดสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงภาวะสังคมไทยไตรมาส 3 ปี 2565 นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่าตลาดแรงงานของไทยในทุกวันนี้เริ่มมีการฟื้นตัวขึ้นมาใกล้เคียงกับช่วงที่ยังไม่มีการระบาดของโควิด-19 โดยในช่วงไตรมาสที่ผ่านมาการจ้างงานของไทยปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการขยายตัวต่อเนื่อง 3 ไตรมาสติดกัน มีผู้มีงานทำทั้งสิ้น 39.6 ล้านคน ผู้ว่างงานลดลงเหลือ 5 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงานอยู่ที่ 1.23% ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4
โดยการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาจากการขยายตัวของการจ้างงานนอกภาคเกษตร โดยเฉพาะในสาขาภาคขนส่ง ค้าปลีก โรงแรม และภัตตาคาร ที่การจ้างงานเพิ่มขึ้น 4.5% และ 8.3% ตามลำดับ จากการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทยสูงถึง 3.6 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามายังประเทศไทยเพียง 4.5 หมื่นคนเท่านั้น
การเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวทำให้ภาคธุรกิจท่องเที่ยว และธุรกิจที่เกี่ยวข้องต่อเนื่อง มีการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้จำนวนแรงงานที่อยู่ในภาคท่องเที่ยวในขณะนี้ยังไม่เพียงพอที่จะรองรับภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวขึ้น โดยผลสำรวของสมาคมโรงแรมไทยในเดือน ก.ย. 2565 ที่ผ่านมาพบว่าผู้ประกอบการโรงแรมกว่า 77%
การจ้างงานสาขาการผลิต การส่งออกโต
ขณะที่สาขาการผลิตมีการจ้างเพิ่มขึ้น 1.4% โดยมีอัตราการใช้กำลังการผลิตในไตรมาสสามปี 2565 เท่ากับ 62.55 เพิ่มสูงขึ้น จาก 58.51 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน รวมทั้งการส่งออกที่ขยายตัวได้ต่อเนื่องที่ 6.7% ขณะที่ภาคเกษตรกรรม การจ้างงานลดลง 2.4% ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากอุทกภัยตั้งแต่เดือนก.ค. 2565 ที่ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 59 จังหวัด โดยปัจจุบัน ยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วมใน 18 จังหวัด
ซึ่งภาคเกษตรกรรมของกลุ่มจังหวัดที่เผชิญกับปัญหาอุทกภัยนั้น มีแรงงาน ที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตร 8.3 ล้านคน และแรงงานในกลุ่มมีจำนวน 8.9 แสนคนที่เป็นแรงงานยากจนของภาคเกษตร นอกจากนี้ผลกระทบจากอุทกภัยยังส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องโดยดัชนี ราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น 20.1% ส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน
ชั่วโมงการทำงานปรับตัว ดีขึ้นโดยไตรมาสสามของปีนี้ใกล้เคียงกับสถานการณ์ปกติช่วงก่อนการแพร่ระบาดในปี 2565 ชั่วโมงการทำงานหลักของแรงงานทั้งหมดและภาคเอกชนเฉลี่ยอยู่ที่ 42.5 และ 46.7 ชั่วโมง/สัปดาห์ตามลำดับ ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น เช่นเ 5.5% และ 6.3% จากปีก่อน
