แบรนด์ใหญ่ญี่ปุ่นรุกธุรกิจแท็กซี
ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีบริการรถแท็กซีดีที่สุดในโลก และได้รับการยกย่องชื่นชมจากผู้ใช้บริการถึงสภาพรถที่สะอาด คนขับรถที่สุภาพ และวัฒนธรรมที่คนขับไม่ยอมรับทิปเพิ่มจากผู้โดยสาร
แท็กซีคุณภาพสูงเป็นหนึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้ระบบรถร่วมโดยสารเป็นสิ่งไม่จำเป็นในประเทศนี้ แต่อาจมีการเปลี่ยนแปลงในไม่ช้าเนื่องจากบริษัทญี่ปุ่นยักษ์ใหญ่หลายแห่งและหุ้นส่วนเตรียมเข้ามาช่วงชิงพื้นที่ธุรกิจนี้ก่อนการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในกรุงโตเกียวปี 2563
ด้วยมูลค่าประมาณ 17,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 532,950 ล้านบาท ทำให้ตลาดรถแท็กซีในกรุงโตเกียวเป็นหนึ่งในตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก และผู้ประกอบการหน้าใหม่ต้องการมีส่วนแบ่งในตลาด แต่พวกเขาต้องเจออุปสรรคสำคัญ ทั้งกฎระเบียบที่เข้มงวด รถแท็กซีที่มีดีพอ
แล้วสำหรับผู้ใช้งานส่วนใหญ่ และบริษัทรถแท็กซี ที่มีบริการร่วมกับแอปพลิเคชัน Line ได้ออกแอปพลิเคชันเรียกรถร่วมโดยสารด้วยเช่นกัน ทำให้อูเบอร์มีสัดส่วนน้อยกว่า 1% ในตลาดผู้ใช้งานในกรุงโตเกียว อ้างอิงจากสื่อบลูมเบิร์ก
ผู้ประกอบการโทรคมนาคมอันดับ 3 ของญี่ปุ่นอย่างซอฟต์แบงค์ ประกาศเมื่อช่วงต้นปีนี้ว่า จะร่วมลงทุนกับติตี้ฉูชิ่ง ยักษ์ใหญ่ของจีนเพื่อพัฒนาธุรกิจแอปพลิเคชันเรียกรถแท็กซีในญี่ปุ่น โดยบริษัทใหม่จะเริ่มให้บริการในโอซากา เกียวโต ฟุกุโอกะ กรุงโตเกียว และเมืองอื่นๆในปีนี้ โดยจะใช้เทคโนโลยีของติตี้เพื่อรองรับดีมานด์ผู้โดยสาร
บริษัทโซนีก็กำลังพยายามที่จะเข้ามาในธุรกิจนี้เช่นกัน โดยจะเป็นหุ้นส่วนกับ 5 บริษัทแท็กซีเพื่อสร้างแพลตฟอร์มเรียกรถโดยสารโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ ยักษ์ใหญ่อิเล็กทรอนิกส์แห่งนี้ (ซึ่งคาดการณ์ว่าจะรายงานผลกำไรที่สูงถึง 630,000 ล้านเยน หรือราว 188,055 ล้านบาท
สำหรับปีงบประมาณที่สิ้นสุดวันที่ 31 มี.ค.) ต้องการจะออกแพลตฟอร์มที่ใช้เทคโนโลยี AI เพื่อคาดการณ์ความต้องการของแท็กซีจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น การจราจร สภาพอากาศ ช่วงเวลาของวัน และเหตุการณ์ตามขนาด
นอกจากนี้ บริษัทนิสสันมอเตอร์ และบริษัทเกม DeNA ได้เริ่มทดสอบรถแท็กซีไร้คนขับรุ่นนิสสันลีฟบนถนนในเมืองโยโกฮามา โดยรถ Easy Ride วิ่งบนเส้นทาง 4.5 ก.ม.รอบสำนักงานใหญ่ของนิสสัน นิสสันระบุว่า เสียงตอบรับจากคนที่อยู่ในการทดสอบรถยนต์ได้ผลในเชิงบวก
ระบบรถยนต์อัตโนมัติอาจช่วยแก้ปัญหารถแท็กซีในกรุงโตเกียว ที่คนขับมีอายุเฉลี่ย 60 ปีและไม่มีคนขับที่อายุน้อยกว่านี้ นอกจากนี้ อีกปัญหาหนึ่งคือคนขับส่วนใหญ่จำเป็นต้องรู้ทิศทางเพราะพวกเขาไม่ได้มาจากในเมือง และหากผู้โดยสารต้องการรถแท็กซีในช่วงดึก หรือพื้นที่บริเวณชานเมืองที่มีคนอาศัยอยู่น้อย อาจต้องใช้เวลารอรถนาน
คู่แข่งของนิสสันอย่างบริษัทโตโยต้าก็กำลังพยายามจะเปลี่ยนอุตสาหกรรมนี้เช่นกัน โดยตกลงที่จะร่วมทุนกับแจแปน แท็กซี ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันเรียกรถโดยสารที่ใหญ่ที่สุด เพื่อพัฒนาการเชื่อมโยงจุดจอดรถแท็กซี ระบบสนับสนุนการจอดรถรับ-ส่ง และระบบ big data สำหรับการใช้งานบนโทรศัพท์มือถือ โตโยต้ายังเป็นนักลงทุนรายหนึ่งในอูเบอร์ แม้ว่าโตโยต้าจะเป็นหนึ่งในบริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของโลกในปัจจุบัน บริษัทยังต้องการที่จะเป็นผู้ให้บริการรายใหญ่ในอนาคต ขณะเดียวกัน Kakao ของเกาหลีใต้ยังระบุว่า จะเป็นหุ้นส่วนกับแจแปน แท็กซี เพื่อให้นักเดินทางชาวเกาหลีใต้สามารถใช้บริการแอปเรียกรถแท็กซี 60,000 คันได้.