สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 21 ก.ย. 65
ประเทศไทยมีฝนตกหนักกับมีลมกระโชกแรง บางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก
ปริมาณฝน 24 ชั่วโมง สูงสุดที่ จ.นครราชสีมา (75) จ.จันทบุรี (74) และ จ.แพร่ (63)
ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 56,453 ล้าน ลบ.ม. (68%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 49,160 ล้าน ลบ.ม. (69%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 1 แห่ง บริเวณภาคเหนือ เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 13 แห่ง ได้แก่ แม่งัด แม่มอก ทับเสลา กระเสียว อุบลรัตน์ ลำตะคอง ลำพระเพลิง มูลบน ขุนด่านฯ คลองสียัด บางพระ หนองปลาไหล และบึงบระเพ็ด
เฝ้าระวังระดับน้ำบริเวณแม่น้ำชี-มูล ตั้งแต่วันที่ 21 ก.ย. 2565 ดังนี้
1. ลุ่มน้ำชี บริเวณ จ.กาฬสินธุ์ บริเวณ อ.กมลาไสย กุฉินารายณ์ ฆ้องชัย เมืองกาฬสินธุ์ ยางตลาด และร่องคำ จ.ขอนแก่น บริเวณ อ.โคกโพธิ์ไชย ชนบท บ้านแฮด พระยืน มัญจาคีรี แวงน้อย และแวงใหญ่ จ.ชัยภูมิ บริเวณ อ.คอนสวรรค์ เนินสง่า และเมืองชัยภูมิ จ.นครราชสีมา บริเวณ อ.แก้งสนามนาง และบ้านเหลื่อม จ.มหาสารคาม บริเวณ อ.โกสุมพิสัย กันทรวิชัย เมืองมหาสารคาม และ จ.ยโสธร บริเวณ อ.ค้อวัง คำเขื่อนแก้ว มหาชนะชัย และเมืองยโสธร จ.ร้อยเอ็ด บริเวณ อ.จังหาร เชียงขวัญ ทุ่งเขาหลวง ธวัชบุรี พนมไพร โพธิ์ชัย โพนทอง เมยวดี เมืองสรวง สุวรรณภูมิ เสลภูมิ และอาจสามารถ
2. ลุ่มน้ำมูล บริเวณ จ.นครราชสีมา บริเวณ อ.ชุมพวง ลำทะเมนชัย และเมืองยาง จ.บุรีรัมย์ บริเวณ อ.แคนดง และสตึก จ.สุรินทร์ บริเวณ อ.ชุมพลบุรี ท่าตูม และรัตนบุรี จ.ศรีสะเกษ บริเวณ อ.บึงบูรพ์ ห้วยทับทัน ราษีไศล เมืองศรีสะเกษ และกันทรารมย์ จ.อุบลราชธานี บริเวณ อ. เขื่องใน เมืองอุบลราชธานี วารินชำราบ และสว่างวีระวงศ์
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) กำชับหน่วยงานเพิ่มศักยภาพการระบายน้ำฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร
จากสถานการณ์ฝนตกหนักในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร โดยกรมชลประทาน ดำเนินการ ดังนี้
ติดตั้งเครื่องสูบน้ำระบบ Hydroflow ขนาด 42 นิ้ว (3.5 ลบ.ม./ วินาที ) เพิ่มเติมอีก 2 จุด ได้แก่ บริเวณประตูน้ำคลอง 19 จำนวน 3 เครื่อง และบริเวณประตูน้ำคลอง 20 อีก 3 เครื่อง
เร่งกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำและขุดลอกคลองเพิ่มเติม ได้แก่ คลองหกวา คลอง 19 คลอง 20 และคลอง 21 เพื่อช่วยเสริมประสิทธิภาพการระบายน้ำให้ระบายลงสู่แม่น้ำบางปะกงและอ่าวไทยได้เร็วยิ่งขึ้น
ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ขนาด 12 นิ้ว (0.3 ลบ.ม./วินาที) จำนวน 2 เครื่อง บริเวณหมู่บ้านฟลอร่าวิวล์ แขวงลำผักชี เขตหนอกจอก กรุงเทพมหานคร เพื่อสูบน้ำระบายน้ำท่วมขังในหมู่บ้านฟลอร่าวิวล์
ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ขนาด 12 นิ้ว (0.3 ลบ.ม./วินาที) เพิ่มอีก 2 เครื่อง บริเวณ หมู่2 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี เพื่อเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ชุมชนให้กลับสู่สภาวะปกติโดยเร็ว
ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 1 เครื่อง ที่บริเวณคลองบ้านกล้วย เทศบาลเมืองบางบัวทอง อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในช่วงฤดูฝนให้ดียิ่งขึ้น
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 21 ก.ย. 2565 ดังนี้
1. ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
ประกาศ ศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฉบับที่ 2/2565 ลงวันที่ 18 ก.ย. 2565 ศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แจ้งเฝ้าระวังระดับน้ำในลุ่มน้ำชี-มูล ในช่วงวันที่ 18 – 24 ก.ย. 2565 บริเวณลุ่มน้ำมูลตอนบนจะมีฝนตกหนัก ประกอบกับพื้นที่น้ำท่วมเอ่อล้นตลิ่งก่อนหน้านี้ขยายพื้นที่เพิ่มมากขึ้น และอ่างเก็บน้ำลำตะคอง ลำพระเพลิง และมูลบน มีปริมาณน้ำสูงกว่าเกณฑ์กักเก็บน้ำสูงสุด ศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าฯ ประสานให้กรมชลประทานพิจารณาปรับเพิ่มการระบายน้ำแบบขั้นบันไดเพื่อลดผลกระทบด้านท้ายน้ำ คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนราษีไศล อยู่ในเกณฑ์ 1,400 – 1,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และมวลน้ำจะไหลไปรวมกับแม่น้ำชีและลำน้ำสาขา ซึ่งจะทำให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี อยู่ในเกณฑ์ 2,600 – 2,800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 0.40 – 0.60 เมตร โดยอาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำอาจเกิดน้ำท่วมขังและล้นตลิ่ง
2. ผลการดำเนินงานตามมาตรการรองรับฤดูฝน ปี 2565
กรมชลประทาน ติดตั้งเครื่องสูบน้ำและกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำในคลองต่าง ๆ เพิ่มเติม เพื่อเพิ่มศักยภาพในการระบายน้ำออกจากพื้นที่ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานครให้เร็วยิ่งขึ้น และบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนให้มากที่สุด ตามนโยบายของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี
3. สถานการณ์น้ำท่วม
ร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคกลางตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะมีกําลังแรงขึ้น ทำให้มีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง น้ำล้นตลิ่ง ในระหว่างวันที่ 4 – 20 ก.ย. 65 ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ชุมชนเมืองและพื้นที่เกษตรกรรม รวม 22 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตาก ลพบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท สุพรรณบุรี กรุงเทพมหานครนครปฐม หนองบัวลำภู ชัยภูมิ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ยโสธร อุบลราชานี นครราชสีมา สุรินทร์ ศรีสะเกษ และ ชลบุรี
4. การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
วานนี้ (20 ก.ย. 65) กรุงเทพมหานคร จัดกิจกรรมฟื้นฟูคลองหัวลำโพง ตามโครงการนำร่อง (Pilot Project) เนื่องในวันอนุรักษ์และพัฒนาแม่น้ำคูคลองแห่งชาติ ณ บริเวณหน่วยเก็บขยะทางน้ำคลองหัวลำโพง เขตคลองเตย พร้อมทั้งร่วมปลูกต้นอโศกอินเดีย จำนวน 70 ต้น