สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 22 มิ.ย. 65
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ปริมาณฝน 24 ชั่วโมง สูงสุดที่ จ.ตรัง (113) จ.สุพรรณบุรี (68) และ จ.สระแก้ว (68)
แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง มีแนวโน้มลดลง
ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 44,716 ล้าน ลบ.ม. (55%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38,993 ล้าน ลบ.ม. (55%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 2 แห่ง บริเวณภาคเหนือ (2 แห่ง) เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ กิ่วคอหมา กิ่วลม และน้ำพุง
กอนช. ติดตามการประชุมคณะกรรมการจัดการชลประทาน (JMC) โดยมี นายธวัชชัย รอดงาม รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นประธาน
นายธวัชชัย รอดงาม รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อวางแผนบริหารจัดการน้ำในเขื่อนลำปาว ตามมาตรการที่ 8 เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและปรับปรุงวิธีการส่งน้ำ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ซึ่งน้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินชีวิต และการประกอบอาชีพ แต่การบริหารจัดการน้ำให้เกิดประสิทธิภาพนั้น ต้องได้รับความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จึงได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการชลประทาน (JMC) ประกอบด้วยบุคลากรจาก 4 ส่วน คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ตัวแทนเกษตรกรผู้ใช้น้ำ และตัวแทนกรมชลประทาน เพื่อให้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำ ทั้งด้านการส่งน้ำและการบำรุงรักษาอาคารชลประทาน ที่จะทำให้เกิดการจัดสรรน้ำอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
เขื่อนลำปาว เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญของจังหวัดกาฬสินธุ์ เอื้อประโยชน์ทั้งด้านการอุปโภค บริโภค การเกษตร การประมง โดยมีพื้นที่ทำนาปรังกว่า 2 แสนไร่ พื้นที่ประมงเลี้ยงกุ้งก้ามกราม กว่า 2 พันไร่ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจต่อปีเป็นจำนวนมาก แต่ยังพบว่าบางช่วงมีปัญหาในการขาดแคลนน้ำ เป็นสาเหตุให้พืชผลและบ่อกุ้งได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะในฤดูแล้งที่เขื่อนลำปาวทำการปิดน้ำ เพื่อซ่อมแซมคูคลอง ดังนั้น การประชุมคณะกรรมการจัดการชลประทาน (JMC) จึงเป็นวิธีที่จะช่วยให้ผู้ใช้น้ำทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการหาข้อตกลงการบริหารจัดการน้ำร่วมกัน ซึ่งมติที่ประชุมในครั้งนี้ได้กำหนดวันส่งน้ำฤดูทำนาปี 2565 ทั้งคลองฝั่งซ้าย และขวา เป็นวันที่ 29 มิ.ย. 2565 ไปจนถึงประมาณวันที่ 30 ต.ค. 2565