สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 16 ก.ค. 65
ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ปริมาณฝน 24 ชั่วโมง สูงสุดที่ จ.น่าน (91) จ.ตราด (71) และ จ.อุบลราชธานี (67)
แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 44,390 ล้าน ลบ.ม. (54%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38,605 ล้าน ลบ.ม. (54%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 2 แห่ง บริเวณภาคเหนือ (2 แห่ง) เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ กิ่วคอหมา กิ่วลม และน้ำพุง
พื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก- ดินถล่ม ในช่วงวันที่ 15 – 17 ก.ค. 65 บริเวณ
จ.เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง น่าน ตาก พะเยา อุตรดิตถ์พิษณุโลก เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี เลย ชัยภูมิ นครราชสีมา ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ระยอง จันทบุรี ตราด ระนอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พังงา กระบี่ และตรัง
กอนช.ติดตามหน่วยงานเร่งช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบอุทกภัยใน จังหวัดร้อยเอ็ด เพชรบูรณ์ และอุบลราชธานี โดยหน่วยงานได้ดำเนินการในพื้นที่ประสบอุทกภัย ได้แก่
จ.ร้อยเอ็ด อ.โพนทอง บริเวณพื้นที่ บ้านหนองบุ่ง ค.โคกกกม่วง พื้นที่ประมาณ 60 ไร่ และที่ อ.เสลภูมิ บริเวณพื้นที่ บ้านหนองผักตบ
ต.เหล่าน้อย บ้านนาทม ต.ภูเงิน พื้นที่ประมาณ 300 ไร่ กรมชลประทานดำเนินการเตรียมพร้อมเครื่องสูบน้ำ 25 เครื่อง กระสอบบรรจุทราย 12,000 กระสอบ และเครื่องจักร เครื่องมืออื่นๆ พร้อมบุคลากรเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะบริเวณตลอดแนวพนังกั้นลำน้ำยัง
จ.เพชรบูรณ์ ฝนที่ตกหนักในพื้นที่ อ.หล่มสัก ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำป่าสักเพิ่มสูงขึ้น และมีน้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน และพื้นที่การเกษตรบริเวณพื้นที่หมู่ 1,2,5,7,8,9,11 ต.สักหลง โครงการชลประทานเพชรบูรณ์ สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ 8 นิ้ว จำนวน 2 เครื่อง ช่วยเหลือในพื้นที่ดังกล่าว
จ.อุบลราชธานี เกิดฝนตกหนักทำให้น้ำท่วมถนนในเขตเทศบาลนคร
อ.เมืองฯ น้ำท่วมขังพื้นผิวการจราจรหลายเส้นทาง ความเสียหายอยู่ระหว่างสำรวจ ไม่มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตโดย สนง.ปภ.จ. อำเภอ อปท. อปพร. อาสาสมัคร จิตอาสา มูลนิธิ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นแล้ว ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว
ทั้งนี้ กอนช.ได้สั่งให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด พร้อมบริหารจัดการน้ำตามศักยภาพ และประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำให้ประชาชนรับทราบอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนให้ได้มากที่สุด
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 16 ก.ค. 2565 ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานตามมาตรการรองรับ ฤดูฝน ปี 2565
กรุงเทพมหานคร ร่วมกับกรมราชทัณฑ์ ดำเนินการล้างทำความสะอาด ท่อระบายน้ำ บริเวณถนนเพชรบุรีตัดใหม่ขาออก ได้ระยะทางประมาณ 800 เมตร เพื่อเตรียมพร้อมรับฝน ให้ท่อระบายน้ำไหลได้สะดวก รวดเร็ว ไม่อุดตัน
2. สภาพอากาศ
การคาดการณ์สภาพอากาศในช่วงวันที่ 16 – 17 ก.ค. 65 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยในขณะที่ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านบริเวณประเทศเมียนมา ประเทศลาวตอนบน และประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลงแต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ ฝั่งตะวันตก ส่วนในช่วงวันที่ 18 – 21 ก.ค. 65 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนน้อย
3. แหล่งน้ำทั่วประเทศ
แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำ 44,390 ล้าน ลบ.ม. (54%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ปริมาณน้ำ 38,605 ล้าน ลบ.ม. (54%) ขนาดกลาง 355 แห่ง ปริมาณน้ำ 3,314 ล้าน ลบ.ม. (60%) และขนาดเล็ก 139,894 แห่ง ปริมาณน้ำ 2,471 ล้าน ลบ.ม. (49%) โดยมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำต่ำกว่าเกณฑ์เก็บกักต่ำสุด (Lower Rule Curve) ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนแม่จาง และอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำสูงกว่าเกณฑ์เก็บกักสูงสุด (Upper Rule Curve) ได้แก่ เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล เขื่อนกิ่วคอหมา และเขื่อนน้ำพุง
4. สถานการณ์น้ำท่า
สถานการณ์น้ำในแม่น้ำต่าง ๆ อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยถึงปกติ โดยภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนภาคตะวันตก มีแนวโน้มลดลง
5. สถานการณ์อุทกภัย
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยรายงานสถานการณ์อุทกภัย มีพื้นที่เกิดอุทกภัย 14 จ. (ลำปาง พิษณุโลก เพชรบูรณ์ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ สุรินทร์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ มุกดาหาร ตราด จันทบุรี ระนอง) 23 อ. 45 ต. 120 ม. ประชาชนได้รับผลกระทบ 151 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 1 ราย โดยปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว 11 จ. ยังคงมีสถานการณ์ 3 จังหวัด ได้แก่ เพชรบูรณ์ อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ
6. การเตรียมความพร้อมและการให้ความช่วยเหลือ
กรมชลประทาน ดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ จำนวน 2 เครื่อง พื้นที่เขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการช่วยเร่งระบายน้ำท่วมขังในพื้นที่เศรษฐกิจของจังหวัดชัยภูมิ