นอกจากนี้การทำงานตำระดับลดลงจาก 8.0 แสนคน ในไตรมาสสาม ปี 2564 เหลือเพียง 6.8 หมื่นคน ในปัจจุบัน นอกจากนี้จำนวนแรงงานที่ว่างงานแฝง หรือผู้ที่ทำงานต่ำกว่า 10 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และต้องการทำงานเพิ่ม และกำลังรองาน หรือรอฤดูกาลมีจำนวนทั้งสิ้น 6.9 หมื่นคน ลงลดลงจากปีก่อนหน้าถึง 80.5% รวมทั้งเริ่มมีการทำงานนอกเวลา (OT) เพิ่มขึ้น โดยมีแรงงานกว่า 6.8 ล้านคนที่ทำ OT ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันกับก่อนการแพร่ระบาดของโตวิด -19 ที่แรงงานที่ทำ OT มี 7 ล้านคน ส่วนผู้เสมือนว่างงาน หรือผู้ที่ทำงาน 0 -20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในภาคเกษตรกรรม และ 0 – 24 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ นอกภาคเกษตรกรรม มีจำนวนเหลือ 1.9 ล้านคน ลดลงมากถึง 42.8% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ค่าจ้างแรงงานเพิ่มแต่ต่ำกว่าเงินเฟ้อ
สำหรับค่าจ้างแรงงานปรับเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องแต่ค่าจ้างที่แท้จริงหดตัว ค่าจ้างแรงงานภาคเอกชน และภาพรวม เฉลี่ยอยู่ที่ 13,751 และ 15,213 บาทต่อคนต่อเดือน เพิ่มสูงขึ้น 5.3% และ 3.8% ตามลำดับ และขยายตัวต่ออเนื่อง แต่กระนั้นผลของเงินเฟ้อทำให้ค่าจ้างที่แท้จริงหดตัวลง โดยค่าจ้างที่แท้จริงของแรงงานของภาคเอกชนหดตัว 1.7% และค่าจ้างที่แท้จริงในภาพรวมหดตัวถึง 3.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น แม้ค่าจ้างจะสูงขึ้นแต่ไม่ทำให้ความสามารถในการใช้จ่ายของแรงงานเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เงินเฟ้อที่สูงจะกระทบ
งานนอกระบบมากกว่าแรงงนในระบบ เนื่องจาก แรงงานในระบบจะได้ประโยชน์จากการขึ้นค่าแรงในเดือน ต.ค. 2565 ขณะที่ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพสระและกลุ่มแรงงานที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคมจะได้รับผลกระทบมากกว่า
ขณะที่แรงงานอกระบบของไทยมีจำนวนมากถึง 20 ล้านคน หรือคิดเป็น 50.5% ของแรงงานทั้งหมด จะได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเมื่อพิจารณาระดับการศึกษาของแรงงานกลุ่มดังกล่าว พบว่า กว่าครึ่งจบการศึกษาระดับประถมศึกษาและต่ำกว่า และอีก 32.6 % จบระดับมัธยมศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นซึ่งนับว่าเป็นกลุ่มที่มีรายได้น้อย
ส่วนการว่างงานตามระดับการศึกษาลดลงทุกระดับ เช่นเดียวกับการว่างงานระยะยาว ที่ลดลงเหลือเพียงแสนคน จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 1.8 แสนคน และลดลงจากไตรมาสก่อนที่มีจำนวน 1.5 แสนคน ขณะที่ สถานการณ์การว่างงานในระบบปรับตัวลดลง โดยผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานในไตรมาสสาม ปี 2565 มีจำนวน 2.3 แสนคน คิดเป็นสัดส่วนต่อผู้ประกันตนภาคบังคับอยู่ที่ 1.99% ลดลงจาก 2.47% ในช่วงไตรมาสสาม ปี 2564
แนะขึ้นค่าแรงสอดคล้องทักษะแรงงาน
สำหรับประเด็นด้านแรงงานที่ควรให้ความสำคัญได้แก่ 1.การมีแนวทางบรรเทาภาระค่าครองชีพของ
แรงาน โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานนอกระบบ ซึ่งจะได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งต้องสร้างสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจให้เอื้อต่อการมีรายได้ รวมทั้งต้องมีมาตรการเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและควบคุมดูแลราคาสินค้าจำเป็นให้มีความเหมาะสม
อย่างไรก็ตาม สศช.ไม่เห็นด้วยกับการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำแบบก้าวกระโดด โดยไม่สอดคล้องกับทักษะ ของแรงงาน ทั้งนี้เรื่องของค่าแรงขั้นต่ำ ถือว่าเป็นผลตอบแทนของแรงงานไร้ทักษะที่จะได้ค่าแรงตามที่กฎหมายกำหนด ขณะที่ปัจจุบันสิ่งที่รัฐทำมาโดยตลอดหลายปีที่ผ่านมาคือการอัพสกิล-รีสกิลแรงงานเพื่อเพิ่มทักษะ และทำให้แรงงานให้มีรายได้ตรงกับทักษะที่เขามี
หากมีการขยับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำค่าจ้างแรงงานก็จะปรับเพิ่มขึ้นไปด้วยทั้งระบบทั้งแรงงานที่มีทักษะและไม่มีทักษะ ดังนั้นภาระก็จะตกอยู่กับผู้ประกอบการ หากมีการปรับขึ้นค่าแรงภาคอุตสาหกรรมก็ต้องปรับไปใช้หุ่นยนต์แทนซึ่งก็จะตามมาด้วยการปลดคนงานต่อ ซึ่งสิ่งที่ควรทำคือการเพิ่มทักษะแรงงานให้สูงขึ้น และเพิ่มค่าใช้จ่ายตรงนั้นมั่นใจว่าภาคอุตสาหกรรมยอมรับได้
ขณะเดียวกันการปรับเพิ่มเงินเดือนเด็กจบใหม่(ป.ตรี) ซึ่งมีข้อเสนอจากบางพรรคให้เพิ่มเงินเดือนเริ่มต้นเป็น 25,000 บาท คาดจะส่งผลกระทบต่อทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ อย่างที่ผ่านมาที่มีการปรับเพิ่มขึ้นเงินเดือนเด็กจบใหม่ 15,000 บาท ภาครัฐก็ต้องมีการปรับเพิ่มเงินเดือนข้าราชการเช่นกัน เพื่อให้เกิดกรอบที่ชัดเจนระหว่างเด็กจบใหม่และคนที่ทำงานมาก่อนแล้ว เช่น ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ ซึ่งต้องปรับฐานขึ้นมาส่งผลกระทบต่อภาระงบประมาณ
“ที่ผ่านมาเราได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด ซึ่งแน่นอนว่ายังมีข้อจำกัดของฐานะการเงินการคลัง และต้องดูวินัยการเงินการคลังในระยะถัดไปด้วย สิ่งที่น่าจะทำคือการพัฒนาฝีมือแรงงานให้มีคุณภาพและปรับเงินเดือนตามฝีมือแรงงานดีกว่า” นายดนุชา กล่าว
2.การเร่งช่วยเหลือและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยโดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรที่ยากจน แม้ว่าปัจจุบันสถานการณ์น้ำท่วมจะคลี่คลายมากขึ้น และรัฐมีมาตรการช่วยเหลือแก่ครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบแล้ว แต่กระนั้นกลุ่มเกษตรกรที่มีสถานะยากจน อาจได้รับความเสียหายที่รุนแรงกว่ากลุ่มอื่น เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่จะมีปัญหาหนี้สินสะสมอยู่สูง และขาดเงินออมซึ่งผลกระทบจากน้ำท่วม นอกจากจะทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเสียหายแล้วยังส่งผลต่อการลงทุนในการทำการเกษตรในรอบฤดูเพาะปลูกถัดไปด้วย อย่างไรก็ดี ปัจจุบันกรมส่งเสริมการเกษตรมีการสนับสนุนชีวภัณฑ์ท่อนพันธุ์ และให้ความช่วยเหลือเกษตรกร ผู้ประสบภัยพิบัติแล้ว รวมทั้งสถาบันการเงินของรัฐมีโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่เกษตรกร ซึ่งน่าจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนทางด้านการเงินให้เกษตรกรได้บางส่วนอย่างไรก็ตาม ควรต้องมีการดำเนินการให้ครอบคลุม และทั่วถึง
และ 3.การสนับสนุนให้ผู้ว่างงานเข้าสู่ระบบการอบรมและพัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพเกี่ยวกับภาคการท่องเที่ยว เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และส่งเสริมให้ผู้ว่างงานมีงานทำเพิ่มขึ้น