สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 5 พ.ย. 65
ประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกมีฝนเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ส่วนภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักมากบริเวณ จ.นครศรีธรรมราช (131 มม.) จ.สงขลา (114 มม.) และ จ.นราธิวาส (111 มม.)
น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 44,077 ล้าน ลบ.ม. (76%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 36,338 ล้าน ลบ.ม. (76%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
สถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา 5 พ.ย. 65 ที่สถานีวัดน้ำ C.2 อ.เมือง จ.นครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,542 ลบ.ม./วินาที และเขื่อนเจ้าพระยาในอัตราประมาณ 1,397 ลบ.ม./วินาที โดยมีแนวโน้มลดลง
สถานการณ์น้ำ จ.อุบลราชธานี 5 พ.ย. 65 สถานีวัดน้ำ M.7 บริเวณสะพานเสรีประชาธิปไตย อ.เมืองอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี มีปริมาณน้ำไหลผ่านในอัตรา 3,444 ลบ.ม./วินาที โดยมีแนวโน้มลดลง และคาดว่าสถานการณ์น้ำในแม่น้ำมูลจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติในช่วงกลางเดือน พ.ย. 65
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ เร่งพัฒนาความร่วมมือสมาชิกลุ่มน้ำโขงตอนล่าง
วานนี้ 4 พ.ย. 65 พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย ครั้งที่ 2/2565 โดยมี ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุม ณ มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร และร่วมกับการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
การประชุมเพื่อเตรียมการสำหรับการเข้าร่วมการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ครั้งที่ 29 และการประชุมระหว่างคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง กับกลุ่มหุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 27 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 24 พ.ย. นี้ ณ ประเทศเวียดนาม โดยที่ประชุมได้พิจารณากรอบการหารือสำหรับการประชุมดังกล่าว ได้แก่
1. ร่างปฏิญญาสำหรับการประชุมสุดยอดผู้นำลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ครั้งที่ 4 และกำหนดการประชุมสุดยอดผู้นำลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ครั้งที่ 4 ในเดือน เม.ย.66 และ 2) การอนุมัติแผนการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ประจำปี พ.ศ.2566 – 2567
โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบกรอบการหารือดังกล่าว เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้ สทนช. เร่งดำเนินการตามมติที่ประชุม และขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนข้อคิดเห็นเพื่อให้ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 5 พ.ย. 2565 ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานตาม 9 มาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2564/65
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ติดตามโครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการอุปโภคบริโภคขนาดใหญ่ จำนวน 9 แห่ง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 (งบกลาง) ที่บ้านพัฒนา ตำบลกุดเรือคำ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร เพื่อให้เป็นไปด้วยความถูกต้องตามแบบแผนและแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด พร้อมมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติภารกิจในพื้นที่รับผิดชอบ
2. สภาพอากาศ
บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาว โดยอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย ประกอบกับลมตะวันตกพัดปกคลุมภาคเหนือตอนบน ทำให้บริเวณภาคเหนือมีฝนตกเล็กน้อย ส่วนในช่วงวันที่ 6 – 10 พ.ย. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้น 1 – 3 องศาเซลเซียส และมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง สำหรับร่องมรสุมยังคงพาดผ่านบริเวณภาคใต้ตอนล่าง ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 4 – 6 พ.ย. 65 ร่องมรสุมที่พาดผ่านบริเวณภาคใต้ตอนล่างจะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีลมตะวันออกพัดปกคลุมอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากในช่วงวันที่ 4 – 6 พ.ย. 65
3. แหล่งน้ำทั่วประเทศ
3.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำ 68,227 ล้าน ลบ.ม. (83%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ปริมาณน้ำ 60,059 ล้าน ลบ.ม. (84%) ขนาดกลาง 355 แห่ง ปริมาณน้ำ 5,005 ล้าน ลบ.ม. (91%) และขนาดเล็ก 139,894 แห่ง ปริมาณน้ำ 3,163 ล้าน ลบ.ม. (62%)
3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) ปริมาณน้ำใช้การ 14,091 ล้าน ลบ.ม. (78%)
4. การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
วานนี้ (4 พ.ย. 65) พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย ครั้งที่ 2/2565 โดยมี ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุม ณ มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด กรุงเทพมหานคร ร่วมกับการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นการเตรียมการสำหรับการเข้าร่วมการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ครั้งที่ 29 และการประชุมระหว่างคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง กับกลุ่มหุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 27 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 24 พฤศจิกายน นี้ ณ ประเทศเวียดนาม โดยที่ประชุมได้พิจารณากรอบการหารือสำหรับการประชุมดังกล่าว ได้แก่ 1) ร่างปฏิญญาสำหรับการประชุมสุดยอดผู้นำลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ครั้งที่ 4 และกำหนดการประชุมสุดยอดผู้นำลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ครั้งที่ 4 ในเดือนเมษายน 2566 และ 2) การอนุมัติแผนการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ประจำปี พ.ศ. 2566 – 2567 โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบกรอบการหารือดังกล่าว เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้ สทนช. เร่งดำเนินการตามมติที่ประชุม และขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนข้อคิดเห็นเพื่อให้ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด