โตเกียวโอลิมปิกรับมือสภาพอากาศแปรปรวน
ความเป็นไปได้ที่จะเกิดอากาศร้อนจัดและพายุไต้ฝุ่นในกรุงโตเกียวเป็นประเด็นสำคัญสำหรับการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในอีก 2 ปีหน้า ผู้บริหารในการจัดการระบุเมื่อวันที่ 29 พ.ย.ว่าอาจส่งผลกับงบประมาณ
ในการชี้แจงกับคณะกรรมการโอลิมปิกทั่วโลก โทขิโร มูโตะ ซีอีโอของโตเกียวระบุว่า เมืองของของญี่ปุ่นได้เผชิญกับ “คลื่นความร้อนที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนและพายุไต้ฝุ่นรุนแรงในฤดูร้อนที่ผ่านมา”
“ โตเกียวโอลิมปิกปี 2563 จึงมีการพิจารณาเรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญ” มูโตะกล่าว โดยเสริมว่า ทางผู้จัดงานและคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) กำลังประสานความร่วมมือกันในหลายทางเพื่อบรรเทาผลกระทบกับนักกีฬาและแฟนกีฬา
เมื่อวันที่ 28 พ.ย. Thomas Bach ประธาน IOC ระบุว่า ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เป็นมาตรการที่นำเสนอขึ้นมาเพื่อปกป้องผู้เข้าแข่งขันและผู้สนับสนุนตลอดทั้งเกมการแข่งขัน
กรุงโตเกียวต้องประสบกับคลื่นความร้อนที่รุนแรงอย่างต่อเนื่องในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา ก่อให้เกิดความกังวลถึงสภาพของนักกีฬา โดยเฉพาะผู้เข้าแข่งขันที่ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่ต้องใช้พลังแรงกายอย่างที่สุด เช่น การแข่งขันวิ่งมาราธอน และการเดินทน
โดยทางผู้จัดงานได้ปรับเปลี่ยนให้การแข่งขันวิ่งมาราธอนเริ่มแข่งขันในเวลา 07.00 น.เพื่อให้เริ่มต้นในสภาพอากาศเย็น แต่ทางผู้จัดงานกำลังพิจารณาจะเลื่อนเวลาการแข่งขันให้เร็วขึ้นอีก โดยกลุ่มแพทย์ญี่ปุ่นแนะนำว่า หากไม่สามารถเริ่มการแข่งขันวิ่งมาราธอนให้เร็วขึ้น อาจทำให้เกิดกรณีการเสียชีวิตจากอาการฮีทสโตรกได้
ทั้งนี้ เมื่อครั้งที่ญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพการแข่งขันโอลิมปิกในปี 2507 การแข่งขันจัดขึ้นในเดือน ต.ค.เพื่อหลีกเลี่ยงสภาพอากาศที่มีความชื้นสูงและความร้อน
ทางมูโตะกล่าวว่า จะส่งต่อข้อมูลสภาพอากาศให้กับคณะกรรมการโอลิมปิกสากลเพื่อช่วยให้นักกีฬาเตรียมตัวสำหรับสภาพอากาศที่พวกเขาต้องเผชิญ ในการให้สัมภาษณ์สื่อในเวลาต่อมา มูโตะชี้แจงว่า มาตรการเอาชนะความร้อนทำให้ต้องมีการใช้งบประมาณมากขึ้นโดยทางผู้จัดงานยังมีแผนรับมือ ด้วยการทาสีกันความร้อนบนถนนหลายสาย
ซีอีโอของญี่ปุ่นระบุว่า ขณะที่มาตรการเหล่านี้อาจส่งผลให้งบประมาณสูงขึ้น แต่โตเกียวโอลิมปิกก็ได้ตัดงบประมาณในส่วนอื่นลง
โดยการแข่งขันโตเกียวโอลิมปิกมีงบประมาณรอบใหม่ จากประเด็นที่ยังไม่ได้เปิดเผยในเดือน ธ.ค. ซึ่งจะไม่สูงกว่าเป้า 12,600 ล้านดอลลาร์ในปีที่แล้วที่มีการจ่ายให้ในการดำเนินการ มูโตะกล่าว
ซีอีโอ ชี้ให้เห็นภาพการเตรียมตัวสำหรับการแข่งขันในกรุงโตเกียว โดยนับถอยหลังอีกกว่า 600 วันจะถึงพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ
“ เราควบคุมค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างให้อยู่ในกรอบที่กำหนดได้ และจะเสร็จสมบูรณ์ทันเวลาสำหรับการทดสอบ “ ซึ่งจะมีขึ้นก่อนการแข่งขันจริง
Thomas Bach ประธาน IOC ระบุเมื่อวันที่ 29 พ.ย.ว่า “ ผมไม่เคยจำได้ว่า มีเมืองเจ้าภาพในประเทศใดจนถึงตอนนี้ ที่มีการเตรียมตัวพร้อมก่อนนานถึง 2 ปีก่อนการแข่งขันโอลิมปิกเหมือนโตเกียว ”.