บ.ไฮเทคสหรัฐฯหนุนปชช.เลือกตั้ง
ชาวอเมริกันมีกำหนดการไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในวันที่ 6 พ.ย.ในการเลือกส.ส.กลางเทอม และบริษัทยักษ์ใหญ่เทคโนโลยีหลายแห่งได้ออกแคมเปญรณรงค์ช่วยหนุนให้คนออกไปใช้สิทธิมากขึ้น
โดยบริษัทเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญกับผู้ใช้งานในการเลือกตั้งครั้งนี้ เมื่อถาม Alexa ของอเมซอน ว่า “ การเลือกตั้งอัพเดทไปถึงไหนแล้ว ? ” ผู้ใช้งานจะได้รับข้อมูลล่าสุดของการเลือกตั้งทั้งในส่วนสภาคองเกรสและของรัฐที่เจาะจงกับผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ได้ลงทะเบียนแล้ว
ขณะที่ Assistant ของกูเกิลจะให้คำแนะนำกับผู้มีสิทธิเลือกตั้งว่าจะไปลงคะแนนเลือกตั้งที่ไหน และให้ข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับผลการเลือกตั้งที่กำลังนับกันอยู่ และ Siri ของแอปเปิลสามารถตอบคำถามเกี่ยวกับการเลือกตั้ง หรือ หากไม่มีคำตอบในทันที สามารถแนะนำผู้ใช้งานให้เข้าไปในเว็บเพจที่เกี่ยวข้อง หรือแอปพลิเคชั่นข่าวของแอปเปิล
การเข้าร่วมในเดือนก.ย.ของบริษัทที่แตกต่างหลากหลายในสหรัฐฯ ในแคมเปญ Time for Vote มีเป้าหมายสำคัญคือการเพิ่มจำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง และกระตุ้นให้พนักงานมีความตื่นตัวกับการมีส่วนร่วมในทางการเมือง
“ หลายบริษัทที่เข้าร่วมในการรณรงค์เลือกตั้งมีข้อผูกพันที่จะเพิ่มจำนวนผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งให้มากขึ้นผ่านโปรแกรมของพวกเขา เช่น ขอเวลานอก วันที่ไม่มีประชุม และแหล่งข่าวสำหรับการเลือกตั้ง และก่อนลงคะแนน ” อ้างอิงจากการแถลงข่าวการรณรงค์ให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในเดือนก.ย. โดยมี 24 บริษัทที่เข้าร่วมในแคมเปญ ซึ่งรวมทั้ง The Gap, Pay Pal, Walmart ด้วย
Lyft ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการรถร่วมโดยสารได้ออกแคมเปญ ‘Ride to Vote’ ในช่วงฤดูร้อนเพื่ออำนวยความสะดวกในการพาผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกไปที่คูหาเลือกตั้ง “ เราให้คำมั่นที่จะจัดหาผู้ขับ 50% ทั่วประเทศ และบริการฟรีเพื่อให้บริการชุมชนที่มีปัญหาในการเดินทาง ” บริษัทแถลง
โดยชี้ให้เห็นถึงความจริงที่ว่า การคมนาคมเป็นอุปสรรคสำคัญกับโอกาสของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 15 ล้านรายในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯในปี 2559 ที่ผ่านมา
ขณะที่คู่แข่งซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมอย่างอูเบอร์ก็ไม่อยากถูกทิ้งให้ตกขบวนอยู่ข้างหลังเช่นกัน โดยบริษัทประกาศในเดือนต.ค.ถึงมาตรการที่จะช่วยการเลือกตั้งของชาวอเมริกัน รวมถึงฟีเจอร์ในแอปที่จะช่วยให้ผู้ใช้สิทธิจองรถไปสถานที่ตั้งของคูหาเลือกตั้ง ให้บริการฟรี และให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งกับผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ทั้งนี้ Tinder , Snapchat รวมถึงแอปดนตรีอย่าง Pandora ล้วนมีส่วนร่วมในการรณรงค์ให้ประชาชนชาวอเมริกันไปใช้สิทธิเลือกตั้งให้มากขึ้นในครั้งนี้ด้วย
ทวิตเตอร์และเฟซบุ๊ก ซึ่งถูกไต่สวนโดยคณะกรรมาธิการของวุฒิสภาในกรณีถูกใช้เป็นเครื่องมือในการแทรกแซงผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อปี 2559 ที่ผ่านมา มีความตั้งใจที่จะรีแบรนด์ตัวเองให้มากขึ้นในช่วงเวลาสำคัญนี้ โดยสื่อรายงานว่าเมื่อวันที่ 2 พ.ย.ที่ผ่านมา ทวิตเตอร์ได้ลบ กว่า 100,000 บัญชีผู้ใช้งานอัตโนมัติที่ถูกออกแบบมาเพื่อกันให้ประชาชนอยู่ห่างจากการเลือกตั้งไปจนหมด.