สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 17 ก.ค. 65
ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ปริมาณฝน 24 ชั่วโมง สูงสุดที่ จ.บุรีรัมย์ (138) จ.ระยอง (110) และ จ.ภูเก็ต (95)
แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 44,527 ล้าน ลบ.ม. (54%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38,724 ล้าน ลบ.ม. (54%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 2 แห่ง บริเวณภาคเหนือ (2 แห่ง) เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ กิ่วคอหมา กิ่วลม และน้ำพุง
พื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก- ดินถล่ม ในช่วงวันที่ 17 ก.ค. 65 บริเวณ
จ.เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง น่าน ตาก พะเยา อุตรดิตถ์พิษณุโลก เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี เลย ชัยภูมิ นครราชสีมา ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ระยอง จันทบุรี ตราด ระนอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พังงา กระบี่ และตรัง
กอนช.ติดตามสภาพอากาศในช่วง 20 –22 ก.ค. 65 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น
ในช่วงวันที่ 20 – 22 ก.ค. 65 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร บริเวณอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
จากการคาดการณ์เฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูงบริเวณสถานีป้อมพระจุลจอมเกล้า ในช่วงเดือนกรกฎาคม – กันยายน 65 จะมีช่วงที่เกิดปรากฏการณ์น้ำเกิด (เป็นปรากฏการณ์น้ำขึ้นสูงสุด ซึ่งระดับน้ำที่ขึ้นสูงสุดกับระดับน้ำที่ลงต่ำสุดจะมีความแตกต่างกันมาก) ในช่วงวันที่ 17 – 18 กรกฎาคม, 27 ก.ค. – 1 ส.ค., 24 – 29 ส.ค., 7 – 12 ก.ย. และ 21 – 26 ก.ย. ซึ่งส่งผลทำให้เกิดความเค็มรุกตัวเข้ามาบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา กอนช. เตรียมการโดยประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามสภาพอากาศและเฝ้าระวังค่าความเค็มอย่างใกล้ชิด
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 17 ก.ค. 2565 ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานตามมาตรการรองรับ ฤดูฝน ปี 2565
กรมเจ้าท่า ดำเนินการขุดลอกแม่น้ำแม่แตง ตำบลสันมหาพน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเพิ่มพื้นที่หน้าตัดของร่องน้ำ รองรับน้ำในฤดูน้ำหลาก ลดปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ทางการเกษตร
2. สภาพอากาศ
การคาดการณ์สภาพอากาศในช่วงวันที่ 17 – 19 ก.ค. 65 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านบริเวณประเทศเมียนมาตอนบนและประเทศจีนตอนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนน้อยแต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 20 – 22 ก.ค. 65 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
3. แหล่งน้ำทั่วประเทศ
แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำ 44,527 ล้าน ลบ.ม. (54%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ปริมาณน้ำ 38,724 ล้าน ลบ.ม. (54%) ขนาดกลาง 355 แห่ง ปริมาณน้ำ 3,331 ล้าน ลบ.ม. (61%) และขนาดเล็ก 139,894 แห่ง ปริมาณน้ำ 2,472 ล้าน ลบ.ม. (49%) โดยมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำต่ำกว่าเกณฑ์เก็บกักต่ำสุด (Lower Rule Curve) ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนแม่จาง และอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำสูงกว่าเกณฑ์เก็บกักสูงสุด (Upper Rule Curve) ได้แก่ เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล เขื่อนกิ่วคอหมา และเขื่อนน้ำพุง
4. สถานการณ์น้ำท่า
สถานการณ์น้ำในแม่น้ำต่าง ๆ อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยถึงปกติ โดยภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันตก ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
5. สถานการณ์อุทกภัย
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยรายงานสถานการณ์อุทกภัย มีพื้นที่เกิดอุทกภัย 16 จ. (ลำปาง พิษณุโลก เพชรบูรณ์ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ สุรินทร์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ มุกดาหาร เลย ตราด จันทบุรี ระนอง ภูเก็ต) 26 อ. 49 ต. 125 ม. ประชาชนได้รับผลกระทบ 231 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 1 ราย โดยปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้วทุกจังหวัด และสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่เกษตรกรรมของลุ่มน้ำยัง จ.ร้อยเอ็ด ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว อยู่ระหว่างการฟื้นฟูความเสียหาย
6. การเตรียมความพร้อมและการให้ความช่วยเหลือ
6.1 กรมชลประทาน ดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ จำนวน 2 เครื่อง ในพื้นที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการระบายน้ำท่วมขัง
6.2 กรุงเทมหานคร ดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ จำนวน 1 เครื่อง บริเวณภายในวัดคลองเตยนอก เขตคลองเตย เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่ได้รับผลกระทบจากนำ้ทะเลหนุนสูง