สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 3 ก.ค. 65
ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ฝั่งตะวันตก โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่บริเวณภาคตะวันออก
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา จ.บึงกาฬ (119 มม.) จ.ตราด (113 มม.) และ จ.น่าน (113 มม.)
แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นส่วนแม่น้ำโขง มีแนวเพิ่มขึ้น
ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 43,941 ล้าน ลบ.ม. (54%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38,290 ล้าน ลบ.ม. (54%) เฝ้าระวังน้ำน้อย บริเวณภาคเหนือ (2 แห่ง)
พื้นที่แจ้งเตือนเฝ้าระวังน้ำหลาก – ดินถล่ม บริเวณ จังหวัดเชียงราย น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน จันทบุรี ตราด และระนอง
กอนช. ติดตามการประชุม ภาคีเครือข่ายผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาล และTHAICID เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 65 กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้จัดประชุมสร้างภาคีเครือข่าย ผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาล ภายใต้แนวคิด “น้ำบาดาลเพิ่มมูลค่า พัฒนาเศรษฐกิจไทย” โดยมี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมด้วยภาครัฐ เอกชน และผู้เกี่ยวข้อง ณ โรงแรมเซ็นทารา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร เพื่อให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนมีความมั่นใจในการใช้ประโยชน์จากน้ำบาดาลอย่างมั่นคงและยั่งยืน รวมถึงเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านการประกอบกิจการน้ำบาดาล และการดูแลรักษาบ่อน้ำบาดาล เสริมสร้างความเข้มแข็งในการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำบาดาลของหน่วยงาน ภาครัฐและภาคีเครือข่ายภาคเอกชน
การประชุมวิชาการ THAICID National SYMPOSIUM ครั้งที่ 15 จัดโดย คณะกรรมการด้านการชลประทานและการระบายน้ำแห่งประเทศไทย (THAICID) และ คณะอนุกรรมการด้านน้ำและระบบนิเวศในนาข้าว (INWEPF) ร่วมกับ สมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทาน ในพระบรมราชูปถัมภ์ กรมชลประทาน เครือข่ายสถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการและเอกชน โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเผยแพร่งานวิชาการ ด้านการชลประทานและการระบายน้ำ รวมถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมและเทคโนโลยี ระหว่างสมาชิกเครือข่าย ในปีนี้เป็นการประชุมวิชาการภายใต้หัวข้อหลัก “การปรับปรุงธรรมาภิบาลเพื่อการบริหารจัดการอุทกภัยและภัยแล้ง หลังการระบาดใหญ่ภายใต้สภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ นำเสนอผลงานวิชาการครอบคลุมเนื้อหาด้านการวางแผน คาดการณ์ และบริหารจัดการความเสี่ยงด้านภัยพิบัติ โดยเน้นการปรับปรุงธรรมาภิบาลและนวัตกรรมเทคโนโลยี เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนารูปแบบการดำเนินงานด้านการชลประทานให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน