สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 11 ต.ค. 65
ภาคกลางตอนล่าง และภาคใต้ฝั่งตะวันออกยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.กาญจนบุรี (118 มม.) จ.สมุทรสงคราม (117 มม.) และ จ.ชลบุรี (112 มม.)
แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 48/2565
เฝ้าระวังระดับน้ำแม่น้ำชี การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้มีหนังสือถึง กอนช. แจ้งเตือนระดับน้ำเขื่อนอุบลรัตน์เข้าสู่สภาวะวิกฤต ระดับ 3 คาดการณ์ว่าระดับน้ำจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงระดับวิกฤตหรือสูงกว่าคันดินโนนสัง ซึ่งจะทำให้พื้นที่ท้ายเขื่อนอุบลรัตน์มีระดับน้ำสูงขึ้นและอาจกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณ อ.อุบลรัตน์ เขาสวนกวาง ซำสูง น้ำพอง และอ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น และเฝ้าระวังพนังกั้นน้ำริมแม่น้ำชี ตั้งแต่ จ.ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด และยโสธร
ศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ได้คาดการณ์ระดับน้ำในแม่น้ำชีด้านท้ายอ่างฯอุบลรัตน์ จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วงวันที่ 8 – 13 ต.ค. 2565 ดังนี้
1. อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น อ.โกสุมพิสัย อ.เมืองมหาสารคาม
จ.มหาสารคาม ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 0.10 – 0.50 เมตร
2. อ.จังหาร อ.ทุ่งเขาหลวง จ.ร้อยเอ็ด ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 0.10-0.60 เมตร
3. อ.เมืองยโสธร อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 0.30 เมตร
ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 66,440 ลบ.ม. (81%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 58,485 ล้าน ลบ.ม. (82%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 1 แห่ง บริเวณภาคใต้ เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 24 แห่ง ได้แก่ แม่งัด กิ่วคอหมา กิ่วลม แม่มอก แควน้อย ทับเสลา ป่าสัก กระเสียว ห้วยหลวง จุฬาภรณ์ อุบลรัตน์ ลำตะคอง ลำพระเพลิง มูลบน ลำแซะ ลำนางรอง สิรินธร ขุนด่าน คลองสียัด บางพระ หนองปลาไหล นฤบดินทร บึงบระเพ็ด และหนองหาร
วานนี้ (10 ต.ค. 65) พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการอำนวยการด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำครั้งที่ 3/2565 ด้วยรัฐบาลมีความห่วงใยต่อสถานการณ์น้ำเนื่องจากปริมาณฝนในปีนี้มากกว่าค่าปกติ สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการ ดังนี้
ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่ที่ยังประสบปัญหาอุทกภัย โดยเฉพาะบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา ชีและมูล พร้อมกำชับให้เร่งดำเนินการบริหารจัดการน้ำให้สถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็วที่สุด
บริหารจัดการน้ำทุกแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำมากกว่า 80% ของความจุ หรือมากกว่าระดับควบคุม ซึ่งมีความเสี่ยงต่อความมั่นคงแข็งแรงและอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนด้านท้ายน้ำของอ่างเก็บน้ำ โดยให้บริหารจัดการให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
ตรวจสอบคัน ทำนบ และพนังกั้นน้ำบริเวณพื้นที่ท้ายอ่างเก็บน้ำให้มีความมั่นคงปลอดภัย
บริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ฝน
เร่งแก้ไขปัญหาอุปสรรคเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในจุดต่าง ๆ ที่มีน้ำท่วมขังออกสู่ลำน้ำสายหลักเพื่อระบายออกสู่ทะเลโดยเร็ว
ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ (ร่าง) 10 มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 65/66 และให้เสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบโดยเร็วก่อนเข้าสู่ฤดูแล้งในต้นเดือน พ.ย. พร้อมมอบหมายให้หน่วยงานจัดทำแผนปฏิบัติการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามมาตรการดังกล่าวและจัดส่งให้ สทนช. เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการดำเนินการตามมาตรการและติดตามประเมินผลต่อไป