สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 20 พ.ค. 65
ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.กาฬสินธุ์ (99 มม.) จ.สุโขทัย (99 มม.) และ จ.ตราด (58 มม.)
แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง มีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 45,456 ล้าน ลบ.ม. (55%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 39,596 ล้าน ลบ.ม. (55%) เฝ้าระวังน้ำน้อย บริเวณภาคเหนือ (3 แห่ง) ภาคตะวันออก (1 แห่ง)
กอนช. ประกาศฉบับที่ 14/2565 เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก และน้ำท่วมฉับพลัน ช่วงวันที่ 19-25 พ.ค. 65 ในพื้นที่ จ.แม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน ตาก อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี นครราชสีมา ชัยภูมิ บึงกาฬ หนองคาย อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระนอง พังงา และภูเก็ต
วานนี้ (19 พ.ค.65) สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน หรือ GIZ ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกองทุนน้ำ (Water fund) จากการเก็บค่าธรรมเนียมการใช้น้ำ ภายใต้พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 หมวดที่ 4 การจัดสรรน้ำและการใช้น้ำซึ่งให้อำนาจหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดเก็บค่าใช้น้ำ เพื่อส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและจัดสรรน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการรองรับการจัดการค่าใช้น้ำให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย โดยการประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการดำเนินการในระดับสากล ด้านการจัดเก็บและจัดสรรเงินทุนจากค่าใช้น้ำที่เหมาะสม สำหรับการพิจารณาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกลไกทางการเงินสำหรับบริหารจัดการค่าน้ำของประเทศไทยที่สอดคล้องกับนโยบายการบริหารทรัพยากรน้ำในทุกระดับในอนาคต
ทั้งนี้ กองทุนน้ำอาจเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่สามารถใช้เพื่อสนับสนุนให้เกิดความเท่าเทียมของการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน รวมถึงการสนับสนุนการอนุรักษ์และรักษาระบบนิเวศ ทั้งอาจสร้างความมั่นคงด้านน้ำ โดยอาศัยกลไกในการดำเนินการด้านการเงินระหว่างภาครัฐ เอกชน