หมู่เกาะแฟโรล่าวาฬครั้งใหญ่เลือดย้อมทะเล
ภาพของการล่าวาฬในหมู่เกาะแฟโรซึ่งห่างจากแผ่นดิน 200 ไมล์ ตั้งอยู่ทางเหนือของประเทศสก็อตแลนด์ ก่อให้เกิดประเด็นความไม่พอใจจากนักอนุรักษ์และนักกิจกรรมเพื่อสัตว์อย่างรุนแรง
ภาพดังกล่าวเผยให้เห็นวาฬจำนวนมากถูกต้อนเข้ามาในอ่าวเพื่อที่จะนำมาฆ่า ทำให้ชายทะเลในบริเวณนั้นกลายเป็นทะเลสีแดงเนื่องจากเลือดของวาฬเหล่านี้
อ้างอิงข้อมูลจากทางรัฐบาลหมู่เกาะแฟโรระบุว่า ภาพการล่าวาฬครั้งนี้เกิดขึ้นในอ่าว Sandavágur ทางตะวันออกของเกาะวาการ์ เมื่อวันที่ 30 ก.ค.ที่ผ่านมา โดยมีวาฬที่ถูกล่าอยู่ด้วย ซึ่งการล่าวาฬดังกล่าวสำหรับหมู่ใกล้เคียงถือเป็นเรื่องถูกกฎหมายที่จะเกิดขึ้นในฤดูร้อนเป็นประจำทุกปี นายอลาสแตร์ วอร์ด ผู้เคยเดินทางมาเฉลิมฉลองการเรียนจบมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ของเขาที่สหราชอาณาจักรได้บันทึกเอกสารเป็นหลักฐานไว้อีกด้วย
Blue Planet Society กลุ่มผลักดันสัญชาติอังกฤษออกมาโต้ตอบรูปภาพการล่าวาฬผ่านทวิตเตอร์ พร้อมกล่าวประณามการฆ่าวาฬ และพูดถึงเกาะแฟโรว่าเป็น “ชาติล้าหลัง” ที่ควรจะต้อง “เข้าเป็นประเทศแห่งศตวรรษที่ 21 ได้แล้ว”
พวกเขาโพสต์ว่า “ผู้คนเหล่านี้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความเอาใจใส่ และไม่มีความต้องการใด ๆ การล่าวาฬเป็นเพียงแค่เรื่องบันเทิงสำหรับพวกเขาเท่านั้น”
ในแถลงการณ์บนซีเอ็นเอ็นเมื่อวันที่ 17 ส.ค.ที่ผ่านมา ทางรัฐบาลของหมู่เกาะแฟโร ระบุว่า การล่าวาฬนั้นเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของชาวแฟโรโดยธรรมชาติ และได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาที่ว่าการฆ่าวาฬนั้นเป็นเพราะประเด็นพิธีศาสนาหรือเป็นแค่เรื่องบันเทิง
ตามแถลงการณ์ระบุไว้ว่า “เนื้อและไขมันของวาฬนำร่อง เป็นส่วนหนึ่งของอาหารอันมีคุณค่าบนหมู่เกาะแฟโรมาอย่างยาวนาน และจะยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไป การจับวาฬถือเป็นการแบ่งปันครั้งใหญ่โดยปราศจากเงินเข้ามาเกี่ยวข้องระหว่างนักล่าปลาวาฬและชุมชนท้องถิ่น ปลาวาฬแต่ละตัวสามารถแบ่งเนื้อและไขมันให้กับผู้คนในชุมชนได้หลายร้อยกก. ถ้าไม่อย่างนั้นก็จะต้องนำเข้าเนื้อจากต่างประเทศเข้ามาแทน”
อ้างอิงจากข้อปฏิบัติของชาวแฟโร วาฬที่ถูกล่าจะต้องถูกฆ่าอย่างรวดเร็ว และเจ็บปวดน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ และนักฆ่าวาฬจำเป็นจะต้องจบหลักสูตรการล่าวาฬรวมถึงได้รับใบอนุญาตอย่างถูกต้อง
การสั่งห้ามไม่ให้ล่าวาฬเพื่อการพาณิชย์ เริ่มมีผลบังคับใช้นับตั้งแต่ช่วงปี 2520 เป็นต้นมา แต่นักล่าวาฬกลับไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ เนื่องจากเนื้อวาฬส่วนใหญ่แล้วจะถูกส่งต่อและแบ่งปันทั่วชุมชนแทนการขาย นอกจากนี้ การแบนในหมู่สหประชาชาติแทบไม่มีน้ำหนักใด ๆ เพราะหมู่เกาะแฟโรไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มด้วย
แม้ว่าทางหมู่เกาะแฟโรและทางรัฐบาลจะออกมาปฏิเสธการทรมานวาฬ ซึ่งชี้ว่า ทุกวันนี้ วิธีการล่าวาฬได้มีความเป็นมนุษย์มากขึ้น โดยการต้อนสัตว์เข้ามายังอ่าวก่อนจะฆ่า แต่หลายฝ่ายก็ยังคงมองว่าการล่าวาฬครั้งใหญ่ก็ยังคงเป็นการ “คร่าชีวิตครั้งใหญ่”.